ข้ามไปเนื้อหา

ไฮเปอร์ไดมอนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอกกริเกตทิดไดมอนด์นาโนรอดส์
ไฮเปอร์ไดมอนด์จากมุมมองของกล้องจุลทรรศน์
การจำแนก
ประเภทแร่สังเคราะห์
คุณสมบัติ
สีสีดำระยิบระยับ
โครงสร้างผลึกโดมทรงกลมหรือรูปทรงกลม
ความวาวระยิบระยับ
ความหนาแน่นมากกว่าเพชร 0.3%

ไฮเปอร์ไดมอนด์ (อังกฤษ: hyperdiamond) หรือ แอกกริเกตทิดไดมอนด์นาโนรอดส์ (อังกฤษ: Aggregated Diamond Nanorods) หรือ เอดีเอ็นอาร์เอส (อังกฤษ: ADNRs) เป็นสสารที่ความแข็ง ความแข็งตึง และความหนาแน่นที่สุดในโลก โดยแข็งกว่าเพชรหลายเท่า มีลักษณะคล้ายกับยางมะตอยหรือพุดดิงสีดำระยิบระยับมากกว่า

ประวัติ

[แก้]

ในปี 2003 ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น (Irifune, Tetsuo; Kurio, Ayako; Sakamoto, Shizue; Inoue, Toru; Sumiya, Hitoshi) ได้สังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่ คือ แอกกริเกตทิดไดมอนด์นาโนรอดส์ ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก โดยสร้างขึ้นจากการบีบอัดแกรไฟต์ และพบว่ามีความแข็งสูงกว่าเพชรธรรมชาติ[1]

ในปี 2005 ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไบรอยท์ในประเทศเยอรมนี ได้ยืนยันผลของทีมชาวญี่ปุ่นด้วยการนำคาร์บอนบริสุทธิ์มาบีบอัดภายใต้ความร้อนสูง โดยในการบีบอัดครั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้นำคาร์บอนบริสุทธิ์แบบหนึ่ง (แกรไฟต์) และคาร์บอนบริสุทธิ์อีกแบบหนึ่ง คือ ฟูลเลอร์ไรต์ (หรือบัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน) ซึ่งประกอบไปด้วยคาร์บอน 60 อะตอมเชื่อมต่อกันเป็นโดมทรงกลม หรือ รูปทรงกลม

ในสสารใหม่นี้เกิดจากแท่งนาโนขนาดจิ๋วเชื่อมต่อกัน ที่เรียกว่าแท่งนาโนเพราะพวกมันมีขนาดเล็กมาก (นาโน มาจากภาษากรีก แปลว่า "แคระ") แต่ละแท่งยาว 1 ไมครอน (หนึงในล้านส่วนของหนึ่งเมตร) ซึ่งมันมีขนาดแค่ 1 ใน 50,000 ของความกว้างเส้นผมมนุษย์เท่านั้น

คุณสมบัติ

[แก้]

ไฮเปอร์ไดมอนด์เป็นแร่สังเคราะห์ที่มีสีดำระยิบระยับโครงสร้างผลึกมีรูปร่างคล้ายโดมทรงกลมหรือรูปทรงกลม มีความหนาแน่นมากที่สุดในโลก โดยตรวจสอบโดยการเอกซเรย์ ซึ่งผลปรากฏว่าไฮเปอร์ไดมอนด์มีความหนาแน่นมากกว่าเพชร 0.3 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ไฮเปอร์ไดมอนด์ยังมีความแข็งตึงที่สุดในโลก โดยมีความแข็งตึง 491 จิกะปาสกาล โดยมากกว่าเพชรที่มีความแข็งตึง 442 จิกะปาสกาล หมายความว่าไฮเปอร์ไดมอนด์ถูกบีบอัดได้ยากกว่าเหล็กเกือบสามเท่า และความแข็งที่สุดในโลก ตามมาตราวัดค่าความแข็ง ของ ฟรีดริช โมส ในมาตรานี้มีอยู่ 10 ระดับ ซึ่งเพชรอยู่ในระดับที่ 10 นั่นก็แปลว่าไฮเปอร์ไดมอนด์มีความแข็งเกินมาตรวัด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Irifune, Tetsuo; Kurio, Ayako; Sakamoto, Shizue; Inoue, Toru; Sumiya, Hitoshi (2003). "Materials: Ultrahard polycrystalline diamond from graphite". Nature 421 (6923) : 599–600. doi:10.1038/421599b. PMID 12571587.
  • John Lloyd, John Mitchinson, ลบเหลี่ยมไอน์สไตน์ 3, สำนักพิมพ์ วีเลิร์น