ไพรัช นุชิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไพรัช นุชิต (23 มีนาคม พ.ศ. 2494[1] - ) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู[2]

ประวัติ[แก้]

ไพรัช นุชิต เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จาก โรงเรียนเทคนิคอุดรธานี

ไพรัช นุชิต เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเขตอำเภอหนองบัวลำภู และประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม โดยารชักชวนของรักเกียรติ สุขธนะ หัวหน้ากลุ่มอีสานในพรรคกิจสังคม นายไพรัชเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดหนองบัวลำภูต่อสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2535[3] และเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการแยกจังหวัดหนองบัวลำภูออกจากจังหวัดอุดรธานี ส่งผลให้นายไพรัช เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของจังหวัดหนองบัวลำภู

นายไพรัช ได้รับเลือกตั้งครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคกิจสังคมเช่นเดิม และในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รักเกียรติ สุขธนะ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเสรีธรรม แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

นายไพรัช ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และจังหวัดหนองบัวลำภูในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังปวงชนไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

นอกจากงานการเมืองแล้ว นายไพรัช ยังทำหน้าที่ประธานกรรมการสถานศึกษา[4]และนายกสมาคมครูและผู้ปกครองโรงเรียนหนองบัววิทยายน เป็นรองประธานสภาวิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2538. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2538
  2. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ลิงก์เสีย]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2020-05-14.
  4. จี้ขับ ผอ.โรงเรียนดังหนองบัวลำภู รีดค่าเทอมสูง-ไร้จรรยาบรรณครู
  5. "วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-14.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘