ไชนอาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไชนอาคม แกะสลักบนหินอ่อน

อาคม เป็นหมู่คัมภีร์ในศาสนาเชนอันแต่งขึ้นโดยเรียบเรียงจากโอวาทขององค์ตีรถังกร โอวาทที่เทศนาที่ในสมวสรณะ (Samavasarana) เรียกว่า "ศรุตญาณ" (Śhrut Jnāna) และประกอบไปด้วย 11 อังคะ 14 ปุรวะ [1] ส่วนโอวาทที่จดบันทึกโดยคณะธร (Ganadhara) ประกอบด้วย 12 อังคะ สื่อโดยใช้ภาพของต้นไม้ที่มี 12 กิ่ง[2] โอวาทต่าง ๆ เหล่านี้รวมกันเป็นมูลบทของ เศวตามพรไชนอาคม ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักในนิกายเศวตามพร และเชื่อกันว่ามีสืบทอดกันมาจากพระอาทินาถ ตีรถังกรองค์แรกของจักรวาลนี้[3] คัมภีร์ไชนอาคมฉบับที่เก่าแก่ที่สุดที่พบหลักฐานจารึกด้วยภาษาปรากฤต คำว่า "อาคม" นั้นเป็นคำสันสกฤตที่แสดงให้เห็นว่าหลักคำสอนต่าง ๆ จะมาถึงผ่านทางการสืบทอดทางเชื้อสายของเหล่าคุรุที่เป็นที่เคารพ[4]

สำหรับศาสนิกชนของเชนเชื่อกันว่าคัมภีร์ไชนอาคมนี้บันทึกโอวาทคำต่อคำอย่างตรงตัวของพระมหาวีระและตีรถังกรต่าง ๆ และมีลักษณะที่ ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นจริงเสมอแก้ไขไม่ได้[5]

อ้างอิง[แก้]