รอแบร์ที่ 1 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี
รอแบร์ที่ 1 | |
---|---|
รอแบร์ผู้เกรียงไกร หนึ่งในรูปปั้นหกดยุกแห่งนอร์ม็องดีที่จตุรัสเมืองฟาเลส | |
ดยุกแห่งนอร์ม็องดี | |
เกิด | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1000, นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1035 (35 ปี), นิเกีย |
บิดา | รีชาร์ที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี |
มารดา | จูดิธแห่งบริตทานี |
บุตร/ธิดา | วิลเลียมผู้พิชิต อาเดเลดแห่งนอร์ม็องดี |
ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส |
รอแบร์ผู้เกรียงไกร (อังกฤษ: Robert the Magnificent, ฝรั่งเศส: le Magnifique) หรือ รอแบร์จอมมาร (อังกฤษ: Robert the Devil, ฝรั่งเศส: le Diable) เป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1027 จนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1035
แม้ปกติแล้วจะถูกเรียกว่ารอแบร์ต์ที่ 1 แต่บางครั้งเขาก็ถูกเรียกว่ารอแบร์ต์ที่ 2 โดยมีบรรพพบุรุษ รอลโล เป็นรอแบร์ต์ที่ 1 เขาเป็นบุตรชายของริชาร์ดที่ 2 และน้องชายของริชาร์ดที่ 3 ที่ครองตำแหน่งก่อนหน้าเขา ไม่ถึงปีหลังการตายของบิดา รอแบร์ต์ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของพี่ชาย แต่ล้มเหลว แต่ต่อมาก็ได้สืบทอดต่อนอร์ม็องดีหลังการตายของพี่ชาย เขาถูกสืบทอดต่อโดยบุตรชายนอกสมรส วิลเลียมผู้พิชิต ที่จะกลายเป็นกษัตริย์นอร์มันคนแรกของอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 หลังการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน
ประวัติ
[แก้]รอแบร์ต์เป็นบุตรชายของรีชาร์ที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี กับจูดิธ บุตรสาวของโคนองที่ 1 ดยุคแห่งบริตทานี และยังเป็นหลานชายของริชาร์ดที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี, เหลนชายของวิลเลียมที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี ลูกชายของเหลนชายของรอลโล ชาวไวกิงผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี ก่อนตาย ริชาร์ดที่ 2 ตัดสินใจให้บุตรชายคนโต ริชาร์ดที่ 3 สืบทอดตำแหน่งต่อจากตน และให้บุตรชายคนรอง รอแบร์ต์ เป็นเคานต์แห่งเยมัวส์[1] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1026 บิดาของสองพี่น้อง ริชาร์ดที่ 2 ตาย และริชาร์ดที่ 3 กลายเป็นดยุค แต่หลังจากนั้นไม่นานรอแบร์ต์ก่อกบฏต่อพี่ชาย ภายหลังถูกปราบและถูกบังคับให้ปฏิญาณความจงรักภักดีต่อพี่ชาย ริชาร์ด[2]
ดยุคแห่งนอร์ม็องดี
[แก้]เมื่อริชาร์ดที่ 3 ตายในปีต่อมา ซึ่งสงสัยกันว่ารอแบร์ต์เป็นคนทำให้เขาตาย แม้จะไม่มีหลักฐาน แต่รอแบร์ต์คือคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด[3] สงครามกลางเมืองที่รอแบร์ต์สร้างขึ้นมาต่อต้านพี่ชาย ริชาร์ดที่ 3 ยังคงเป็นปัญหาทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพในดัชชี[3] สงครามที่ทำกันเองในหมู่บารอนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน เรื่องนี้ทำให้เกิดชนชั้นสูงกลุ่มใหม่ในนอร์ม็องดีในรัชสมัยของรอแบร์ต์[3] และเป็นช่วงนี้เช่นกันที่ขุนนางระดับรองลงมาหลายคนออกจากนอร์ม็องดีไปหาช่องทางในอิตาลีใต้และที่อื่นๆ[3] ไม่นานหลังได้ตำแหน่งดยุคมา อาจจะเพื่อแก้แค้นที่สนันสนุนให้พี่ชายต่อกรกับเขา รอแบร์ต์ที่ 1 รวบรวมกองทัพขึ้นมาต่อสู้กับอาของตน รอแบร์ต์ อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็องและเคานต์แห่งอีฟโรซ์ สนธิสัญญาพักรบชั่วคราวอนุญาตขับไล่อาของเขาออกไปจากนอร์ม็องดี แต่เรื่องนี้ทำให้นอร์ม็องดีถูกตัดขาดจากศาสนา ซึ่งจะยกเลิกได้ก็ต่อเมื่ออาร์ชบิชอปรอแบร์ต์ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าดัชชีได้และได้ตำแหน่งเคานต์กลับคืนมาเท่านั้น[4] รอแบร์ต์ยังโจมตีผู้มีอำนาจของศาสนจักรอีกคน ลูกพี่ลูกน้องของเขา ฮิวโกที่ 3 ดิฟรี บิชอปแห่งบายูซ์ เนรเทศเขาออกจากนอร์ม็องดี[5] รอแบร์ต์ยังฉกฉวยเอาทรัพย์สินที่ดินของศาสนจักรหลายแห่งที่เป็นของแอบบีย์เฟคอมป์มาด้วย[6]
นอกนอร์ม็องดี
[แก้]ทั้งที่มีปัญหาภายในแต่รอแบร์ต์ตัดสินใจยื่นมือเข้าไปก้าวก่ายในสงครามกลางเมืองในฟลานเดอร์ส์ระหว่าบาลด์วินที่ 5 เคานต์แห่งฟลานเดอร์ส์ กับบิดา บาลด์วินที่ 4 ที่ถูกบาลด์วินผู้ลูกขับไล่ออกจากฟลานเดอร์ส์[7] บาลด์วินที่ 5 ที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ารอแบร์ต์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พ่อตาของตน ถูกโน้มน้าวให้ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับบิดาในปี ค.ศ. 1030 ในตอนที่ดยุครอแบร์ต์รับปากว่าจะให้การสนับสนุนทางทหารแก่บาลด์วินผู้พ่อ[7] รอแบร์ต์ให้ที่พักพิงแก่พระเจ้าอองรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศสในการต่อกรกับพระมารดา พระราชินีกงสตองส์ ที่อยากให้พระโอรสคนรอง รอแบร์ต์ สืบทอดราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากพระบิดา รอแบร์ต์ที่ 2 มากกว่า[8] เพื่อตอบแทนที่ช่วยเหลือ อองรีที่ 1 มอบวิกซองของฝรั่งเศสให้เป็นรางวัล[8] ในช่วงต้นยุค 1030 อาลันที่ 3 ดยุคแห่งบริตทานีเริ่มขยายอิทธิพลจากแรนน์ส์สู่ดินแดนรอบมงต์-แซ็งต์-มิเชล[9] หลังตีดอลและขับไล่อาลันที่พยายามจะบุกอาฟรองช์ออกไป รอแบร์ต์คิดจะทำสงครามครั้งใหญ่กับลูกพี่ลูกน้องของตนเอง อาลันที่ 3[9] ทว่าอาลันหันไปหาอาของทั้งคู่ อาร์ชบิชอปรอแบร์ต์แห่งรูอ็อง ที่ต่อมาเป็นคนกลางในการทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างดยุครอแบร์ต์กับอาลันที่ 3[9] ลูกพี่ลูกน้องของรอแบร์ต์ สองเอเธลิง (เจ้าชายแองโกลแซ็กซัน) เอ็ดเวิร์ดกับอัลเฟรด บุตรชายของอาของเขา เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี กับพระเจ้าเอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ ได้มาอาศัยอยู่ที่ราชสำนักนอร์ม็องดีและ ณ เวลาหนึ่ง รอแบร์ต์คิดจะบุกอังกฤษในนามของทั้งคู่ แต่ก็เปลี่ยนใจ ว่ากันว่าสายลมที่ไม่เป็นใจ[10] ทำให้กองเรือแตกและจม รอแบร์ต์รอดตายขึ้นฝั่งได้ที่กีอาร์นเชย์
คริสตจักรและการแสวงบุญ
[แก้]ทัศนคติของรอแบร์ต์ที่มีต่อศาสนจักรเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่คืนตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งรูอ็องให้อาของตน[11] ด้วยความพยายามที่จะคืนดีกับศาสนจักร เขาคืนทรัพย์สินที่ดินที่เขากับคนของเขาริบเอามา และในปี ค.ศ. 1034 ทรัพย์สินทั้งหมดที่เขาเคยยึดเอามาถูกคืนให้แอบบีย์เฟคอมป์[12]
หลังตั้งบุตรชายนอกสมรส วิลเลียม เป็นทายาท เขาออกเดินทางไปแสวงบุญที่เยรูซาเลม[13] อ้างอิงตาม เจสตา นอร์มันนอรุม ดุกุม เขาเดินทางไปเยรูซาเล็มผ่านทางคอนสแตนติโนเปิล เขาป่วยหนักและเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับที่นิเกียในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1035[13] บุตรชายของเขา วิลเลียม อายุราว 8 ปี สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา[14]
ทายาท
[แก้]กับภรรยาลับ แอร์เลวาแห่งฟาเลส[15] เขาเป็นบิดาของ
- วิลเลียมผู้พิชิต (ค.ศ. 1028 – 1087)[16]
กับแอร์เลวาหรือไม่ก็อาจจะเป็นอนุภรรยาคนอื่น[17] เขาเป็นบิดาของ
- อาเดเลดแห่งนอร์ม็องดี แต่งงานกับ (1) เอ็นเกร์รันด์ที่ 2 เคานต์แห่งปงธิว[18] (2) ลอมแบร์ต์ที่ 2 เคานต์แห่งล็องต์ (3) โอโดที่ 2 แห่งชอมปาญ[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Gesta Normannorum Ducum of William of Jumieges, Orderic Vitalis, and Robert of Torigni, Vol. II, Books V-VIII, ed. Elisabeth M.C. Van Houts (Clarendon Press, Oxford, 1995), pp. 40–1
- ↑ David Crouch, The Normans, The History of a Dynasty (Hambledon Continuum, London, New York, 2002), p. 46
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 David C. Douglas, William the Conqueror (University of California Press, Berkeley and Los Angeles, 1964), p. 32
- ↑ David Crouch, The Normans, The History of a Dynasty (Hambledon Continuum, London, New York, 2002), p. 48
- ↑ François Neveux. A Brief History of The Normans (Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), p. 100
- ↑ David Crouch, The Normans, The History of a Dynasty (Hambledon Continuum, London, New York, 2002), p. 49
- ↑ 7.0 7.1 David Crouch, The Normans, The History of a Dynasty (Hambledon Continuum, London, New York, 2002), pp. 49–50
- ↑ 8.0 8.1 Elisabeth M C Van Houts, The Normans in Europe (Manchester University Press, Manchester and New York, 2000), p. 185
- ↑ 9.0 9.1 9.2 David Crouch, The Normans, The History of a Dynasty (Hambledon Continuum, London, New York, 2002), p. 50
- ↑ Christopher Harper-Bill; Elisabeth Van Houts, A Companion to the Anglo-Norman World (Boydell Press, Woodbridge, UK, 2003), p. 31
- ↑ François Neveux. A Brief History of The Normans (Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), p. 102
- ↑ François Neveux. A Brief History of The Normans (Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), p. 103
- ↑ 13.0 13.1 The Gesta Normannorum Ducum of William of Jumièges, Orderic Vitalis, and Robert of Torigni, Ed. & Trans. Elizabeth M.C. Van Houts, Vol. I (Clarendon Press, Oxford, 1992), pp. 80-5
- ↑ François Neveux, A Brief History of the Normans, trans. Howard Curtis (Constable & Robinson, Ltd. London, 2008), p. 110
- ↑ The Gesta Normannorum Ducum of William of Jumièges, Orderic Vitalis, and Robert of Torigni, Ed. & Trans. Elizabeth M.C. Van Houts, Vol. I (Clarendon Press, Oxford, 1992), p. lxxv
- ↑ David C. Douglas, William the Conqueror (University of California Press, Berkeley and Los Angeles, 1964), p. 15, passim
- ↑ David C. Douglas, William the Conqueror (University of California Press, Berkeley and Los Angeles, 1964), pp. 380–1 noting she may or may not be Herleva's daughter but probably is
- ↑ George Edward Cokayne, The Complete Peerage of England Scotland Ireland Great Britain and the United Kingdom, Extant Extinct or Dormant, Vol. I, ed. Vicary Gibbs (The St. Catherine Press, Ltd., London, 1910), p. 351
- ↑ David C. Douglas, William the Conqueror (University of California Press, Berkeley and Los Angeles, 1964), p. 380