กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรคซาร์)
กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
(ซาร์ส)
ชื่ออื่นกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง[1]
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของไวรัสซาร์ส
การออกเสียง
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการป่วย, ไอแห้งบ่อย, ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ, หายใจลำบาก
ภาวะแทรกซ้อนกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) กับโรคร่วมอื่น ๆ ที่นำไปสู่การเสียชีวิต
สาเหตุไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โรคซาร์ส (SARS-CoV-1)
การป้องกันล้างมือ, รักษามารยาทการไอ, หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ, ไม่เดินทางไปยังที่ที่มีผู้ติดเชื้อ[2]
พยากรณ์โรคโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 9.5 (ทุกประเทศ)
ความชุก8,098 เคส
การเสียชีวิตเท่าที่รู้ 774 คน

กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส (อังกฤษ: severe acute respiratory syndrome, SARS) เป็นไวรัสโรคระบบหายใจที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์ซึ่งมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (severe acute respiratory syndrome coronavirus; SARS-CoV หรือ SARS-CoV-1) สายจำเพาะแรกของสปีชีส์โคโรนาไวรัสซาร์สในโคโรนาไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARSr-CoV) กลุ่มอาการนี้ก่อให้เกิดการระบาดของโรคซาร์สใน ค.ศ. 2002–2004 ในช่วงปลาย ค.ศ. 2017 นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนสืบต้นตอไวรัสจากตัวกลางในอีเห็นข้างลาย ถึงค้างคาวมงกุฎ ในเขตเมืองชาติพันธุ์อี๋ซีหยาง มณฑลยูนนาน[3]

ซาร์สเป็นโรคที่หายาก ในตอนที่โรคระบาดนี้สิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 มีผู้ติดเชื้อ 8,422 รายที่มีอัตราป่วยตาย (CFR) ร้อยละ 11[4] ไม่มีเคส SARS-CoV-1 ที่มีการรายงานทั่วโลกมาตั้งแต่ ค.ศ. 2004[5]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 SARSr-CoV อีกสายหนึ่งมีชื่อว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[6] สายพันธ์ุนี้ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นโรคทำให้เกิด การระบาดทั่วของโควิด-19[7]

อาการและอาการแสดง[แก้]

อาการแรกเริ่มจะคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ และอาการแบบไม่จำเพาะอื่น ๆ อาการเดียวที่พบร่วมกันในผู้ป่วยทุกรายคือมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการหายใจลำบากและมีปอดอักเสบตามมา ซึ่งอาจเป็นปอดอักเสบจากไวรัสโดยตรง หรือเป็นปอดอักเสบจากแบคทีเรียแทรกซ้อน

เชื้อซาร์สมีระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 4–6 วัน แต่ก็พบได้สั้นสุดคือ 1 วัน และนานสุดคือ 14 วัน

สาเหตุ[แก้]

โรคซาร์ส เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด [8]

  1. เป็นไวรัสในกลุ่มไวรัสโคโรนา (Corona Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหวัดธรรมดา
  2. เป็นไวรัสอยู่ในกลุ่มไวรัสพาราไมโซ (Paramyxo Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัด คางทูม และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

การระบาด[แก้]

องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคนี้มีต้นกำเนิดมาจากมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน เมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ระบาดไปที่ฮ่องกง และต่อมาที่เวียดนาม สิงคโปร์ และแคนาดา โดยต่อมามีผู้พบโรคนี้ในที่อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงในสหรัฐ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไต้หวัน และเยอรมนี[9]

จำนวนผู้ติดเชื้อซาร์สใน ค.ศ. 2003 – ทั่วโลก
ผู้ติดเชื้อซาร์สแบ่งตามประเทศหรือภูมิภาค
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2003[10]
ประเทศหรือภูมิภาค ติดเชื้อ เสียชีวิต อัตราผู้ป่วยตาย (%)
 จีน[a] 5,327 349 6.6
 ฮ่องกง 1,755 299 17.0
 ไต้หวัน[b] 346 73[11][12] 21.1
 แคนาดา 251 43 17.1
 สิงคโปร์ 238 33 13.9
 เวียดนาม 63 5 7.9
 สหรัฐ 27 0 0
 ฟิลิปปินส์ 14 2 14.3
 ไทย 9 2 22.2
 เยอรมนี 9 0 0
 มองโกเลีย 9 0 0
 ฝรั่งเศส 7 1 14.3
 ออสเตรเลีย 6 0 0
 มาเลเซีย 5 2 40.0
 สวีเดน 5 0 0
 สหราชอาณาจักร 4 0 0
 อิตาลี 4 0 0
 บราซิล 3 0 0
 อินเดีย 3 0 0
 เกาหลีใต้ 3 0 0
 อินโดนีเซีย 2 0 0
 แอฟริกาใต้ 1 1 100.0
 โคลอมเบีย 1 0 0
 คูเวต 1 0 0
 ไอร์แลนด์ 1 0 0
 มาเก๊า 1 0 0
 นิวซีแลนด์ 1 0 0
 โรมาเนีย 1 0 0
 รัสเซีย 1 0 0
 สเปน 1 0 0
 สวิตเซอร์แลนด์ 1 0 0
รวมทุกที่ยกเว้นจีน[a] 2,769 454 16.4
รวม (29 ดินแดน) 8,096 774 9.6
  1. 1.0 1.1 ไม่รวมฮ่องกงกับมาเก๊า ซึ่งรายงานแยกต่างหากโดย WHO
  2. หลังวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 เคสในไต้หวัน 325 เคสถูก 'ทิ้งไป' จากข้อมูลในการทดลองไม่เพียงพอหรือไม่สมบูรณ์ สำหรับเคสผู้ป่วยที่ถูกทิ้งไป 135 รายในจำนวนนั้นเสียชีวิต 101 ราย

อ้างอิง[แก้]

  1. Likhacheva A (April 2006). "SARS Revisited". The Virtual Mentor. 8 (4): 219–22. doi:10.1001/virtualmentor.2006.8.4.jdsc1-0604. PMID 23241619. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020. SARS—the acronym for sudden acute respiratory syndrome
  2. "SARS (severe acute respiratory syndrome) – NHS". National Health Service. 2019-10-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  3. , ประเทศจีน
  4. Chan-Yeung M, Xu RH (November 2003). "SARS: epidemiology". Respirology. 8 Suppl (s1): S9-14. doi:10.1046/j.1440-1843.2003.00518.x. PMC 7169193. PMID 15018127.
  5. "SARS (severe acute respiratory syndrome)". NHS Choices. UK National Health Service. 3 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2016. Since 2004, there haven't been any known cases of SARS reported anywhere in the world.
  6. "New coronavirus stable for hours on surfaces". National Institutes of Health (NIH) (ภาษาอังกฤษ). NIH.gov. 17 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ May 4, 2020.
  7. "Myth busters". WHO.int. World Health Organization. 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  8. "รู้จักรับมือ SARS ไวรัส "หวัด" เขย่าโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-16. สืบค้นเมื่อ 2007-06-08.
  9. ธเนศ พัวพรพงษ์ (บ.ก.). "โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่เรียกว่า SARS คืออะไร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2007.
  10. "Summary of probable SARS cases with onset of illness from 1 November 2002 to 31 July 2003". World Health Organization. 21 April 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  11. "衛生署針對報載SARS死亡人數有極大差異乙事提出說明" (ภาษาจีนตัวย่อ). 台灣衛生福利部疾病管制署. 16 June 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
  12. "十年前SARS流行 346人感染73死亡" (ภาษาจีนตัวย่อ). 公視. 24 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก