อีเห็นข้างลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีเห็นข้างลาย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Viverridae
สกุล: Paradoxurus
สปีชีส์: P.  hermaphroditus
ชื่อทวินาม
Paradoxurus hermaphroditus
(Pallas, 1777)
ชนิดย่อย
  • P. h. balicus
  • P. h. bondar
  • P. h. canescens
  • P. h. canus
  • P. h. cochinensis
  • P. h. dongfangensis
  • P. h. enganus
  • P. h. exitus
  • P. h. hermaphroditus
  • P. h. javanica
  • P. h. kangeanus
  • P. h. laotum
  • P. h. lignicolor
  • P. h. milleri
  • P. h. minor
  • P. h. musanga
  • P. h. nictitans
  • P. h. pallasii
  • P. h. pallens
  • P. h. parvus
  • P. h. philippinensis
  • P. h. pugnax
  • P. h. pulcher
  • P. h. sacer
  • P. h. scindiae
  • P. h. senex
  • P. h. setosus
  • P. h. simplex
  • P. h. sumbanus
  • P. h. vellerosus
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้[2] (อังกฤษ: Asian palm civet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paradoxurus hermaphroditus) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่

มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม

อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง)

มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน [3]

อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 [4] ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก[5] และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Duckworth, J.W.; Timmins, R.J.; Choudhury, A.; Chutipong, W.; Willcox, D.H.A.; Mudappa, D.; Rahman, H.; Widmann, P.; Wilting, A. & Xu, W. (2016). "Paradoxurus hermaphroditus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T41693A45217835.
  2. 2.0 2.1 หน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว. ไทยรัฐปีที่ 69 ฉบับที่ 21911: วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา
  3. "อีเห็นข้างลาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
  4. บัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง 2546
  5. "ตระเวนข่าว: ข่าววันใหม่". ช่อง 3. 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 29 November 2014.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Paradoxurus hermaphroditus ที่วิกิสปีชีส์