ข้ามไปเนื้อหา

โนวีช็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โนวีช็อก (รัสเซีย: Новичо́к, "ผู้มาใหม่", "มือใหม่", "ผู้ฝึกหัด"[1]) เป็นกลุ่มสารประสาทที่บางส่วนเป็นอาวุธเคมีฐานสอง (binary chemical weapon) สารนี้ถูกพัฒนาที่สถาบันวิจัยเคมีของรัฐ GosNIIOKhT โดยสหภาพโซเวียตและรัสเซียใน ค.ศ. 1971 ถึง 1993[2][3][a][5][6] สารโนวีช็อกบางส่วนมีรูปร่างตามอุณหภูมิและความดันมาตรฐานเป็นของแข็ง ในขณะที่บางส่วนเป็นของเหลว กล่าวกันว่ามีความเป็นไปได้ที่ของแข็งจะกระจายไปทั่วบริเวณด้วยการทำให้เป็นผงละเอียด[7]

นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่พัฒนาสารนี้อ้างว่ามันเป็นสารที่อันตรายที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ซึ่งบางส่วนอาจมีศักยภาพมากกว่าสารวีเอ็กซ์ถึง 5 - 8 เท่า[8][9] และอีกส่วนมีศักยภาพกว่าโซแมนถึง 10 เท่า[10] นอกจากรัสเซียแล้ว ประเทศอิหร่านยังเป็นประเทศที่ผลิตสารนี้ด้วย[11]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โนวีช็อกกลายเป็นที่สนใจของสาธารณชน หลังจากมีการใช้มันเป็นยาพิษทำลายฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งรวมไปถึงการวางยาพิษพี่น้องสกรีปาลและอีกสองคนที่เอมส์เบอร์รี สหราชอาณาจักร (2018) และอะเลกเซย์ นาวัลนืย (2020) แต่การวางยาพิษพลเรือนด้วยสารนี้เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่เร็วสุดใน ค.ศ. 1995

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ทางองค์การห้ามอาวุธเคมี (OPCW) ซึ่งเป็นผู้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (CWC) ได้เพิ่มสารโนวีช็อกเข้าไปยัง "รายชื่อสารควบคุม" ของ CWC "โดยเป็นหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งแรกในอนุสัญญามาตั้งแต่การยอมรับในคริสต์ทศวรรษ 1990" เพื่อตอบสนองต่อการวางยาพิษที่สหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 2018[12]

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. โจนาธาน บี. ทักเกอร์ เขียนใบรับรองเพื่อเริ่มวิจัยอาวุธเคมี "รุ่นที่สี่" ที่คณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์และสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียตนำมาให้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1971 วิล มีร์ซายานอฟ (Vil Mirzayanov) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่แจ้งเตือนพวกตะวันตกถึงการมีตัวตนของสารโนวีช็อกครั้งแรก กล่าวว่าการทดสอบโนวีช็อก-7 ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1993—หลังลงนามอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี แต่ก่อนที่รัสเซียให้สัตยาบันและนำอนุสัญญามาใช้งาน[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Klein, Alice (13 March 2018). "What are Novichok nerve agents and did Russia do it?". NewScientist.
  2. "Secret trial shows risks of nerve agent theft in post-Soviet chaos: experts". Reuters. 20 March 2018.
  3. Chai, Peter R.; Hayes, Bryan D.; Erickson, Timothy B.; Boyer, Edward W. (January 2018). "Novichok agents: a historical, current, and toxicological perspective". Toxicology Communications. 2 (1): 45–48. doi:10.1080/24734306.2018.1475151. PMC 6039123. PMID 30003185. S2CID 49661943.
  4. Tucker 2006, p. 231
  5. 5.0 5.1 Mirzayanov, Vil (1995), "Dismantling the Soviet/Russian Chemical Weapons Complex: An Insider's View", Global Proliferation of Weapons of Mass Destruction: Hearings Before the Permanent Subcommittee on Investigations of the Committee on Governmental Affairs, 104th Cong., pp. 393–405
  6. Tucker 2006, pp. 231–233
  7. "Navalny 'poisoned': What are Novichok agents and what do they do?". BBC News. 2 September 2020.
  8. Birstein 2004, p. 110
  9. Albats 1994, pp. 325–328
  10. Croddy, Wirtz & Larsen 2001, p. 201
  11. Hosseini, Seyed Esmaeil; Saeidian, Hamid; Amozadeh, Ali; Naseri, Mohammad Taghi; Babri, Mehran (30 December 2016). "Fragmentation pathways and structural characterization of organophosphorus compounds related to the Chemical Weapons Convention by electron ionization and electrospray ionization tandem mass spectrometry: Mass spectral studies of organophosphorus compounds related to CWC". Rapid Communications in Mass Spectrometry. 30 (24): 2585–2593. doi:10.1002/rcm.7757. PMID 27704643.
  12. Castelvecchi, Davide (2019). "Novichok nerve agents banned by chemical-weapons treaty". Nature. doi:10.1038/d41586-019-03686-y. PMID 33244185.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]