โนบูโอะ อูเอมัตสึ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โนบูโอะ อูเอมัตสึ | |
---|---|
โนบูโอะ อูเอมัตสึ ในงาน Play! A Video Game Symphony ค.ศ. 2006 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
เกิด | 21 มีนาคม ค.ศ. 1959 |
แนวเพลง | วงออร์เคสตรา, นิวเอจ, ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์, ร็อก, ซิมโฟนิก ร็อค, นีโอคลาสสิก เมทัล |
อาชีพ | นักประพันธ์, นักคีย์บอร์ด |
เครื่องดนตรี | คีย์บอร์ด, ออร์แกน, เปียโน, ไวโอลิน, บันโจ |
ช่วงปี | 1985-ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | NTT Publishing DigiCube สแควร์เอนิกซ์ ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุ๊ป Dog Ear Records |
โนบูโอะ อูเอมัตสึ (ญี่ปุ่น: 植松 伸夫; โรมาจิ: Uematsu Nobuo) เกิดวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1959 เป็นนักแต่งเพลงประกอบวิดีโอเกมชาวญี่ปุ่น ผลงานเป็นที่รู้จักกันดีคือเพลงประกอบเกมซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี[1]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]โนบูโอะ อูเอมัตสึ เกิดที่เมืองโคชิ ในจังหวัดโคชิ ประเทศญี่ปุ่น[2] เขาฝึกเรียนเปียโนด้วยตนเองเมื่ออายุสิบเอ็ดปีและภายหลังได้รับการฝึกฝนโดยพี่สาวของเขา หลังจากเขาเรียนจบที่มหาวิทยาลัยคานางาว่า เขาก็ได้เป็นนักเปียโนสมัครเล่นตามงานต่างๆ ซึ่งภายหลังบริษัทสแควร์ก็ได้ชักชวนเขาให้มาทำงาน ซึ่งแรกเริ่มเขานึกว่าไม่ได้เป็นงานประจำ แต่เขาก็รีบรับงานซึ่งเป็นเหตุทำให้เขามีชื่อเสียงจนถึงทุกวันนี้
การงานในสแควร์และเดอะแบลกเมจ
[แก้]เกมแรกที่อุเอมัตสึได้ประพันธ์ชื่อ เจเนสิส Genesis ในปี 1985 ขณะที่ทำงานในสแควร์ เขาได้พบกับ ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ (Hironobu Sakaguchi) โดยเขาได้ทาบทามให้เขามาทำงานในช่วงปี 1986-1987 ซึ่งเขาก็ตอบรับ แม้ว่าในช่วงสองปีนี้ งานของเขาจะไม่ค่อยราบรื่นบวกกับบริษัทสแควร์กำลังจะล้มละลาย แต่ในปลายปี 1987 เขาสองคนก็ร่วมมือกันทำเกมไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) ซึ่งทำให้เขาทั้งสองประสบผลสำเร็จ และสามารถกู้บริษัทสแควร์ได้อย่างราบรื่นอีกด้วย
เกมส์ไฟนอลแฟนตาซี ได้จุดประกายให้เขาได้มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้ เขาทำเพลงในเกมนี้ทั้งหมดสามสิบกว่าแทรค ในปี 1989 เขาก็ได้ทำเพลงประกอบเกมซีรีส์อีกซีรีส์ซากา ชื่อว่าไฟนอลแฟนตาซีเลเจนท์ (The Final Fantasy Legend) และทำไฟนอลแฟนตาซี II (Final Fantasy II) ในปี 1990 และโรแมนซ์ออฟซากา (Romancing SaGa 2) ในปี 1993 ซึ่งได้ร่วมมือกับเคนจิ อิโต และเขาก็ได้รับเซ็นต์สัญญาในฐานะบุคลากรผู้ทรงเกียรติของบริษัทสแควร์ในปี 1995 ในผลงานเกม โครโนทริกเกอร์ (Chrono Trigger) ซึ่งประพันธ์ร่วมกับ ยาสึนาริ มิสสีดะ และมีผลงานเพลงประกอบเกมออกมาในช่วงนี้อีกได้แก่ ฟรอนท์มิชชั่นกันฮัสสาร์ด (Front Mission: Gun Hazard) และฮันกูจิฮีโร (Hanjuku Hero)
นอกจากงานด้านเกมแล้วเขาก็ยังประพันธ์ ธีมหลักในหนังเรื่อง อ้ามายก๊อดเลสส์ (Ah! My Goddess: The Movie) และร่วมกันทำการ์ตูนซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy Unlimited) ในปี 2001 โอเครสเตรดโดย ชิโร ฮามากูชิ แล้วเขาก็ได้สนใจในการทำอัลบั้มเพลงสิบเพลงของ Phantasmagoria ในปี 1994 ในปี 2001 เขาได้ชักชวนให้แต่งเพลงร่วมกันกับ มาซาชิ ฮามาซุ และ จุนยา นากาโนะ เพราะโดยส่วนตัวเขาคิดว่าเขาได้รับการศึกษามาน้อยอีกทั้งไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เขาไม่ได้ทำเพลงประกอบเกมด้วยตัวเองทั้งเกมในเกมไฟนอลแฟนตาซี X (Final Fantasy X) และได้เป็นจุดจบของวงการนักประพันธ์ดนตรีสำหรับเกมในปี 2002 ซึ่งเขาเชิญ นาโอชิ มิซีตะ และ คูมิ ทานิโอกะ มาทำแทนเขาเองทั้งหมดในเกมไฟนอลแฟนตาซี X-2 (Final Fantasy X-2) และเขาก็ได้แค่ช่วย ฮิโตชิ ซากิโมโต ศิลปินชื่อดังในการทำเพลงสำหรับไฟนอลแฟนตาซี XII (Final Fantasy XII) แค่หนึ่งเพลง"Kiss Me Good Bye" และใช้ทำนองหลักในไฟนอลแฟนตาซีทุกภาคมาผสมกับลักษณะการประพันธ์อันยอดเยี่ยมของฮิโตชิ ซากิโมโต
ในปี 2002 เคนชิโร ฟูคูอิ (Kenichiro Fukui) และ ซึโยชิ เซอิโต (Tsuyoshi Sekito) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมบริษัทสแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) ได้ชักชวนให้เขาร่วมกันทำวงร๊อคเพื่อโฆษณาผลงานทางดนตรีของเขาและปล่อยผลงานทางดนตรีของอุเอมัสสึ ซึ่งตอนแรกก็ปฏิเสธเพราะว่ามีงานเป็นจำนวนมาก และภายหลังก็ตอบตกลงในฐานะมือคีย์บอร์ดโดยใช้ชื่อวงว่า เดอะแบลกเมจ (The Black Mages) โดยในปีถัดมาก็มีสมาชิกวงเข้ามาอีกสามคนก็คือ เคอีจิ คาวาโมริ (Keiji Kawamori) อารตะ ฮานยาดะ (Arata Hanyada) และ มิชิโอะ โอกามิยะ (Michio Okamiya) มีอัลบั้มออกมาสามอัลบั้ม
ในฐานะอาชีพอิสระ
[แก้]อุเอมัตสึได้ออกจากบริษัทสแควร์เอนิกซ์ในปี 2004 และได้ก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Smile Please และก่อตั้งบริษัทสำหรับอัดเสียงชื่อว่าบริษัท Dog Ear Records ในปี 2006 ซึ่งสาเหตุการออกจากบริษัท ก็เนื่องมาจากว่าบริษัทได้ย้ายสำนักงานจาก Meguro ไปยัง Shinjuku ซึ่งอยู่ในเมืองโตเกียวเช่นกัน แต่ว่าการย้ายบริษัททำให้อุเอมัตสึไม่สะดวกต่อการทำงาน แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังเป็นนักแต่งเพลงให้กับสแควร์เอนิกซ์ในฐานะฟรีแลนซ์
ในปี 2005 อุเอมัตสึก็ได้บันทึกอัลบั้มสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง "ไฟนอลแฟนตาซีเซเว่น: แอดเวนท์ชิลเดร้น" ภายใต้วงแบลกเมจของเขา และภายหลังจากการออกเขาก็ยังได้นำบทเพลง "พรีลูด" สำหรับไฟนอลแฟนตาซีในแทรคเริ่มต้นของเพลงในไฟนอลแฟนตาซี XII ซึ่งที่จริงแล้วบทเพลงส่วนใหญ่ทางบริษัทก็ได้มอบหมายงานให้ซากิโมโตทำแทน ซึ่งเขาก็อยากจะทำในเพลงไฟอลแฟนตาซี XIII แต่ว่าสุดท้ายเขาก็ได้รับมอบหมายให้ทำในภาค XIV แทนและให้ มาซาชิ ฮามานซึ จัดการดนตรีของไฟนอลแฟนตาซีภาค XIII แทนทั้งชุด
ลึกๆ สำหรับโนบูโอะ อูเอมัตสึแล้ว เขาก็ยังสนิทสนมกับ ฮิโรโนบุ ซากาอุชิอยู่เช่นเคย เขายังได้ทำงานร่วมกันในปี 2007 ผลงานดังนี้ Blue Dragon series, Lost Odyssey และ Away Shuffle Dungeon ในปี 2008 และเขาต้องถูกยกเลิกเกมส์ Cry On อีกด้วย สำหรับ PSP เขาได้ทำเพลงประกอบสองเกมส์คือ Anata o Yurusanai ในปี 2007, Lord of Vermillion และอีกทั้งเขาก็ได้ทำธีมหลักในเกม Super Smash Bros. Brawl ในปี 2008 เช่นกัน เขาได้รับโอกาสครั้งแรกสำหรับทำดนตรีประกอบการ์ตูนในเรื่อง Guin Saga ซึ่งเขาทำดนตรีทั้งเรื่องและยังมีงานจุกจิกเช่น ซากุระการ์ดแคบเตอร์สำหรับ Nintendo DS อีกด้วย
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ขณะนี้เขาได้อาศัยอยู่ที่โตเกียวกับภรรยาของเขา Reiko ซึ่งเขาทั้งสองเป็นเพื่อนสมัยเรียนในมหาวิทยาลัยคานางาวะ และหมาพันธุ์บีเกิลคู่ใจชื่อว่า Pao ซึ่งในช่วงฤดูร้อนเขาจะไปพักอาศัยอยู่ที่เมือง ยามานากาโกะ และโดยส่วนตัวเขาจะชอบเจียดเวลาส่วนตัวไปดูมวยปล้ำ, กินเบียร์ และปั่นจักรยาน เขาเคยกล่าวว่าเขาเสียดายกับชีวิตที่ไม่สามารถเป็นนักมวยปล้ำอย่างที่เขาอยากเป็นในสมัยเด็กได้ ซึ่งเขาเองต้องกลายมาเป็นกวีเอกของโลกแทน
คอนเสิร์ต
[แก้]ผลงานการประพันธ์ดนตรีของอุเอมัตสึนั้นได้ถูกจัดแสดงหลายๆครั้ง โดยเฉพาะดนตรีหลายๆภาคของไฟนอลแฟนตาซีที่ถูกแสดง และมีการแสดงนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย ผลงานบทประพันธ์ดนตรีของอุเอมัตสึได้ถูกแสดงสดครั้งแรกในปี 2003 ที่เมืองไลพ์ซิจ และผลงานดนตรีอื่นๆก็มีการจัดแสดงอีกในปี 2004, 2006 และ 2007 ซึ่งในครั้งปี 2004 เป็นการแสดงที่ได้รับความฮือฮามากที่สุดในผลงานที่ชื่อว่า Those Who Fight from Final Fantasy VII ซึ่งได้เชิญนักเปียโน Seijin Honda มาร่วมแสดงร่วมกับดุริยางค์ และงานสำคัญๆอื่นๆอีกเช่น Dancing Mad จากไฟนอลแฟนตาซีVI ที่มีการใช้วงดุริยางค์ร่วมกับวงขับร้องประสานเสียงและออร์แกน และตามที่ผลงานการแสดงปี 2007 ก็มีผลงานที่ได้รับความนิยมชื่อว่า Distant Worlds จากไฟนอลแฟนตาซี XI ซึ่งขับร้องเสียงโซปราโนโดย Izumi Masuda
บรรดาผลงานที่เขานำมาแสดงจากญี่ปุ่นนั้น ตามที่เขาได้ทัวร์กับเพื่อนๆของเขา จากที่เขาได้ตัดสินใจไปในวันที่ 10 พฤษภาคม 2004 แสดงที่หอคอนเสริตวอล์ทดิสนีย์ แอลเอ และได้ใช้วงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิคแห่งแอลเอ และวงประสานเสียงแอลเอ ซึ่งในครั้งนั้นอำนวยเพลงโดย Miguel Harth-Bedoya โดยได้รับการต้อนรับอย่างดี ซึ่งคอนเสริตก็ต่อไปจากเดิมในอเมริกาเหนืออีก ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2005 เขาได้รับเชิญกับคณะของเขาไปแสดงบทเพลงที่โรงละคร gibson แอลเออำนวยเพลงโดย Arnie Roth
สไตล์ดนตรีและอิทธิพล
[แก้]สไตล์เพลงของอุเอมัตสึมีความหลากหลาย ทั้งแบบคลาสสิกซิมโฟนิค เฮวีเมทัล นิวเอจ หรือดนตรีไฟฟ้า เช่นเกม์ Lost Odyssey เป็นสกอร์แบบดุริยางค์ขนาดใหญ่ไปจนถึงแจสและเทคโนแทรค อุเอมัตสึบ่อยๆครั้งจะทำเพลงแนวไอริชเคลท์ซึ่งได้ใส่คุณสมบัติเหล่านั้นไปด้วย และดนตรีในไฟนอลแฟนตาซีมักจะเล่นจังหวะยกหรือจังหวะขัดอยู่บ่อยๆ ซึ่งให้ซาวแบบมืดมัวซึ่งจะมีมากในไฟนอลแฟนตาซี VIII ในขณะที่ไฟนอลแฟนตาซี IX กลับสนใจกับจังหวะตกฟังดูเรียบๆกว่าและจะให้อารมณ์ที่ชัดเจนกว่าด้วยเช่น ธีมของ Aerith จากไฟนอลแฟนตาซี VII จากที่สัมภาษณ์โดย nichi bei times อุเอมัตสึกล่าวว่า ฉันไม่ค่อยสนใจความเป็นตัวเองเลยในบทเพลงที่ใส่เข้าไปและไม่สนใจด้วยว่าจะเป็นแนวไหน แต่ว่าไม่คิดว่าจะดีไปกว่าหากจะทำดนตรีที่ครบเครื่องและชัดเจน แทนที่จะทำดนตรีแบบญี่ปุ่น เขาได้รับฉายาว่า ผู้เปลี่ยนแปลง ในวารสารไทมส์ Time 100 ในหัวข้อ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ และเขาก็ได้รับฉายาว่า ราชาเพลงเกม ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ากับ จอห์น วิลเลียมส์
อุเอมัตสึมีความสนใจที่จะไปยังอังกฤษกับอเมริกา ซึ่งเขาอยากไปเมืองที่ เอลตัน จอห์น อยากไปมากที่สุด และเขาก็เป็นแบบเอลตัน จอห์นมาก ซึ่งอุเอมัตสึเองก็มีความสนใจกับดนตรีอังกฤษอื่นๆอีกเช่นกัน ส่วนดนตรีคลาสสิกเขากล่าวว่าชอบของไชคอฟสกีมากที่สุด
ผลงานที่ผ่านมา
[แก้]วิดีโอเกมส์ | |||
---|---|---|---|
ปี | ชื่อเกมส์ที่ดนตรีประกอบ | หน้าที่ | กวีร่วม |
1985 | Genesis | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
1986 | Cruise Chaser Blassty | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
Alpha | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
King's Knight | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
Suishō no Dragon | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
1987 | 3-D WorldRunner | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
Apple Town Story | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
Aliens | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
Cleopatra no Mahou | ประพันธ์ | ||
Rad Racer | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
JJ | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
Nakayama Miho no Tokimeki High School | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
Final Fantasy | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
1988 | Hanjuku Hero | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
Final Fantasy II | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
1989 | Square's Tom Sawyer | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
The Final Fantasy Legend | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
1990 | Final Fantasy III | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
Final Fantasy Legend II | ประพันธ์/เรียบเรียง | Kenji Ito | |
1991 | Final Fantasy IV | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
1992 | Final Fantasy V | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
1993 | Romancing SaGa 2 | ประพันธ์/เรียบเรียง | Kenji Ito |
1994 | Final Fantasy VI | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
1995 | Chrono Trigger | ประพันธ์/เรียบเรียง | Yasunori Mitsuda and Noriko Matsueda |
1996 | Front Mission: Gun Hazard | ประพันธ์/เรียบเรียง | Yasunori Mitsuda, Masashi Hamauzu, and Junya Nakano |
DynamiTracer | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
1997 | Final Fantasy VII | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
1999 | Final Fantasy VIII | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
2000 | Final Fantasy IX | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
2001 | Final Fantasy X | ประพันธ์/เรียบเรียง | Masashi Hamauzu and Junya Nakano |
2002 | Final Fantasy XI | ประพันธ์/เรียบเรียง | Naoshi Mizuta and Kumi Tanioka |
2003 | Final Fantasy Tactics Advance | ประพันธ์ | Hitoshi Sakimoto, Kaori Ohkoshi, and Ayako Saso |
Hanjuku Hero Tai 3D | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
2005 | Hanjuku Hero 4: 7-Jin no Hanjuku Hero | ประพันธ์ | Kenji Ito |
Egg Monster Hero | ประพันธ์ | ||
2006 | Final Fantasy XII | ประพันธ์ (1 เพลง) | เกือบทั้งหมด Hitoshi Sakimoto เป็นผู้ประพันธุ์ |
Blue Dragon | ประพันธุ์ | ||
2007 | Anata o Yurusanai | ประพันธ์ | Kenji Ito |
Lost Odyssey | ประพันธ์ | ||
2008 | Super Smash Bros. Brawl | ประพันธ์ | several others |
Lord of Vermilion | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
Blue Dragon Plus | ประพันธ์ | ||
Away Shuffle Dungeon | ประพันธ์ | ||
Cry On (canceled) | ประพันธ์ | ||
2009 | Sakura Note | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
Kurulin Fusion | ประพันธ์/เรียบเรียง | ||
2010 | Final Fantasy XIV | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
TBA | Fantasy Life | ประพันธ์/เรียบเรียง | |
งานอื่นๆ | |||
ปี | รายชื่อผลงาน | หน้าที่ | กวีร่วม |
1994 | Phantasmagoria | ประพันธ์ | |
1998 | Ten Plants | ประพันธ์ | many others |
1999 | Ten Plants 2 Children Songs | ประพันธ์ | many others |
2000 | Ah! My Goddess: The Movie | ประพันธ์ | Shiro Hamaguchi |
Final Fantasy IX Original Soundtrack PLUS | ประพันธ์ | ||
2001 | Final Fantasy: Unlimited | ประพันธ์ | Shiro Hamaguchi and Akifumi Tada |
2003 | The Black Mages | ประพันธ์ | |
2004 | The Black Mages II: The Skies Above | ประพันธ์ | |
2005 | Final Fantasy VII Advent Children | ประพันธ์ | Keiji Kawamori, Kenichiro Fukui และ Tsuyoshi Sekito |
2007 | Blue Dragon (Anime) | ประพันธ์ | |
2008 | The Black Mages III: Darkness and Starlight | ประพันธ์ | |
Blue Dragon: Tenkai no Shichi Ryuu | ประพันธ์ | ||
2009 | Guin Saga | ประพันธ์ | |
2010 | Nobuo Uematsu's 10 Short Stories | ประพันธ์ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nobuo Uematsu Profile". Game Music Online. สืบค้นเมื่อ 2014-08-18.
- ↑ "N's profile". Square Enix USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nobuo Uematsu's official website เก็บถาวร 2006-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
- Nobuo Uematsu's official website (อังกฤษ)
- Video of 2004 Womens Synchronized Swimming using Liberi Fatali
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]] | |
---|---|
ชื่อ | Uematsu, Nobuo} |
ชื่ออื่น | 植松, 伸夫 (Japanese) |
รายละเอียดโดยย่อ | Composer |
วันเกิด | March 21, 1959 |
สถานที่เกิด | Kōchi, Kōchi Prefecture, Japan |
วันตาย | |
สถานที่ตาย |