ฮิโตชิ ซากิโมโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮิโตชิ ซากิโมโต)
ฮิโตชิ ซากิโมโตะ
ซากิโมโตะขณะให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2004
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อYmoH.S (Yellow Magic Orchestra Hitoshi Sakimoto)
เกิด (1969-02-26) 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 (55 ปี)
โตเกียว, ญี่ปุ่น
แนวเพลงออเคสตรา, อิเล็กโทรนิกา, แจ๊ส
อาชีพผู้ประพันธ์เพลง, ผู้เรียบเรียง
เครื่องดนตรีเปียโน, ออร์แกนไฟฟ้า, ซินธิไซเซอร์
ช่วงปี1988–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงDigiCube
Square Enix
Aniplex

ฮิโตชิ ซากิโมโตะ (ญี่ปุ่น: 崎元 仁โรมาจิSakimoto Hitoshi; เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969) เป็นผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียงเรียงเสียงประสานชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงด้านทำดนตรีประกอบเกมไฟนอลแฟนตาซีแท็กติกและไฟนอลแฟนตาซี XII เขาทำประพันธ์ประกอบเกมกว่าเจ็ดสิบเกม และเรียบเรียงเสียงประสานกว่าสี่สิบเกม พื้นฐานเดิมเขาเรียนด้านดนตรีตั้งแต่ประถม และได้ประกาศเป็นฟรีแลนซ์ในปี 1988 และในปี 1997 เขาได้สมัครงานเข้าในบริษัทสแควร์อีนิกซ์

ในปี 2002 เขาได้ลาออกจากบริษัทสแควร์อีนิกซ์ และก่อตั้งบริษัททำเสียงประกอบเกมเป็นของตัวเองคือ Basiscape และได้ทำการบริหารงานทางด้านธุรกิจทำเสียงอย่างเต็มรูปแบบทั้งเสียงเกม การ์ตูนอนิเมะ เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

วัยหนุ่ม[แก้]

ฮิโตชิ ซากิโมโตะ เกิดที่โตเกียว ถูกบังคับเรียนดนตรีตั้งแต่ประถม แต่โดยส่วนตัวเขาสนใจเกี่ยวกับเกมเป็นอย่างมาก ในช่วงที่เขาเรียนดนตรีนั้นเขาสนใจจำพวกวงร็อก วงเครื่องลมทองเหลือง และออร์แกนไฟฟ้า แต่ว่าก็เรียนเปียโนเป็นเครื่องมือหลัก[1]เขาได้ร่วมมือกับเพื่อน ๆ ของเขาในการทำเกมตั้งแต่สมัยอยู่มัธยม[2] และในช่วงมัธยมปลายเขาได้เขียนบทความในนิตยสาร Oh!FM โดยส่วนตัวเขาได้บอกว่าเขาเป็นเซียนเกมแต่ว่าเป็นนักดนตรีที่ยังอ่อนหัด[1]

เขาเริ่มแต่งเพลงสำหรับเกมเมื่ออายุสิบหกปี และร่วมกันเขียนเกมกับเพื่อน ๆ [3] ซึ่งเกมแรก ๆ นั้นเขาได้ใช้เครื่องมือทุกชิ้นเท่าที่หามาได้แบบมั่ว ๆ [4] เขาได้ผลักดันตัวเองและรับงานทำเกมอย่างมืออาชีพเมื่อปี 1988 เขากับเพื่อนร่วมงาน มาซาฮารุ อิวาตะ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานประกอบเกมหลาย ๆ เกมด้วยกัน ซึ่งเกมแรกที่นับว่าเป็นงานอย่างจริงจังของเขาคือเกมแนวยิง Revolter ซึ่งวางจำหนายโดยบริษัท ASCGroup for the NEC PC-8801 (คอมตั้งโต๊ะ) ซากิโมโตะได้ทำเสียงจำพวกซินธิไซเซอร์และ ดนตรีแนวบรรยากาศอวกาศเป็นหลักในช่วงแรก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของดนตรีประกอบเกมของญี่ปุ่นในยุค 1990 ยังไงก็ตามเกม Revolter ก็ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง และเขาก็ได้ทำเสียงประกอบเกมอีกหลายเกมและผลงานเสียงประกอบเกมของเขาก็ได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างเต็มรูปแบบ[3][5]

วัยทำงาน[แก้]

ผมเชื่อว่าเสียงนั้นมันครอบคลุมความรู้สึกของเกมจริง ๆ นะ เช่นนั้นเองผมจึงอยากทำงานแบบนี้

คำพูดของฮิโตชิ ซากิโมโตะ[6]

หลังจากเกม Revolter ไปแล้ว ผลงานของซากิโมโตะได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมดนตรีอื่น ๆ อีกมากมาย ในยุคคอมพิวเตอร์-8801 ได้มีเกมมาอีกเช่น Starship Rendezvous และ Gauntlet ซึ่งเป็นเกมที่ได้รับความนิยมพอ ๆ กับเกม Stone of Deigan ในปี 1989 และ The Witch of Barbatus ในปี 1990 [1]ช่วงปี 1990 และ 1992 เขาได้ทำเสียงเกมกว่า 24 ชิ้นงาน ช่วงนี้เขาได้สมัครงานในบริษัท Toshiba EMI, Artec, และ Data East.[5]แต่ว่าเขาก็ได้ทำเสียงเกมในงานชิ้นโบว์แดงหรือว่างานเดี่ยวก็เห็นจะเป็น Bubble Ghost ในช่วงปี 1990[1]

ในช่วงปี 1993-1997 นั้นเขาก็ได้ทำเสียงเกมที่ได้รับความนิยมอีกหลายเกม Ogre Battle: March of the Black Queen, Shin Megami Tensei, Alien vs. Predator, Tactics Ogre, และ Dragon Quest VI เป็นต้น[5] ซึ่งช่วงเวลาในปี 1997 เขาได้ย้ายมาอยู่สแควร์อย่างเป็นทางการโดยทำเกมไฟนอลแฟนตาซีแท็กติก ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในวงการเกม (การได้ออกไปทัวร์นอกประเทศ)[3][7]แม้ว่าเขาจะงานเต็มเอียดในช่วงไม่กี่ปีในช่วงนั้น แต่ว่าเขาก็ได้รับความสำเร็จจากเกม Vagrant Story อยู่ดี[5] งานสุดท้ายที่ทำให้สแควร์คือเบรทออฟไฟล์ห้า และ Tactics Ogre: The Knight of Lodis สำหรับแคปคอมและ Quest หลังจากนั้นเขาจึงลาออกจากพนักงานบริษัทมาทำเป็นบริษัท Basiscape ในวันที่ 4 ตุลาคม 2002 อย่างเป็นทางการ

เบสิสเคพ[แก้]

Basiscape เป็นบริษัทที่รับทำเสียงประกอบทุกชนิดโดยเฉพาะเกม ซากิโมโตะได้ลาออกจากสแควร์อีนิกซ์ เพราะว่าต้องการอิสระกว่าเดิม โดยที่เขาจะสามารถคัดเลือกงานที่จะทำได้เพื่อจะได้ไม่งานเต็มมือเหมือนแต่ก่อน[8]ตอนก่อตั้งบริษัทมีสมาชิกสามคนคือ ซากิโมโตะ, อิวาตะ และ มานาบุ นามิกิ เมื่อก่อตั้งบริษัทแยกออกมาแล้วบริษัทก็รับทำเสียงสำหรับวิดีโอเกมหลาย ๆ ค่ายเกม แต่หลัก ๆ แล้วจะเป็น สแควร์อีนิกซ์ เมื่อปี 2005 ก็มีการรับสมัครนักประพันธ์เพลงเพิ่มคือ มิตสึฮิโระ คาเนดะ และ คิมิฮิโระ อาเบะ, หลังจากเขาได้รับความสำเร็จในเกมส์ไฟนอลแฟนตาซี XIIเขาก็ได้ขยายบริษัทเพิ่มขึ้นไปอีกโดยเกณฑ์นักประพันธ์เพลงมาทำงานเพิ่มได้แก่ โนริยูกิ คามิกูระ, โยชิมิ คูโด และ อาซูซะ ชิบะ[9][10] ซึ่งทำให้กลายมาเป็นบริษัททำเพลงประกอบเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ หลังจากนั้นก็ยังทำงานอีกชิ้นคือ Odin Sphere และ ไฟนอลแฟนตาซี XII ภาคเสริม[3] บริษัทนี้จะแบ่งการบริหารงานคือการประพันธุ์เพลงหลักจะยกให้ซีอีโอ และแบ่งงานการเรียบเรียงเสียงประสานให้บุคลากรอื่นทำ รวมถึงมีบทเพลงบางชิ้นจะแบ่งให้คนในบริษัททำแยกออกไปด้วยตามความถนัด โดยการรับงานจะเป็นการรับงานในรูปแบบบริษัท บุคลากรที่เป็นนักประพันธ์เพลงทั้งหมดจะเป็นทั้งฟรีแลนซ์และเป็นพนักงานบริษัทแบบเต็มเวลาได้พร้อมกัน[11] ตัวธุรกิจ Basiscape เพิ่งถูกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปี 2009[12]

ซากิโมโตะเคยกล่าวถึงผลงานที่ไม่แสวงหากำไร[1] เขามีส่วนทำให้อัลบัมเสียงเกม Ten Plants (1998) และ 2197 (1999) เป็นหัวข้อในการกล่าวถึงเสียงเกม[13][14] ซึ่งในงานของเบสิสเคพนั้นเขาได้ทำงานกับนักร้องเลียในการออกอัลบัมเพลงป๊อปของเลียมาสองอัลบัม และงานด้านอื่นก็ทำอนิเมะเรื่องโรมิโอ × จูเลียตในปี 2007 และ The Tower of Druaga: The Aegis of Uruk ในปี 2008 และ ทำการ์ตูนแผ่นเรื่อง Legend of Phoenix ~Layla Hamilton Monogatari~ in 2005[3]

การแสดง[แก้]

ยาสุโนริ มิตสึดะ และซากิโมโตะ ณ A Night in Fantasia 2007: Symphonic Games Edition

ซากิโมโตะมักจะเสนอหน้าในงานคอนเสิร์ตเพลงประกอบเกมหลาย ๆ งาน เขาไปพบปะกับ โยโกะ ชิโมมูระ และ ไมเคิล เสียงาโตริ ซึ่งเป็นแขกพิเศษในงาน Play! A Video Game Symphonyหอแสดงออเคสตรา ณ ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา[15] งานของเขาได้ทำการแสดงโดยวงซิมโฟนีออเคสตราเอมิเนนซ์, อีกทั้งมีคอนเสิร์ตที่ใช้บทเพลงของเขาและ Basiscape ในการแสดง[16] เขาและยาสุโนริ มิซซีดะ ได้ไปคอนเสิร์ตร่วมกันในงาน Passion เมื่อธันวาคม 2006, ใน เมษายน 2007 เขาปรากฏตัวที่วงออเคสตราในงานA Night in Fantasia 2007: Symphonic Games Edition, ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีสามบทประพันธ์ใหญ่ของทั้งสอง[17] และเขาทั้งสองได้ร่วมงานกับวงซิมโฟนีออเคสตราเอมิเนนซ์ในการแสดงคอนเสิร์ตในช่วงกรกฎาคมปีนั้นในงาน Destiny: Reunion ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตนี้เป็นคอนเสิร์ตสำหรับดนตรีประกอบเกมญี่ปุ่นเท่านั้น[18] วงซิมโฟนีออเคสตราเอมิเนนซ์ได้วางแผ่น Passionในปี 2006 และ Destiny: Dreamer's Allianceในปี 2007[19] ตีมของเพเนโลจากไฟนอลแฟนตาซี XII และ เมดเลย์ของไฟนอลแฟนตาซีแท็กติก A2 ซึ่งแสดงที่สิงค์โปร์[20]

ถึงแม้ว่าเขาจะมีโชว์ตัวในงานคอนเสิร์ตอยู่สำหรับไฟนอลแฟนตาซีก็ตาม แต่ว่าบทเพลงของเขาก็ได้ถูกเรียบเรียงใหม่สำหรับเปียโนโดยอาซาโกะ นิวะ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นเพลงสำหรับเปียโนในระดับกลางซึ่งถูกขายโดย โรงพิมพ์โดเรมี[21]

สไตล์เพลง และแรงจูงใจ[แก้]

ลักษณะงานดนตรีของเขานั้นมักจะเป็นแบบเรียบเรียงเครื่องดนตรีให้เด่นเท่า ๆ กันและจะชอบใช้เปียโนสั้น ๆ แล้วค่อยต่อเข้าคอม[7] แล้วเขาก็จะชอบเขียนดนตรีแนวออเคสตราอย่างมาก โดยเขียนมาในซีเควนเซอร์ก่อนแล้วค่อยเอาวงเล่นจริง เมื่อเขาจะเขียนเพลงเขาจะนึกว่าเขาเป็นโปรดิวเซอร์ก่อนว่าต้องการอะไร หากรอบของเพลงก่อนจากนั้นค่อยหาทำนองที่ใช่ แล้วจึงประพันธ์เป็นเดโม[4] เขามักจะบอกว่าเขาจะพยายามทำให้เหมือนพวกเสียงอนิเมะของญี่ปุ่น แต่ว่าอาจจะไม่เหมือนกันบ้างเล็กน้อย[16] เขายังบอกอีกว่าเขาจะทำผลงานออกมาเรื่อย ๆ ให้มีคุณภาพมากกว่านี้แล้วเมื่อทำชิ้นก่อน ๆ ไปแล้วมันจะทำให้เรารู้ว่าเราจะทำของใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร[4]

ส่วนด้านแรงจูงใจนั้นเขาได้รับอิทธิพลจากดนตรีเทคโนเก่ากับโปรเกรสซีพร็อค ซึ่งเขาจะชอบวงเยลโลว์แมจิกออเคสตราเอามาก ๆ [6][16] เมื่อเขาทำการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางดนตรีแล้วเขาก็ใช้นามปากกาว่า "YmoH.S" มาตลอด, เขายังอ้างอิงว่าเขายังใช้ดนตรีแจ๊สโดยเฉพาะชิกโคเรียอีกด้วยในงานหลัก[1] ตัวของซากิโมโตะในช่วงที่กำลังปั่นงานไฟนอลแฟนตาซี XII นั้นเองเขายังแอบอู้งานมาฟังพวกแนวเทคโนและแจ๊สฟิวชั่นเวลาเซ็งและมักจะชอบบทเพลงในไฟนอลแฟนตาซีภาคเก่า ๆ ที่โนบูโอะ อูเอมัตสึปั้มเอาใว้ด้วย[22] บ้างก็หาแรงบันดาลใจที่บ้าน, เขาจะชอบนึกไอเดียเจ๋ง ๆ เวลาอยู่ที่สตูดิโออยู่เสมอ ๆ และบทประพันธ์ที่เขารู้สึกภูมิใจเสนอที่สุดก็คือ Vagrant Story[4]

ผลงานสะสม[แก้]

วิดีโอเกม
ปี เกม หน้าที่ ผู้ร่วมผลงาน
1988 Revolter ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
1989 Stone of Deigan เรียบเรียง
1990 en:Bubble Ghost ประพันธ์
Metal Orange ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Starship Rendezvous ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Carat ประพันธ์
en:Advanced Dungeons & Dragons: Heroes of the Lance เรียบเรียง
1991 Devilish ประพันธ์
en:Verytex ประพันธ์
en:Magical Chase ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
King Breeder ประพันธ์
en:Midnight Resistance เรียบเรียง
en:Master of Monsters เรียบเรียง
Dragons of Flame เรียบเรียง
en:Death Knights of Krynn เรียบเรียง
1992 Mounted Soldier เรียบเรียง
en:Two Crude Dudes เรียบเรียง
en:Death Bringer เรียบเรียง
en:Captain America and the Avengers เรียบเรียง
en:Champions of Krynn เรียบเรียง
Dragon Master Silk เรียบเรียง
Eye of the Beholder เรียบเรียง
Seven Colors เรียบเรียง
1993 Gauntlet ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Bad Omen ประพันธ์
Super Back to the Future Part II ประพันธ์
en:Ogre Battle: The March of the Black Queen ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ และ ฮายาโตะ มัสสึโอะ
Tail Spin เรียบเรียง
en:Aguri Suzuki F-1 Super Driving เรียบเรียง
Alien vs. Predator เรียบเรียง
The Little Mermaid เรียบเรียง
J-LEAGUE Soccer เรียบเรียง
Classic Lord เรียบเรียง
en:Shin Megami Tensei เรียบเรียง
Quiz Jipangu เรียบเรียง
1994 en:Kingdom Grand Prix ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
en:X-Kaliber 2097 ประพันธ์ ฮายาโตะ มัสสึโอะ
Moldorian ประพันธ์
Pile Up March ประพันธ์
en:Side Pocket เรียบเรียง
en:Nankoku Shōnen Papuwa-kun เรียบเรียง
Shogi เรียบเรียง
Mighty Morphin Power Rangers: The Movie เรียบเรียง
en:Super Ice Hockey เรียบเรียง
Lorelei เรียบเรียง
Swap เรียบเรียง
Blue Garnet เรียบเรียง
1995 en:Tactics Ogre: Let Us Cling Together ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Chick's Tale ประพันธ์
Dragon Master Silk 2 ประพันธ์
en:Pet Club: Inu Daisuki! เรียบเรียง
en:Akazukin Chacha เรียบเรียง
en:Dragon Quest VI เรียบเรียง
en:Bomberman: Panic Bomber เรียบเรียง
Classic Lord 2 เรียบเรียง
F1 GP เรียบเรียง
1996 en:Treasure Hunter G ประพันธ์ จ้อน พี้,, โทชิอากิ ซาโกดะ, โยโกะ ทาคาดะ, โทโมโกะ มัสสึอิ, และ อากีโกะ โกโต
en:Terra Diver ประพันธ์ มานาบุ นามิกิ
The Adventures of Hourai High School ประพันธ์
Chip Chan Kick! ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Thoroughbred Breeder 3 เรียบเรียง
My Best Friends เรียบเรียง
Virtual Gallop Kisyudou เรียบเรียง
1997 Bloody Roar ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ และ มานาบุ นามิกิ
en:Final Fantasy Tactics ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Civizard – Majutsu no Keifu เรียบเรียง
1998 en:Radiant Silvergun ประพันธ์
en:Armed Police BatRider ประพันธ์
Traffic Confusion เรียบเรียง
en:Battle Garegga เรียบเรียง
Roommate 3 เรียบเรียง
1999 en:Ogre Battle 64: Person of Lordly Caliber ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ และ ฮายาโตะ มัสสึโอะ
Roommate W -Futari- เรียบเรียง
2000 en:Vagrant Story ประพันธ์
2001 en:Tactics Ogre: The Knight of Lodis ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
Kuusen ประพันธ์
en:Legaia 2: Duel Saga ประพันธ์ ยาสุโนริ มิตสึดะ และ มิชิรุ โอชิมา
en:Tekken Advance ประพันธ์ อสูฮิโร โมโตยามา
Block Wars เรียบเรียง
2002 en:Breath of Fire: Dragon Quarter ประพันธ์
Perfect Prince ประพันธ์ ชินจิ โฮโซเอ และ อายาโกะ ซาโซ
en:The Pinball of the Dead เรียบเรียง
2003 en:Final Fantasy Tactics Advance ประพันธ์ อายาโกะ ซาโซ, คาโอริ โอโคชิ และ ตาหนวดใส่แว่นแก่ ๆ
2004 en:Gradius V ประพันธ์
en:Stella Deus: The Gate of Eternity ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
en:Mushihime-sama ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ, มานาบุ นามิกิ, ชินจิ โฮโซเอ, อายาโกะ ซาโซ, and โชอิจิโร ซาคาโมโต
2005 ArtePizza ประพันธ์
Wizardry Gaiden: Prisoners of the Battles ประพันธ์
Bleach: Heat the Soul 2 ประพันธ์
Zoids: Full Metal Crash ประพันธ์
B-Legend! Battle B-daman Fire Spirits! เรียบเรียง
2006 en:Monster Kingdom: Jewel Summoner ประพันธ์ หลายคน
en:Fantasy Earth: Zero ประพันธ์
Final Fantasy XII ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ, ฮายาโตะ มัสสึโอะ, และโนบุโอะ อุเอมัตสึ
en:Battle Stadium D.O.N ประพันธ์
en:Digimon World Data Squad ประพันธ์
2007 en:GrimGrimoire ประพันธ์
en:Final Fantasy XII: Revenant Wings ประพันธ์ เคนิชิโร ฟูคูอิ
en:Final Fantasy Tactics: The War of the Lions ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
en:Odin Sphere ประพันธ์ เบสิสเคพ
en:ASH: Archaic Sealed Heat ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
en:Final Fantasy Tactics A2 ประพันธ์
en:Opoona ประพันธ์ เบสิสเคพ
Deltora Quest ประพันธ์ เบสิสเคพ
2008 L no Kisetsu 2: Invisible Memories ประพันธ์
en:Valkyria Chronicles ประพันธ์
en:The Wizard of Oz: Beyond the Yellow Brick Road ประพันธ์ คิมิฮิโระ อาเบ, มาซาฮารุ อิวาตะ, and มิชิโกะ นารุเกะ
Elminage: Priestess of Darkness and The Ring of the Gods ประพันธ์
2009 Coded Soul ประพันธ์
en:Crystal Defenders ประพันธ์
en:Muramasa: The Demon Blade ประพันธ์
en:Tekken 6 ประพันธ์ หลายคน
Lord of Vermilion II ประพันธ์
2010 en:Valkyria Chronicles II ประพันธ์
en:Lord of Arcana ประพันธ์
en:Tactics Ogre: Let Us Cling Together ประพันธ์ มาซาฮารุ อิวาตะ
2011 en:Valkyria Chronicles III ประพันธ์
งานด้านอื่น
ปี ชิ้นงาน หน้าที่ ผู้ร่วมผลงาน
1991 MCMXCI ประพันธ์
1992 MYSTERY CASE in HI! SCHOOL! ประพันธ์
Be filled with feeling ประพันธ์
1993 Great Wall ประพันธ์
G.T.R ประพันธ์
1994 T•O•U•R•S ประพันธ์
1995 Megami Tensei 1 and 2 ประพันธ์
1998 Ten Plants ประพันธ์
1999 2197 ประพันธ์
2005 Colors of Life ประพันธ์ เลีย
2005 Legend of Phoenix ~Layla Hamilton Monogatari~ ประพันธ์
2007 Romeo x Juliet ประพันธ์
2008 en:The Tower of Druaga: The Aegis of Uruk ประพันธ์
2011 Iron Vendetta ประพันธ์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Chris. "Hitoshi Sakimoto :: Biography". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  2. "Hitoshi Sakimoto - Profile". CocoeBiz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Credits". Hitoshi Sakimoto's official website. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Sakimoto, Hitoshi; Kennedy, Sam (2007-10-30). "Final Fantasy XII Composer Hitoshi Sakimoto Interview from 1UP.com". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Hitoshi Sakimoto - Discography". CocoeBiz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  6. 6.0 6.1 Sakimoto, Hitoshi; Larsen, Phil (2006-11-06). "Hitoshi Sakimoto Interview". PALGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  7. 7.0 7.1 Sakimoto, Hitoshi (2006-10-24). "Twelve Days of Final Fantasy XII: Hitoshi Sakimoto Interview Part I". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  8. Sakimoto, Hitoshi; Winkler. "RPGFan Exclusive Interview #4: Hitoshi Sakimoto, Composer, Basiscape". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  9. "Basiscape". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  10. "Basiscape :: Composers". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  11. Sakimoto, Hitoshi; Napolitano, Jason (2009-04-02). "GDC 2009: Shooting The Breeze With Hitoshi Sakimoto". Original Sound Version. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  12. Rojek, Kamil (2010-10-06). "Interview with Hitoshi Sakimoto (October 2010)". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2010-10-06.
  13. Ten Plants. Biosphere Records (1998-04-22). BICA-5001.
  14. 2197. Troubadour Records (1999-04-18). TTRC-0028.
  15. "Hitoshi Sakimoto to attend Detroit concert". PLAY! A Video Game Symphony. 2006-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  16. 16.0 16.1 16.2 Shea, Cam (2007-02-15). "Hitoshi Sakimoto AU Interview". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  17. Shea, Cam (2007-05-04). "A Night in Fantasia 2007 Photos". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-07. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  18. Kermarrec, Jérémie; Jeriaska (2008-10-15). "Interview with Yasunori Mitsuda". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. "Portfolio". Eminence Symphony Orchestra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  20. "Fantasy Comes Alive :: Report by Between Moments". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
  21. "Doremi Music Web Site" (ภาษาญี่ปุ่น). DOREMI Music Publishing. สืบค้นเมื่อ 2008-09-14.
  22. Sakimoto, Hitoshi (2006-10-25). "Twelve Days of Final Fantasy XII: Hitoshi Sakimoto Interview Part II". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-06. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]