ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไชคอฟสกี)
ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี
ไชคอฟสกีในปี ค.ศ. 1893
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี
เกิด7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840
เขตข้าหลวงวยัตคา จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 (53 ปี)
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย
อาชีพคีตกวี, นักเปียโน, วาทยากร

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (รัสเซีย: Пётр Ильи́ч Чайко́вский; อังกฤษ: Pyotr Ilyich Tchaikovsky) เป็นคีตกวีชาวรัสเซียแห่งยุคโรแมนติก เขาเป็นคีตกวีชาวรัสเซียคนแรกที่ผลงานสร้างความประทับใจในระดับโลก ได้รับการส่งเสริมในฐานะวาทยกรรับเชิญในทวีปยุโรปและอเมริกา

ไชคอฟสกีเกิดเมื่อปีค.ศ. 1840 ที่เมืองโวทคินสค์ ในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของอันทอน รูบินสไตน์ จากนั้นถูกเรียกให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูบินสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาสมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความขัดแย้งภายในตนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ คราพริชิโอ อิตาเลียน (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน ดโวชาค ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยอหิวาตกโรคแต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ

เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้วย

ผลงานชิ้นสำคัญ[แก้]

บัลเล่ต์[แก้]

ซิมโฟนี[แก้]

เพลงโหมโรง[แก้]

คอนแชร์โต้[แก้]

  • เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 ในบันไดเสียง บีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 23 (ค.ศ. 1874 - 75 แก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 1879 และ 1889)
  • เซเรเนด เมลังโคลิค โอปุสที่ 26 (ค.ศ. 1875)
  • วาริเอชั่นส์ แอนด์ รอคโคโคธีม โอปุสที่ 33 (ค.ศ. 1876)
  • วอลซ์-สแกโซ โอปุสที่ 34 (ค.ศ. 1877)
  • คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน ในบันไดเสียงดี เมเจอร์ โอปุสที่ 35 (ค.ศ. 1878)
  • คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 2 ในบันไดเสียงจี เมเจอร์ โอปุสที่ 44 (ค.ศ. 1879-80)
  • คอนเสิร์ต แฟนตาซี โอปุสที่ 56 (ค.ศ. 1884)
  • เปซโซ่ คาปริชิโอโซ โอปุสที่ 62 (ค.ศ. 1887)
  • คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 3 ในบันไดเสียง อีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 75 (ค.ศ. 1893)
  • อันดานเต้ แอนด์ ฟินาเล่ โอปุสที่ 79 (ค.ศ. 1893)

เชมเบอร์มิวสิก[แก้]

  • บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต ในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ (ค.ศ. 1865)
  • บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 1 ในบันไดเสียง เรเมเจอร์ โอปุสที่ 11 (ค.ศ. 1871)
  • บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 2 ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ โอปุสที่ 22 (ค.ศ. 1873 - 74)
  • บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 3 ในบันไดเสียง อีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 30 (ค.ศ. 1876)
  • ซุวีเนียร์ ดุงลิเยอแชร์, โอปุสที่ 42 (ค.ศ. 1878)
  • เปียโนทรีโอ ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ โอปุสที่ 50 (ค.ศ. 1881 - 82)
  • ซูวีเนียร์ เดอ ฟลอเรนซ์ โอปุสที่ 70 (ค.ศ. 1890)

บทเพลงสำหรับเปียโน[แก้]

ไชคอฟสกี้ได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับเปียโนไว้จำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ ฤดูกาล

อุปรากร[แก้]

จากอุปรากรทั้งสิบเรื่องที่ไชคอฟสกี้ได้ประพันธ์ไว้นั้น มี:

มีเดีย[แก้]