ข้ามไปเนื้อหา

โตกีโปนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตกีโปนา
toki pona
ศัพท์ toki pona ในอักษร sitelen pona
ออกเสียง[ˈtoki ˈpona]
สร้างโดยSonja Lang
วันที่ค.ศ. 2001
การจัดตั้งและการใช้ทดสอบหลักการลัทธิจุลนิยม, ข้อสันนิษฐาน Sapir–Whorf และพิดจิน
จุดประสงค์
ระบบการเขียนอักษรละติน; sitelen pona (ตัวหนังสือคำ); sitelen sitelen (ตัวหนังสือคำที่มีอักษรสระประกอบสำหรับคำยืม) และอักษรอื่น ๆ
ที่มาภาษาจากผลไปหาเหตุที่มีคุณสมบัติของภาษาอังกฤษ, ตอกปีซิน, ฟินแลนด์, จอร์เจีย, ดัตช์, ฝรั่งเศสอากาเดีย, เอสเปรันโต, เซอร์เบีย-โครเอเชีย และจีน
รหัสภาษา
ISO 639-3tok
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

โตกีโปนา (โตกีโปนา: toki pona;[a] มักแปลว่า 'ภาษาที่ดี';[b] สัทอักษรสากล: [ˈtoki ˈpona] ออกเสียง) เป็นภาษาประดิษฐ์ที่เป็นที่รู้จักจากการมีคำศัพท์ขนาดเล็ก เรียบง่าย และง่ายต่อการได้มา[4] ภาษานี้สร้างขึ้นโดย Sonja Lang นักภาษาศาสตร์และนักแปลภาษาชาวแคนาดา[4][5] เพื่อลดความซับซ้อนของความคิดและการสื่อสาร มีการเผยแพร่แบบร่างแรกทางออนไลน์ใน ค.ศ. 2001[1] ก่อนจะเผยแพร่รูปเต็มในหนังสือ Toki Pona: The Language of Good ใน ค.ศ. 2014[6][7]

โตกีโปนาเป็นภาษาโดดเดี่ยวที่มีเพียง 14 หน่วยเสียง และคุณสมบัติพื้นฐานของลัทธิจุลนิยม โดยมุ่งเน้นไปยังแนวคิดที่เรียบง่ายและใกล้เคียงสากลเพื่อเพิ่มการแสดงออกจากคำเพียงไม่กี่คำ ในหนังสือ Toki Pona: The Language of Good Lang เสนอคำศัพท์ระมาณ 120 คำ ส่วน Toki Pona Dictionary ในภายหลังระบุศัพท์ที่"จำเป็น"ถึง 137 คำและศัพท์ที่ไม่ค่อยใช้จำนวนหนึ่ง[c] คำเหล่านี้ออกเสียงง่ายในทุกภาษา ซึ่งช่วยให้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนต่างวัฒนธรรม[11] อย่างไรก็ตาม ภาษานี้ไม่ได้สร้างเป็นภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ โดยส่วนหนึ่งได้แรงบันดาลใจจากปรัชญาลัทธิเต๋า ภาษานี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้มีการเจาะจงกับสิ่งพื้นฐานและส่งเสริมการคิดเชิงบวกตามข้อสันนิษฐาน Sapir–Whorf แม้จะมีคำศัพท์เพียงเล็กน้อย แต่ผู้พูดก็สามารถเข้าใจและสื่อสารได้ โดยส่วนใหญ่อาศัยบริบทและการผสมคำเพื่อแสดงความหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

หลังการสร้างช่วงแรก มีการพัฒนาชุมชนผู้พูดภาษาขนาดเล็กในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000[5][12] ในขณะที่กิจกรรมส่วนใหญ่จักในโลกออนไลน์ที่ห้องแชต สื่อสังคม และในกลุ่มออนไลน์

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อภาษานี้ประกอบด้วยสองส่วน คือ toki ('ภาษา')[13] แผลงมาจากคำว่า tok ในตอกปีซิน ซึ่งแผลงมาจากคำว่า talk ในภาษาอังกฤษ และ pona ('ดี/เรียบง่าย') แผลงมาจากคำว่า bona ในภาษาเอสเปรันโต[13] ซึ่งแผลงมาจากคำว่า bonus ในภาษาละติน

สัทวิทยา

[แก้]
ตารางแสดงการออกเสียงในโตกีโปนา

โตกีโปนาใช้เสียงพยัญชนะเก้าตัว (/p, t, k, s, m, n, l, j, w/) และเสียงสระห้าตัว (/a, e, i, o, u/)[1][5] โดยพยางค์แรกของคำจะต้องเน้นเสียงเสมอ ภาษานี้ไม่มีสระเสียงยาว วรรณยุกต์ อักษรนำ อักษรควบกล้ำ

วงศัพท์

[แก้]
ชื่อของอวัยวะในร่างกายในโตกีโปนา

รากคำทั้ง 120 คำได้รับการออกแบบมาภายใต้เงื่อนไขของการมีชีวิตที่เรียบง่าย เนื่องจากภาษานี้มีรากคำน้อยมาก คำจากภาษาอื่นๆ จึงถูกสร้างขึ้นโดยการผสมรากคำเข้าด้วยกัน เช่น คำว่าสอน จะแปลว่า pana e sona ที่มีความหมายโดยตรงว่า ให้ความรู้

หลักไวยากรณ์

[แก้]

โตกีโปนาใช้รูปแบบประโยคแบบ ประธาน-กริยา-กรรม โดยคำว่า li ใช้เพื่อบ่งบอกภาคแสดง และ e ใช้บ่งบอกกรรม เช่น สัตว์กินผลไม้ จะแปลได้ว่า soweli li moku e kili แต่ถ้าประธานเป็น mi (ฉัน) หรือ sina (เธอ) ก็ไม่ต้องใช้ li เช่น ฉันกินผลไม้ จะแปลได้ว่า mi moku e kili ไม่ใช่ mi li moku e kili

คำคุณศัพท์จะอยู่หลังคำนามที่มันขยายเหมือนในภาษาไทย เช่น คนที่ดี จะแปลได้ว่า jan pona เพราะโตกีโปนามีคำเพียงไม่มาก และแต่ละคำมีได้หลายความหมาย เราจึงจะสามารถใช้คำคุณศัพท์ในการเจาะจงได้ เช่น ในภาษาโตกีโปนาไม่มีคำว่า รถ จึงใช้คำว่า tomo tawa (ห้องเคลื่อนที่) แทนคำว่ารถ

หากมีหลายคำคุณศัพท์ ให้ใช้ pi ซึ่งสามารถแปลคร่าวๆได้ว่า "แห่ง" ในการแยกคำคุณศัพท์ หากไม่มีคำว่า pi ให้เรียงจากซ้ายไปขวา เช่น

tomo telo = ห้องน้ำ

telo nasa = น้ำประหลาด = สุรา

tomo telo nasa = ห้องน้ำประหลาด

tomo pi telo nasa = ห้องสุรา = บาร์

โตกีโปนาไม่สามารถเปรียบเทียบได้ เช่น ประโยคที่ว่า "ผลไม้อร่อยกว่าแมลง" เราต้องแยกเป็น 2 ประโยค ก็คือ "kili li moku pona. pipi li moku ike" ซึ่งแปลคร่าวๆได้ว่า "ผลไม้เป็นอาหารที่ดี แมลงเป็นอาหารที่ไม่ดี"

ประโยคปฏิเสธ ให้ใช้ ala เติมข้างหลังคำกริยา เช่น "soweli li moku e telo" แปลว่า "สัตว์ดื่มน้ำ" และ "soweli li moku ala e telo" แปลว่า "สัตว์ไม่ดื่มน้ำ"

วิสามานยนาม

[แก้]

วิสามานยนามหรือนามชี้เฉพาะในโตกีโปนานั้น ต้องขึ้นต้นด้วย นามต้น เพื่อบอกว่านามนั้นคืออะไร ตามด้วยชื่อของคำวิสามานยนามนั้นที่ถูกสะกดแบบถูกหลักสัทวิทยา เช่น

สมชาย = jan Sonsa ใช้คำว่า jan ขึ้นต้น ซึ่งแปลได้ว่า บุคคล

ไมโครซอฟท์ = kulupu Mikoso ใช้คำว่า kulupu ขึ้นต้น ซึ่งแปลได้ว่า กลุ่ม หรือ บริษัท

วิกิพีเดีย = lipu Wikipesija ใช้คำว่า lipu ขึ้นต้น ซึ่งแปลได้ว่า กระดาษ หรือ เว็บไซต์

รัสเซีย = ma Losi ใช้คำว่า ma ขึ้นต้น ซึ่งแปลได้ว่า แผ่นดิน หรือ ประเทศ

หากเป็นชื่อสถานที่ ให้ใช้คำที่คนจากสถานที่นั้นใช้เรียกสถานที่ของตน ไม่ใช่คำที่คนอื่นเรียกสถานที่นั้น เช่น

เยอรมนี = Deutschland = ma Tosi ใช้คำว่า Deutschland ไม่ใช้คำว่า Germany

ตัวอย่าง

[แก้]

วันทามารีย์

[แก้]

jan Meli o[14] (วันทามารีย์ แปลโดย Tobias Merkle, 2020)

jan Meli o,
kon sewi li suli insa sina.
wan sewi li poka sina.
lon meli la, wan sewi li pona e sina.
kili pona pi insa sina li sewi Jesu.
jan Meli sewi o!
mama pi jan sewi o!
tenpo ni la, tenpo pi moli mi mute la,
o toki tawa wan sewi tan mi mute jan ike.
awen.

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

[แก้]

ข้อที่ 1 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[15]

jan ali li kama lon nasin ni: ona li ken tawa li ken pali. jan ali li kama lon sama. jan ali li jo e ken pi pilin suli. jan ali li ken pali e wile pona ona. jan ali li jo e ken pi sona pona e ken pi pali pona. jan ali li wile pali nasin ni: ona li jan pona pi jan ante.

หอคอยบาเบล

[แก้]

ma tomo Pape[16] (เรื่องราวหอคอยบาเบล แปลโดย Bryant J. Knight, 2005)

jan ali li kepeken e toki sama. jan li kama tan nasin pi kama suno li kama tawa ma Sinale li awen lon ni. jan li toki e ni: "o kama! mi mute o pali e kiwen. o seli e ona". jan mute li toki e ni: "o kama! mi mute o pali e tomo mute e tomo palisa suli. sewi pi tomo palisa li lon sewi kon. nimi pi mi mute o kama suli! mi wile ala e ni: mi mute li lon ma ante mute". jan sewi Jawe li kama anpa li lukin e ma tomo e tomo palisa. jan sewi Jawe li toki e ni: "jan li lon ma wan li kepeken e toki sama li pali e tomo palisa. tenpo ni la ona li ken pali e ijo ike mute. mi wile tawa anpa li wile pakala e toki pi jan mute ni. mi wile e ni: jan li sona ala e toki pi jan ante". jan sewi Jawe li kama e ni: jan li lon ma mute li ken ala pali e tomo. nimi pi ma tomo ni li Pape tan ni: jan sewi Jawe li pakala e toki pi jan ali. jan sewi Jawe li tawa e jan tawa ma mute tan ma tomo Pape.

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในโตกีโปนา ใช้อักษรตัวใหญ่กับชื่อเฉพาะเท่านั้น เช่นชื่อบุคคล[1][2]
  2. toki ในคำนามหมายถึง 'ภาษา', 'พูด' และ 'การสื่อสาร'[3] pona ในคำคุณศัพท์หมายถึง 'ดี', 'สันติสุข' และ 'เรียบง่าย'[3]
  3. ก่อนการตีพิมพ์ Toki Pona: The Language of Good ภาษานี้มีคำศัพท์ถึง 118 คำ[8] ในช่วงระหว่างนั้นถึงการตีพิมพ์ Toki Pona Dictionary มีการนับจำรนวนคำในเล่มก่อนหน้า (nimi pu) ในขอบเขตระหว่าง 120 ถึง 125[1][4][5] Toki Pona Dictionary เพิ่มศัพท์ใหม่ที่"จำเป็น"ถึง 16 คำ (nimi ku suli)[9] และระบุข้างหลังว่ามีศัพท์ทั้งหมด 137 คำ[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Blahuš, Marek (November 2011). Fiedler, Sabine (บ.ก.). "Toki Pona: eine minimalistische Plansprache" [Toki Pona: A Minimalistic Planned Language] (PDF). Interlinguistische Informationen (ภาษาเยอรมัน). Berlin. 18: 51–55. ISSN 1432-3567.
  2. Rogers, Steven D. (2011). "Part I: Made-Up Languages – Toki pona". A Dictionary of Made-Up Languages. United States of America: Adams Media. ISBN 978-1440528170.
  3. 3.0 3.1 Lang 2014, p. 125–134.
  4. 4.0 4.1 4.2 Morin, Roc (2015-07-15). "How to Say (Almost) Everything in a Hundred-Word Language". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 2019-08-01.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Roberts, Siobhan (2007-07-09). "Canadian has people talking about lingo she created". The Globe and Mail (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2017-03-10.
  6. Thomas, Simon (2018-03-27). "Exploring Toki Pona: do we need more than 120 words?". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-03.
  7. Lang 2014, p. 134.
  8. "Classic Word List (Improved!)". tokipona.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-07.
  9. Lang 2021, p. 22–23.
  10. Lang 2021, back cover.
  11. Lang 2014, p. 10.
  12. Јовановић, Тијана (Tijana Jovanović) (2006-12-15). "Вештачки језици (Veštački jezici)" [Artificial languages]. Политикин Забавник (Politikin Zabavnik) (ภาษาเซอร์เบีย) (2862). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-10.
  13. 13.0 13.1 "Toki Pona word origins". tokipona.org. 2009-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08.
  14. "Ave Maria". jonathangabel.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-10.
  15. "Toki Pona". Omniglot: the online encyclopedia of writing systems & languages. สืบค้นเมื่อ 2019-01-13.
  16. "ma tomo Pape". suno pona. สืบค้นเมื่อ 2019-01-12.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Lang, Sonja (2014). Toki Pona: The Language of Good. Tawhid. ISBN 978-0978292300. OCLC 921253340.
  • Lang, Sonja (2021). Toki Pona Dictionary. Illustrated by Vacon Sartirani. Tawhid. ISBN 978-0978292362.
  • Cárdenas, Eliazar Parra (2013). Toki pona en 76 ilustritaj lecionoj [Toki Pona in 76 illustrated lessons] (ภาษาเอสเปรันโต). แปลโดย Blahuš, Marek. Partizánske, Slovakia: Espero. ISBN 978-80-89366-20-0.
  • Toki Pona Stories: akesi seli lili [The Little Dragon]. 2020. ISBN 979-8637271252.
  • Samys, Ret (2021-09-06). ma pi kulupu tu [The Land of Two Peoples] (ภาษาเยอรมัน). Berlin, Germany: Holtzbrinck Publishing Group. ISBN 9783754161654.
    • This book was translated as: Samys, Ret (2021-09-06). ma pi kulupu tu [The Land of Two Peoples] (ภาษาอังกฤษ). Berlin, Germany: Holtzbrinck Publishing Group. ISBN 9783754161647.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]