โซเดียมซัลไฟต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Sodium sulfite
Sodium sulfite
Sodium sulfite.jpg
Sodium sulfite hydrate.jpg
ชื่อตาม IUPAC Sodium sulfite
ชื่ออื่น Hypo clear (photography)
E221
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [7757-83-7][CAS]
PubChem 24437
RTECS number WE2150000
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 22845
คุณสมบัติ
สูตรเคมี Na2SO3
มวลต่อหนึ่งโมล 126.043 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ white solid
กลิ่น odorless
ความหนาแน่น 2.633 g/cm3 (anhydrous)
1.561 g/cm3 (heptahydrate)
จุดหลอมเหลว

33.4 °C (dehydration of heptahydrate)
500 °C (anhydrous)

จุดเดือด

Decomposes (separate (substances) into constituent elements)

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 67.8 g/100 mL (18 °C, heptahydrate)
ความสามารถละลายได้ soluble in glycerol
insoluble in ammonia, chlorine
pKa ~9 (heptahydrate)
ดัชนีหักเหแสง (nD) 1.565
โครงสร้าง
โครงสร้างผลึก hexagonal (anhydrous)
monoclinic (heptahydrate)
ความอันตราย
MSDS ICSC 1200
EU Index Not listed
NFPA 704
NFPA 704.svg
0
2
0
 
จุดวาบไฟ Non-flammable
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง
แคทไอออนที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium sulfite อาจเขียน sodium sulphite) เป็นเกลือโซเดียมที่ละลายน้ำได้ของกรดซัลฟิวรัส (sulfurous acid) สูตรโมเลกุลเป็น Na2SO3 ใช้ป้องกันไม่ให้ผลไม้แห้งเปลี่ยนสี และกันเนื้อสัตว์เน่าเสีย และใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับ โซเดียมไธโอซัลเฟตเพื่อเปลี่ยนธาตุฮาโลเจน ไปเป็นกรดไฮโดรฮาลิก ในการถ่ายรูปและลดระดับคลอรีนในสระว่ายน้ำ

สารกลุ่มซัลไฟต์ เมื่อถูกความร้อนจะสลายให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) หรือ ซัลฟูรัสแอนไฮดราย

(sulfurous anhydride) หรือ ซัลฟูรัสออกไซด์ (sulfurous oxide) SO2 เป็นก๊าซที่มีสภาวะเป็นกรด ไม่ติดไฟ มีกลิ่นฉุนรุนแรง

ทำให้หายใจไม่ออก มีน้ำหนักกว่าอากาศ 2.264 เท่า ละลายได้ดีในน้ำ ละลายในน้ำแล้วให้กรดซัลฟิวรัส

การใช้สารในกลุ่มซัลไฟต์ในอาหาร

1. เป็นสารกันเสีย (preservative) ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยยับยั้งการเจริญของ ยีสต์ (yeast

รา (mold) และแบคทีเรีย (bacteria) เช่น ใช้ฆ่าจุลินทรีย์ในการทำไวน์ (wine) เบียร์ (beer)

2. เป็นวัตถุกันหืน (antioxidant) 2 ยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์ (enzymatic browning reaction

และปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (non enzymatic browning reaction) ใช้ในอาหารที่เป็นผักผลไม้สด 

ผักผลไม้แห้ง ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน แยม (jam) น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำเชื่อม และผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น 

วุ้นเส้น เส้นหมี่ และก๋วยเตี๋ยว ใช้ในเจลาติน (gelatin) ถั่วบรรจุกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง เห็ดกระป๋อง กะทิกระป๋อง มันฝรั่งกระป๋อง 

และอาหารแช่แข็ง เป็นต้น

พิษของสารซัลไฟต์

พิษของก๊าซ SO2 ปริมาณ 8 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองของระบบหายใจ ปริมาณ 20 ส่วนในล้านส่วน 

จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา เป็นสารก่อภูมิแพ้ (food allergen) ถ้ารับประทานเข้าไปไม่มาก ร่างกายขับออกทางปัสสาวะได้ 

แต่ถ้ามากเกินไปจะมีผลไปลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีน และไขมันในร่างกายของคนเราและมีฤทธิ์ทำลายวิตามิน B1 ด้วย 

ถ้า SO2 สะสมในร่างกายมากๆ อาจทำให้หายใจ ติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หมดสติ และอาจตายได้ในผู้ที่แพ้มาก

หรือเป็นหอบหืด

ปริมาณการใช้

เนื่องจากสารในกลุ่มซัลไฟต์ มีพิษและเป็นสารก่อภูมิแพ้ (food allergen) จากพระราชบัญญัติ อาหารของการะทรวงสาธารณสุข 

ได้กำหนดการใช้เกลือซัลไฟด์ เกลือไบซัลไฟด์ของโซเดียมและโพแทสเซียมเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องมีคุณภาพเป็นไป

ตามกฏกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2527) เรื่องวัตถุเจือปนอาหารและได้กำหนดปริมาณการใช้ของสารดังกล่าวใน

อาหารบางชนิด ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว แอพริคอตแห้ง ลูกเกต กุ้งเยือกแข็ง และ

เนื้อกุ้งดิบ

องค์การอนามัยโลกกำหนดค่าความปลอดภัยไว้ คือ ปริมาณที่ได้รับต้องไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/คน/วัน