โกโรโกอา
โกโรโกอา | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เจสัน โรเบิร์ตส์ |
ผู้จัดจำหน่าย | อันนะปุรณะอินเทอแรกทีฟ |
แต่งเพลง | Joel Corelitz |
เอนจิน | ยูนิตี |
เครื่องเล่น | ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ ไอโอเอส นินเท็นโด สวิตช์ เพลย์สเตชัน 4 เอ็กซ์บ็อกซ์วัน แอนดรอยด์ |
วางจำหน่าย | ไมโครซอฟต์ วินโดวส์, ไอโอเอส, นินเท็นโด สวิตช์ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เพลย์สเตชัน 4, เอ็กซ์บ็อกซ์วัน 22 May 2018 |
แนว | ปริศนา |
รูปแบบ | เดี่ยว |
โกโรโกอา (อังกฤษ: Gorogoa) เป็นวิดีโอเกมปริศนาที่พัฒนาโดยเจสัน โรเบิร์ตส์ (Jason Roberts) และเผยแพร่โดยอันนะปุรณะอินเทอแรกทีฟ (Annapurna Interactive) โดยตัวเกมถูกเผยแพร่บนไมโครซอฟต์ วินโดวส์, นินเท็นโด สวิตช์ และไอโอเอสในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2017 ส่วนรุ่นเพลย์สเตชัน 4กับเอ็กซ์บ็อกซ์วัน ถูกเผยแพร่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 และไม่นานก็มีการเผยแพร่รุ่นของแอนดรอยด์กับคินเดิลไฟร์[1]
โกโรโกอา ให้ผู้เล่นจัดการภาพที่อยู่ในตาราง 2 x 2 โดยสามารถสำรวจในแต่ละภาพโดยการตั้งหรือซ้อนภาพเพื่อแก้ปริศนา ในเกมปริศนานี้ ผู้เลนต้องนำเด็กชายที่พบสัตว์ประหลาดบนทิวทัศน์ที่กลายสภาพเป็นหลังสงครามและสร้างใหม่ ขณะที่เด็กชายแก่ขึ้น และจบลงที่ชายแก่ดูอดีตของตนเอง
ตัวเกมใช้เวลาพัฒนาเป็นเวลาเกือบ 6 ปี
วิธีเล่น
[แก้]ในเกมนี้ ผู้เล่นจะมีภาพสี่ภาพในตาราง 2 x 2 ภาพส่วนใหญ่สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง เช่น ซูมภาพเข้าออก หรือลากภาพ ผู้เล่นสามารถย้ายภาพไปยังตารางไหนก็ได้ บางครั้ง ตัวภาพจะแสดงเป็นหลุม เช่นทางประตู ดังนั้น ถ้าย้ายภาพไปยังภสพอื่น ภาพที่ถูกย้ายจะคลุมภาพนั้นแล้วสร้างภาพใหม่ ด้วยวิธีนี้ ผู้เล่นต้องซ้อน, ผสม และสำรวจภาพเพื่อหาจุดเชื่อมต่อระหว่างมัน ซึ่งสามารถเปิดบริเวณใหม่ได้[2][3] ผู้เล่นจะไม่ตามด้วยกระบวนการใด ๆ เพราะเกมนี้ไม่มีภาษาใด ๆ และต้องทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการเพื่อชนะด่านนั้น หลังจากผู้เล่นเชื่อมต่อภาพแล้ว ภาพจะเคลื่อนไหว ทำให้เกิดผลที่ตามมาต่อผู้เล่น[4][5]
เนื้อเรื่องคือ เด็กชายต้องการที่จะเผชิญหน้ากับสัตว์ประหลาด โดยการผจญภัยผ่านฉากแห่งจิตวิญญาณและศาสนา[4][6] ตัวฉากในเกมตามยุคสมัยของศตวรรษที่ 20 ได้แก่ สันติสุข, สงคราม และบูรณะ และชีวิตของเด็กชายที่รอดจากสงคราม มีชีวิตในช่วงที่มีการบูรณะ และสะท้อนอดีตของเขาในฐานะชายแก่คนหนึ่ง[7][8]
การพัฒนา
[แก้]เจสัน โรเบิร์ตส์ เริ่มพัฒนาเกมการ์ดที่ได้แรงบันดาลใจจากคอมมิกในช่วงเวลาว่างในขณะทำงานประจำ แต่หลังจากนั้นเขาตัดสินใจว่ามันซับซ้อนเกินไป[2][4] โรเบิร์ตส์นึกถึงการเขียนกราฟิกโนเวล[7] แต่จากความสำเร็จของเกม เบรด เขารู้ว่าสามารถผสมระหว่างความรักศิลปะกับวิดีโอเกมเชิงโต้ตอบ ถึงแม้ว่ารู้เกี่ยวกับการพัฒนาน้อยก็ตาม[9] การพัฒนาเกมเริ่มขึ้นในปีค.ศ. 2011 โดยที่เขาลาออกจากงานประจำเพื่อใช้เวลาพัฒนาเกม[7][10] โดยวางแนว่าจะเผยแพร่ในปีค.ศ. 2013 โรเบิร์ตส์ไม่มีเงินเหลือหลังจากพัฒนาเกมมา 2 ปี แล้วทำงานต่ออีกปีผ่านการลงทุนจากอินดีฟันด์ และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 อันนะปุรณะพิกเจอร์ส์ประกาศว่าจะเริ่มเผยแพร่เกมจากอันนะปุรณะอินเทอแรกทีฟด้วยเกม โกโรโกอา ซึ่งเป็นเกมแรกที่ถูกเผยแพร่[7][11]
โรเบิร์ตส์ตั้งชื่อเกม โกโรโกอา ตามสิ่งมีชีวิตในจินตนาการของเขาในวัยเด็ก เขาตั้งชื่อนี้เพราะมันไม่มีในภาษาใด ๆ และต้องการให้ตัวเกมเข้าถึงทุกคน โดยไม่สนเรื่องภาษา ดังนั้น เขาจึงไม่ใส่ภาษาใด ๆ ลงไปในเกม[4][6]
โกโรโกอา เคยถูกพัฒนาบนจาวา แต่ถูกย้ายไปพัฒนายูนิตีเกมเอนจิน เพราะมันเหมาะที่จะเผยแพร่ไดหลายแพล็ตฟอร์ม ซึ่งรวมไปถึง นินเท็นโด สวิตช์ ภาพวาดทั้งหมดถูกวาดโดยตัวเขาเอง[12] โรเบิร์ตส์ให้อ้างอิงแก่เดวิด โรเบิร์ตส์, กุสตาฟว์ ดอเร, คริสโตเฟอร์ แมนสัน และคริส แวร์ว่ามีอิทธิพลต่อศิลปะของเขา[10] และกล่าวด้วยว่าเขาได้รับอิทธิพลทางอ้อมในศิลปะไบแซนไทน์ จากการเดินทางไปที่อิสตันบูลและที่อื่น ๆ โรเบิร์ตส์พบว่าเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำศิลปะสองมิติของการผจญภัยในพื้นที่สามมิติ ที่มากไปกว่านั้น มันช่วยให้มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์โลกจริง[13] ส่วนเสียงเกม ในช่วงแรกของการพัฒนาถูกทำโดยออสติน วินโทรี (Austin Wintory)[7] จนกระทั่งโรเบิร์ตส์ตัดสินใจว่าเขาต้องการธีมดนตรีใหม่ และจ้าง Joel Corelitz แทน ซึ่งเ็นผู้กำกับเสียงจากเกม ดิอันฟินิชด์สวาน (The Unfinished Swan) ในปีค.ศ.2012 และ Eduardo Ortiz Frau เป็นผู้ออกแบบเสียงเกม[14]
ได้มีการเผยแพร่รุ่นจำลองของตัวเกมในเทศกาล อินดีเคด ค.ศ. 2012 และเผยแพร่รุ่นเต็มในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017[14][15][16] โรเบิร์ตส์กล่าวว่าต้องใช้เวลาพัฒนาเกมมากกว่าที่คิด เพราะเมื่อทักษะการวาดรูปเพิ่มขึ้น เขาต้องกลับไปวาดฉากเก่าใหม่[9][17]
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนเผยแพร่ตัวเกม โกโรโกอา ชนะรางวัลการออกแบบของอินดีคิวบ์ในปีค.ศ. 2012[23] และชนะรางวัลสูงสุดของกูดเกมคลับในปีค.ศ. 2013[24] ตัวเกมก็ชนะรางวัลสาขาการออกแบบดีเด่นในงานIndependent Games Festivalในปีค.ศ. 2014 และถูกยกย่องในด้านการออกแบบและการบรรยาย[10]
หลังเผยแพร่รุ่นเต็ม ก็ได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกโดยทั่วไป โดยได้คะแนนจากเมทาคริติกบนพีซีไป 84/100 และบนไอโอเอส 91/100[18][20] Sam Machkovech จาก Ars Technica กล่าวถึงเกมว่า "เป็นภาพวาดด้วยมือที่สวยที่สุด เท่าที่มีในวิดีโอเกม"[25] และฟิลิปปา วารร์ นักเขียนจาก พีซีเกมเมอร์' กล่าวว่า "สวยงามที่สุด"[26]
แอนดรุว์ เว็บสเตอร์ นักเขียนจาก The Verge ยกย่องความไม่สับสนของเกม ไม่ทำให้ผู้เล่นติดกับ หรือไม่สามารถทำปริศนาต่อ วารร์ได้กล่าวถึงประโยคนี้ด้วยWarr.[26][27] สเตฟานี จัน นักวิจารณ์จาก VentureBeat ยกย่องความเข้าถึงของตัวเกมและความพอใจในการแก้ปริศนาได้[28] ร็อบ เคอร์ชอว์ จาก Jump Dash Roll ยอมรับ แล้วเขียนถึงโกโรโกอาว่า "ออกแบบได้สวยงาม" และ "การออกแบบเกมอย่างน่าอัศจรรย์"[29]
ยูโรเกมเมอร์ ยกให้เกม โกโรโกอา อยู่ในอันดับ 49 จาก "50 อันดับเกมแห่งปี 2017"[30] ในขณะที่ โพลิกอน ให้ตัวเกมอยู่ในอันดับ 35 จากรายชื่อ 50 เกมดีเด่นในปี 2017[31]
ตัวเกมได้เข้าชิงในสาขา "เกมสำหรับโทรศัพท์ดีเด่น", "เกมปริศนาดีเด่น" และ "นวัตกรรมขั้นสุด" ของรางวัลดีเด่นประจำปี 2017 โดยIGN[32][33][34] โดยชนะรางวัลสาขา "เกมสำหรับโทรศัพท์ดีเด่น" และ "สาขานวัตกรรม" ในงาน Game Developers Choice Awards ประจำปี ครั้งที่ 18 ในขณะที่ได้เข้าชิงสาขา "Best Debut" (Jason Roberts/Buried Signal);[35][36] "ศิลปะดีเด่น" และ "เกมสำหรับโทรศัพท์ของปี" ใน SXSW Gaming Awards ค.ศ. 2018 [37][38] ที่มากไปกว่านั้น ตัวเกมได้เข้าชิงสาขา "D.I.C.E. Sprite Award", "เกมสำหรับโทรศัพท์ของปี", "Outstanding Achievement in Game Design" และ "Outstanding Achievement in Game Direction" ในงาน D.I.C.E. Awards ประจำปี ครั้งที่ 21;[39] และสาขา "Game Design, New IP" ในงาน Annual National Academy of Video Game Trade Reviewers Awards ประจำปี ครั้งที่ 17;[40][41] และชนะรางวัลสาขา "Debut Game" ในบริติชอะคาเดมีเกมส์อะวอร์ด ครั้งที่ 14 ซึ่งได้เข้าชิงในสาขา "Artistic Achievement", "Game Innovation", "เกมสำหรับโทรศัพท์" และ "Original Property"[42][43] ตัวเกมได้เข้าชิงในสาขา "เล่าเรื่องดีเด่น", "การออกแบบดีเด่น", "เกมอินดีดีเด่น" และ "เกมสำหรับโทรศัพท์แห่งปี" ใน Golden Joystick Awards ค.ศ. 2018[44][45] ทาง โพลิกอน ยกให้เป็นเกมที่ดีที่สุดแห่งทศวรรษ[46]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cragg, Oliver (19 June 2018). "Gorgeous award-winning puzzler Gorogoa up for pre-registration on Play Store". Android Authority. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
- ↑ 2.0 2.1 Farokhmanesh, Megan (25 May 2013). "Puzzle in the picture: how Gorogoa brings art to life through mind-twisting challenges". Polygon. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ Meer, Alec (12 October 2012). "Windows 2013: Gorogoa". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Hernandez, Patricia (14 November 2012). "If You Like Comics Or Trippy Dreams, You'll Love This Game". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ Smith, Graham (4 December 2013). "Hands On: Gorogoa, A Puzzle Game About Pictures". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ 6.0 6.1 Matulef, Jeffrey (11 October 2012). "Brilliant hand-illustrated Indiecade finalist Gorogoa now has a demo". Eurogamer.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Kohler, Chris (14 December 2017). "The Puzzle Of A Lifetime". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 23 December 2017.
- ↑ Geraldi, Matt (11 January 2018). "Gorogoa wants to get you thinking about much more than its breathtaking puzzles". The A.V. Club. สืบค้นเมื่อ 7 November 2018.
- ↑ 9.0 9.1 Campbell, Colin (27 January 2017). "The ineffable loveliness of Gorogoa". Polygon. สืบค้นเมื่อ 27 January 2017.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Graft, Kris (18 February 2014). "Road to the IGF: Jason Roberts' Gorogoa". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 1 March 2014.
- ↑ Tom Regan (1 December 2016). "Movie studio Annapurna Pictures now makes games". Engadget. สืบค้นเมื่อ 1 December 2016.
- ↑ Petitte, Omri (11 October 2012). "Gorogoa is a completely hand-drawn puzzler of Magritte-esque surrealism". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ Green, Holly (27 December 2017). "On the Byzantine Art of Gorogoa". Paste. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-03. สืบค้นเมื่อ 7 November 2018.
- ↑ 14.0 14.1 Warr, Philippa (23 December 2013). "Gorogoa first look: a charming and beautiful illustrative puzzle game". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ Allin, Jack (11 October 2012). "Demo for Gorogoa opens window into unique new puzzler". Adventure Gamers. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ Lumb, David (4 December 2017). "Long-awaited indie 'Gorogoa' arrives on iOS and PC December 14th". Engadget. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
- ↑ Walker, John (11 March 2014). "IGF Factor 2014: Gorogoa". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ 18.0 18.1 "Gorogoa for PC Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
- ↑ "Gorogoa for Switch Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
- ↑ 20.0 20.1 "Gorogoa for iPhone/iPad Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
- ↑ "Gorogoa for Xbox One Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018.
- ↑ Lazarides, Tasos (13 December 2017). "'Gorogoa' Review – Picture Perfect". TouchArcade. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
- ↑ Conditt, Jessica (11 October 2013). "IndieCade 2012 winners get their crowns, IndieCade East in 2013". Engadget (Joystiq). สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ Conditt, Jessica (19 November 2013). "Good Game Club picks hand-drawn puzzler Gorogoa for top prize". Engadget (Joystiq). สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ Machkovech, Sam (12 December 2017). "Gorogoa review: Beneath four panels hide gaming's most beautiful surprise". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
- ↑ 26.0 26.1 Warr, Philippa (14 December 2017). "Gorogoa Review". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
- ↑ Webster, Andrew (14 December 2017). "This soothing, intricate puzzle game will make you feel like a genius". The Verge. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
- ↑ Chan, Stephanie (13 December 2017). "Gorogoa review — a brief but beautiful foray into an otherworldly mystery". VentureBeat. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
- ↑ Kershaw, Rob. "Jump Dash Roll | Gorogoa Review". Jump Dash Roll. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
- ↑ Eurogamer staff (26 December 2017). "Eurogamer's Top 50 Games of 2017: 50-41". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ 30 December 2017.
- ↑ Polygon staff (18 December 2017). "The 50 best games of 2017". Polygon. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
- ↑ "Best of 2017 Awards: Best Mobile Game". IGN. 20 December 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ "Best of 2017 Awards: Best Puzzle Game". IGN. 20 December 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ "Best of 2017 Awards: Most Innovative". IGN. 20 December 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ Gamasutra staff (5 January 2018). "Breath of the Wild & Horizon Zero Dawn lead GDC 2018 Choice Awards nominees!". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ Makuch, Eddie (21 March 2018). "Legend Of Zelda: Breath Of The Wild Wins Another Game Of The Year Award". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
- ↑ McNeill, Andrew (31 January 2018). "Here Are Your 2018 SXSW Gaming Awards Finalists!". SXSW. สืบค้นเมื่อ 1 February 2018.
- ↑ IGN Studios (17 March 2018). "2018 SXSW Gaming Awards Winners Revealed". IGN. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
- ↑ Makuch, Eddie (14 January 2018). "Game Of The Year Nominees Announced For DICE Awards". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.
- ↑ "Nominee List for 2017". National Academy of Video Game Trade Reviewers. 9 February 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2018. สืบค้นเมื่อ 16 February 2018.
- ↑ "Horizon wins 7; Mario GOTY". National Academy of Video Game Trade Reviewers. 13 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2018. สืบค้นเมื่อ 14 March 2018.
- ↑ deAlessandri, Marie (15 March 2018). "Hellblade: Senua's Sacrifice at forefront of BAFTA Games Awards nominations". MCV. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
- ↑ Makedonski, Brett (12 April 2018). "BAFTA names What Remains of Edith Finch its best game of 2017". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-25. สืบค้นเมื่อ 13 April 2018.
- ↑ Hoggins, Tom (24 September 2018). "Golden Joysticks 2018 nominees announced, voting open now". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
- ↑ Sheridan, Connor (16 November 2018). "Golden Joystick Awards 2018 winners: God of War wins big but Fortnite gets Victory Royale". GamesRadar+. สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.
- ↑ "The 100 best games of the decade (2010–2019): 100–51". Polygon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). พฤศจิกายน 4, 2019. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 9, 2019.
สารานุกรม
[แก้]- Gordon, Lewis (ตุลาคม 9, 2019). "Indie game makers open up about the money they actually make". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2019.