ยูนิตี (เกมเอนจิน)
![]() | |
ผู้พัฒนา | Unity Technologies |
---|---|
วันที่เปิดตัว | 8 มิถุนายน ค.ศ. 2005 |
รุ่นล่าสุด | 2020.2.2 / 21 มกราคม ค.ศ. 2021[1] |
สถานะการพัฒนา | Active |
เขียนบน | C++ (รันไทม์) C# (Scripting API) |
ประเภท | เกมเอนจิน |
สัญญาอนุญาต | ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ |
Alexa rank | ![]() |
เว็บไซต์ | unity |
ยูนิตี (อังกฤษ: Unity) เป็นเกมเอนจินแบบข้ามแพลตฟอร์มสำหรับใช้ในการพัฒนาวีดีโอเกมทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติรวมทั้งการสร้างซิมูเลชั่นต่างๆลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์(ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแล็ปท็อป), คอนโซล, สมาร์ททีวี, เว็บไซต์ และอุปกรณ์พกพาต่างๆ ยูนิตีถูกพัฒนาโดย Unity Technologies และเปิดตัวครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2005 ในงาน Worldwide Developers Conference ที่ Apple Inc. โดยตัวเอนจินในขณะนั้นรองรับการใช้งานบนแพลตฟอร์ม MacOSX โดยเฉพาะเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) ยูนิตีได้ขยายการรองรับไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆเพิ่มเติมรวมกว่า ~18 แพลตฟอร์ม[3]
ตัวเอ็นจิ้นสามารถใช้ในการสร้าง เกมสามมิติ , เกมสองมิติ , เกม VR , เกม AR และ อื่น และยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมนอกเหนือวิดีโอเกมเช่น ภาพยนตร์ , สถาปัตยกรรม และ วิศวกรรมและการก่อสร้าง ได้อีกด้วย
ประวัติ[แก้]
ยูนิตี เกมเอ็นจินเปิดตัวในปี ค.ศ. 2005 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การสร้างเกมเข้าถึงง่ายขึ้น โดยในปีต่อมา ยูนิตี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวดการใช้งานที่ดีที่สุดของ Mac OS X Graphics ใน Apple Design Awards[4] ของ Apple Inc.
ในปี ค.ศ. 2007 ยูนิตี เวอร์ชั่น 2.0 ก็ได้เปิดตัวพร้อม ~50 คุณสมบัติใหม่ - การทําแสงแบบ Realtime , แสงแบบทิศทาง , แสงแบบไฟฉาย , การเล่นไฟล์วิดีโอ และ อื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อ Apple ได้เปิดตัว App Store ยูนิตีก็ได้รีบเพิ่มการรองรับ iPhone [5]
ยูนิตี เวอร์ชั่น 3.0 ได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 2010 พร้อมกับการรองรับแพลตฟอร์ม Android และคุณสมบัติใหม่
และยูนิตี เวอร์ชั่น 4.0 ก็ได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 2012 พร้อมกับการรองรับ DirectX 11 , แพลตฟอร์มลินุกซ์ , อะโดบี แฟลช และระบบแอนิเมชันแบบใหม่[6]
ยูนิตี 5 ได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 2015 มาพร้อมกับ เรียลไทม์โกลบอลอินลูมิเนชัน , ระบบเสียงแบบใหม่ , ระบบฟิสิกส์เวอร์ชั่นใหม่ , แพลตฟอร์มเว็บจีแอล และการปรับปรุงอีกมากมาย[7]
ปลายปี ค.ศ. 2016 ยูนิตีได้มีการปลี่ยนแปลงการระบุเวอร์ชั่นจาก 1.x -> 2.x -> 3.x เป็น ปีของเวอร์ชั่นที่ออกเช่น 2017.1
ข้อมูลการอัพเดทแต่ละเวอร์ชั่นสามารถดูได้ที่: https://unity3d.com/get-unity/download/archive
ภาษาที่ใช้เขียน[แก้]
ตัวเอนจินนั้นใช้ภาษา C++ ในการเขียนเป็นส่วนหลักและมีภาษา C# ครอบทับการทํางานต่างๆ เช่น ระบบเสียง , ตรรกะ , การทํางานของตัวเกมที่ผู้พัฒนาต้องการ , อื่นๆ นอกจากนี้ ยูนิตี ยังเคยรองรับภาษา JavaScript (UnityScript) และ Boo อีกด้วย แต่ด้วยไม่ได้รับความนิยมและเรื่องต่างๆ จีงทําให้ภาษา JavaScript (UnityScript) ถูกประกาศเลิกพัฒนา (Deprecated) ในเวอร์ชั่น 2017.2[8] และภาษา Boo ในเวอร์ชั่น 5.0[9]
ผู้พัฒนาสามารถเขียนด้วยภาษา C++ ได้ แต่ยังไงก็ตามผู้พัฒนาสามารถเขียนภาษา C++ ได้แค่ในส่วนการทํางานพื้นหลังเท่านั้นเช่น: "ระบบเสียง , บริการพื้นหลัง , ปลั๊กอิน" ดังนั้นภาษา C# จะเหมาะสมสําหรับการสร้างเกมมากกว่า
ค่าบริการสมัครสมาชิก[แก้]
ยูนิตี มีค่าบริการสมัครสมาชิกหลัก ๆ อยู่ 4 รายการคือ Personal , Plus , Pro และ Enterprise
License | คุณสมบัติหลัก | ธีมมืด | ปรับแต่งหน้าจอสแปลช (Splash Screen) | การเข้าถึงซอร์สโค้ด C++ | เครื่องมือสําหรับอุตสาหกรรม | การสนับสนุนทางเทคนิค | ราคา |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Personal | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ฟรี |
Plus | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | $40 (ประมาณ 1,260฿) ต่อเดือน / $399 (ประมาณ 12,600฿) ต่อปี |
Pro | มี | มี | มี | มี แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม | ไม่มี | มี แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม | $150 (ประมาณ 4,700฿) ต่อเดือน / $1,800 (ประมาณ 56,825฿) ต่อปี |
Enterprise | มี | มี | มี | มี แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม | มี แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม | มี | $200 (ประมาณ 6,294฿) ต่อเดือน |
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://store.unity.com/compare-plans
ถ้ารายได้หรือเงินทุนของผู้พัฒนามากกว่า $ 100K ใน 12 เดือนที่ผ่านมา จะต้องใช้ Plus หรือสูงกว่า
แต่ถ้าหากรายได้หรือเงินทุนของผู้พัฒนามากกว่า $ 200K ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จะจําเป็นต้องใช้ Pro หรือ Enterprise
ค่าลิขสิทธิ์ (Royalty fee)[แก้]
ยูนิตี ไม่คิดค่าลิขสิทธิ์จากรายได้ของผู้พัฒนาเลยสักบาท ด้วยจะคิดเงินจาก "ค่าบริการสมัครสมาชิก" แทน[10]
Unity Asset Store[แก้]
ผู้สร้างสามารถพัฒนา Assets ที่ตนเองทําแล้วขายหรือแจกจ่ายให้กับผู้อื่น ผ่าน Unity Asset Store ด้วยมี Assets หลากหลายรูปแบบเช่น โมเดลตัวละคร , โมเดลสิ่งก่อสร้าง และ อื่นๆ อีกมากมาย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Download Archive". Unity. สืบค้นเมื่อ January 22, 2021.
- ↑ "unity.com Traffic Statistics". Alexa Internet. สืบค้นเมื่อ January 22, 2021.
- ↑ [1] ข้อมูลแพลตฟอร์มที่ยูนิตีรองรับ
- ↑ [2] Apple Design Awards ค.ศ. 2006
- ↑ [3] การรองรับแพลตฟอร์ม iOS
- ↑ [4] ข้อมูลการอัพเดท Unity 4.0
- ↑ [5] ข้อมูลการอัพเดท Unity 5.0
- ↑ [6] ประกาศ Deprecated - JavaScript
- ↑ [7] ประกาศ Deprecated - Boo
- ↑ [8] FAQ ที่หัวขอ Are there royalties or a per-title fee?