โกฐก้านพร้าว
หน้าตา
โกฐก้านพร้าว | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Plantaginaceae |
สกุล: | Picrorhiza |
สปีชีส์: | P. kurroa |
ชื่อทวินาม | |
Picrorhiza kurroa |
โกฐก้านพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Picrorhiza kurroa อยู่ในวงศ์ Plantaginaceae เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอวบ เกาะเลื้อย ใบออกเป็นกระจุกใกล้เหง้า ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยสีฟ้าอ่อนจำนวนมาก มีขนหยาบแข็ง ผลแห้งแบบแคบซูล มีเมล็ดจำนวนมาก กระจายพันธุ์ในเขตเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ปากีสถาน จนกระทั่งรัฐอุตตรประเทศและแคชเมียร์ของอินเดีย จนถึงสิกขิมและเนปาล[2] เหง้าของพืชชนิดนี้ตากแดดให้แห้ง ใช้ทำยา ลักษณะเป็นเหง้ายาว ทรงกระบอก เปลือกหนา ผิวมีรอยย่น สีน้ำตาลอมเทา ใช้แก้ไข้เรื้อรัง เสมหะเป็นพิษ ในอินเดียและศรีลังกาใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในยาถ่ายหลายขนาน ในอินเดียบางแห่งใช้แก้พิษแมลงป่อง เป็นยาที่ใช้ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย[3] [4]
พืชชนิดนี้มีปลูกอยู่ทั่วไป แต่มีความต้องการให้อนุรักษ์ไว้ในป่าตามธรรมชาติด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.หน้า 100 – 101
- ↑ "Appendices". Convention on International Trade in Endangered Species (CITES). 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-08-07.
- ↑ "Kutki" (PDF). Kathmandu: Asia Network for Sustainable Agriculture and Bioresources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-25. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
- ↑ "PICRORHIZA: Uses, Side Effects, Interactions and Warnings". WebMD. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
- ↑ "Picrorhiza". NYU Langone Medical Center (Last reviewed August 2013 by EBSCO CAM Review Board). สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
- ↑ Chandra B, Palni LMS, Nandi SK (2006). "Propagation and conservation of Picrorhiza kurroa Royle ex Benth: An endangered Himalayan medicinal herb of high commercial value". Biodiversity and Conservation. 15: 2325–2338. doi:10.1007/s10531-005-0770-z.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)