แอบบอส แกเรบอฆี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอบบอส แกเรบอฆี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
27 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 4 มกราคม พ.ศ. 2522
กษัตริย์พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
นายกรัฐมนตรีแจอ์แฟร์ แชรีฟเอมอมี
โกลอมเรซอ แอซฮอรี
ก่อนหน้าแอแซโดลลอฮ์ แนสร์ เอสแฟฮอนี
สมาชิกสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (อิหร่าน)
ดำรงตำแหน่ง
13 มกราคม พ.ศ. 2522 – 22 มกราคม พ.ศ. 2522
แต่งตั้งโดยพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
แทบรีซ อิหร่าน
เสียชีวิต14 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (81 ปี)
ปารีส ฝรั่งเศส
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพจักรวรรดิอิหร่าน
ประจำการพ.ศ. 2481–2522
ยศ พลเอก
หน่วยกรมทหารราบที่ 22

แอบบอส แกเรบอฆี (เปอร์เซีย: عباس قره‌باغی; 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักการเมืองและทหารชาวอิหร่านในยุคราชวงศ์ปาห์ลาวี เขาเป็นหนึ่งในทหารที่ไม่ถูกศาลปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านตัดสินประหารชีวิต[1]

แกเรบอฆีเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ในแทบรีซ เขามีเชื้อสายอาเซอร์ไบจาน[2] เขาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมสารวัตรตำรวจอิหร่านจนถึง พ.ศ. 2522 และเมื่อเกิดการปฏิวัติอิหร่าน ผู้บัญชาการทหารอากาศอย่างแฮแซน ทูฟอนียอน และแอมีร์โฮเซย์น แรบีอี พยายามก่อรัฐประหารเพื่อรักษาเสถียรภาพจากความโกลาหลในประเทศ[3] แต่ความคิดของทั้งสองไม่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงคนอื่น ๆ รวมถึงแกเรบอฆีด้วย

แกเรบอฆีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการกองทัพอิหร่านในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนชาห์ แต่เมื่อพระเจ้าชาห์ทรงหนีออกนอกประเทศ เขาก็สนับสนุนรัฐบาลชอพูร์ แบฆทียอร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการปะทะกันอย่างรุนแรงตามท้องถนนในกรุงเตหะรานและที่อื่น ๆ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เขาและผู้บัญชาการอีก 22 นายก็ยุติการสนับสนุนแบฆทียอร์ และสนับสนุนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านไปโดยปริยาย[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. John M. Smith (June 1980). Where was the Shah's Army? (PDF) (วิทยานิพนธ์ Master of Military Art and Science). US Army Command and General Staff College. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2021.
  2. Fatemi, Khosrow (1982). "Leadership by Distrust: The Shah's Modus Operandi". Middle East Journal. 36 (1): 48–61. ISSN 0026-3141.
  3. Cann, Rebecca; Danopoulos, Constantine (1998-01-01). "The Military and Politics in a Theocratic State: Iran as Case Study". Armed Forces & Society (ภาษาอังกฤษ). 24 (2): 269–288. doi:10.1177/0095327X9702400204. ISSN 0095-327X.
  4. "Bakhtiar quits after losing army backing". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 1979-02-12.
  5. "THE IRANIAN: 1979 revolution, Payman Arabshahi". www.iranian.com.