แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ ใน พ.ศ. 2554
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ ใน พ.ศ. 2554
เกิด25 มีนาคม ค.ศ. 1971
เอดินบะระ สกอตแลนด์
อาชีพนักข่าว นักเขียน
สัญชาติสกอตแลนด์
การศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ (อังกฤษ: Andrew MacGregor Marshall, เกิด 25 มีนาคม 2514) เป็นนักข่าวและเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวสกอต ซึ่งเน้นความขัดแย้ง การเมืองและอาชญากรรม เขาปฏิบัติงานในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางเป็นหลัก เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาลาออกจากรอยเตอส์ในพฤติการณ์ซึ่งมีการโต้เถียงหลังสำนักข่าวนั้นปฏิเสธตีพิมพ์เรื่องเฉพาะที่เขาเขียนถึงพระมหากษัตริย์ไทยIR

อาชีพ[แก้]

มาร์แชลล์เป็นนักหนังสือพิมพ์ของรอยเตอส์ 17 ปี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักแบกแดดตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2548 เมื่อการก่อการกำเริบรุนแรงเข้าครอบงำประเทศอิรัก และเป็นบรรณาธิการบริหารของภูมิภาคตะวันออกกลางตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2551 หลังปี 2551 เขาประจำอยู่ในสิงคโปร์เป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงการเมืองและบรรณาธิการตลาดเกิดใหม่

การโต้เถียง "#thaistory"[แก้]

ในเดือนมิถุนายน 2554 มาร์แชลล์ประกาศลาออกจากรอยเตอส์เพื่อจัดพิมพ์ชุดเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยที่สำนักข่าวปฏิเสธลง ต่อมาในเดือนเดียวกัน เขาจัดพิมพ์เนื้อหาบางส่วนด้วยตนเอง มีการจัดพิมพ์ส่วนที่ประกาศสองจากสี่ส่วนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 โดยที่เหลือจะตามมา "สัปดาห์หน้า" แต่จวบจนปัจจุบันยังมิได้จัดพิมพ์สองส่วนที่เหลือดังกล่าว เนื้อหานั้นชื่อ "ขณะแห่งความจริงของประเทศไทย" (Thailand's Moment of Truth) การศึกษาของเขาวิเคราะห์บทบาทของพระมหากษัตริย์ในการเมืองไทยและรวมการพาดพิงโทรเลขการทูตของสหรัฐที่รั่วหลายร้อยฉบับ ต่อมา วิกิลีกส์แพร่โทรเลขนั้น ประเทศไทยมีกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ที่รุนแรงซึ่งการวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์เป็นความผิดอาญา และนักหนังสือพิมพ์ที่เขียนถึงประเทศไทยมักยึดนโยบายการตรวจพิจารณาตัวเอง คือ งดเว้นไม่ออกความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอาจถูกมองได้ว่าวิจารณ์ การศึกษาของมาร์แชลล์ ซึ่งปกติถูกอ้างอิงด้วยแฮชแทกทวิตเตอร์ #thaistory ใช้หลักฐานจากโทรเลขเพื่อแย้งว่าพระมหากษัตริย์มีบทบาทการเมืองศูนย์กลางในประเทศไทยซึ่งไม่เคยรายงานอย่างเหมาะสม

ในบทความหนังสือพิมพ์ ดิอินดีเพนเดนท์ ของอังกฤษ มาร์แชลล์เขียนว่า เช่นเดียวกับการลาออกจากรอยเตอส์ การจัดพิมพ์ #thaistory ของเขาหมายความว่า เขาจะได้รับโทษจำคุกหากเข้ากลับประเทศไทย เขาว่า เขาเข้าใจเหตุที่รอยเตอส์ปฏฺเสธจัดพิมพ์เนื้อหานี้ เพราะความเสี่ยงที่เกิดได้ต่อพนักงานและธุรกิจในประเทศไทยหากกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์[1] รอยเตอส์ให้คำอธิบายอีกอย่างหนึ่งแก่ เดอะไทมส์ และ ดิอินดีเพนเดนท์ ว่า

รอยเตอส์ไม่จัดพิมพ์เรื่องนี้เพราะเราไม่คิดว่ามันได้ผลในรูปแบบที่ถูกส่งมา เรามีคำถามเกี่ยวกับความยาว การบอกแหล่งที่มา ปรวิสัยและประเด็นกฎหมาย นอกจากนี้ เรายังกังวลว่าผู้เขียนไม่มีส่วนในกระบวนการตรวจแก้ปกติที่จะใช้กับทุกเรื่องที่รอยเตอส์จัดพิมพ์[2]

#thaistory ของมาร์แชลล์ได้รับความเห็นและการอภิปรายอย่างสำคัญ นิโคลัส ฟาร์เรลลี (Nicholas Farrelly) วุฒิบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เขียนว่า งวดแรกซึ่งจัดพิมพ์ "กลายเป็นความตื่นเต้นออนไลน์อย่างรวดเร็ว" และเสริมว่า "วิจารณญาณของเขาจะก้องในแวดวงวิเคราะห์ไทยเป็นเวลาอีกหลายปี"[3] โจชัว เคอร์แลนซิก (Joshua Kurlantzick) วุฒิบัณฑิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า งานของมาร์แชลล์ "บางทีเป็นลูกระเบิดใหญ่สุดของการรายงานเรื่องประเทศไทยในรอบหลายทศวรรษ"[4] Graeme Dobell แห่งสถาบันเพื่อนโยบายระหว่างประเทศโลวี (Lowy Institute for International Policy) อธิบาย #thaistory ว่า "การหนังสืพิมพ์ชั้นหนึ่ง"[5] และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเขียนว่า "มาร์แชลล์ช่วยผลักดันพรมแดนไปไกลขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเมื่อผู้หนึ่งมองสถานะปัจจุบันของพระมหากษัตริย์ไทย"[6]

ทางการไทยมีนโยบายไม่รับรองการมีอยู่ของโทรเลขวิกิลีกส์อันเป็นที่โต้เถียง และไม่ออกความเห็นต่อ #thaistory นักวิจารณ์ชาวไทยที่เด่นที่สุด คือ ธนง ก้านทอง บรรณาธิการจัดการของหนังสือพิมพ์เนชั่น ซึ่งตั้งคำถามถึงเวลาการจัดพิมพ์ #thaistory ซึ่งใกล้เคียงกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และอ้างว่า เป็นส่วนหนึ่งของแผนระหว่างประเทศเพื่อบั่นทอนเสถียรภาพของประเทศไทย[7] บล็อกนักโทษการเมืองในประเทศไทยให้บทปริทัศน์วิจารณ์แก่ #thaistory โดยว่า มันมุ่งสนใจบทบาทและกลไกของอภิชนเกินไป นำให้ "ลดความสนใจของสำนักงานและอำนาจของตัวแสดง ประสบการณ์และทัศนะของผู้น้อยเป็นนัย"[8]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มาร์แชลล์อยู่ในนักวิชาการและผู้ประพันธ์ระหว่างประเทศ 224 คนที่ลงนามจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพื่ออนุญาตเสรีภาพการแสดงออก[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Andrew MacGregor Marshall, "Why I decided to jeopardise my career and publish secrets", The Independent, 23 June 2011
  2. Brian Rex, "Monarchy in spotlight: tensions that threaten new turmoil in Thailand" , The Independent, 23 June 2011
  3. Nicholas Farrelly, "Why criticising the Thai royal family might be bad for your career", The Conversation, 6 July 2011
  4. Joshua Kurlantzick, "Bombshell Report on Thailand May Open Debate on Monarchy", 27 June 2011
  5. Graeme Dobell, "The danger of a Thai civil war", 5 July 2011
  6. Pavin Chachavalpongpun, "Thailand’s Yingluck Factor: Can the Lady In Red Lead?" เก็บถาวร 2012-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Indonesian Strategic Review, August 2011
  7. Thanong Khanthong, "More Confrontation is Inevitable", The Nation, 1 July 2011
  8. Political Prisoners in Thailand, "Wikileaks cables, truth and Thailand", 28 June 2011
  9. Prachatai, "Over 200 international scholars, writers, and activists support the call to reform Article 112" เก็บถาวร 2014-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1 February 2012

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]