ข้ามไปเนื้อหา

แสนไกร ศิษย์ครูอ๊อด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสนไกร ศิษย์ครูอ๊อด
เกิดสุชาติ ไกรลาศ
7 กรกฎาคม 2516 (2516-07-07)
อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
เสียชีวิต15 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (46 ปี)
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นทารกอัจฉริยะ
สถิติ
ส่วนสูง1.64 m (5 ft 4 12 in)
รูปแบบการชกมวยฝีมือ
สถิติขึ้นชก
ชกทั้งหมด73
ชนะ45
ชนะน็อก3
แพ้23
เสมอ5

แสนไกร ศิษย์ครูอ๊อด (7 กรกฎาคม 2516 – 15 ธันวาคม 2562) เป็นอดีตนักมวยไทยชื่อดังจากจังหวัดนครราชสีมา เจ้าของฉายา ทารกอัจฉริยะ เขาเป็นอดีตแชมป์สนามมวยลุมพินี 2 สมัย และเป็นนักมวยไทยที่โดดเด่นในยุคทองของมวยไทยในทศวรรษที่ 1990 เขามีชื่อเล่นว่า หมู[1]

อาชีพ

[แก้]

เริ่มต้นอาชีพ

[แก้]

แสนไกรได้รับแรงบันดาลใจในการฝึกมวยไทยเมื่ออายุเพียง 11 ปีหลังจากดูกังวาลน้อย อ. ศรีบัวลอย พี่ชายแท้ ๆ ของเขาฝึกมวยไทยอยู่กับค่ายศิษย์ครูอ๊อด ภายใต้การดูแลของครูอ๊อด ภูมิพิชัย รัตนวิศิษฐ์ เจ้าของค่ายที่เป็นครูประชาบาล โดยเขาได้ขึ้นชกมวยครั้งแรกหลังจากฝึกได้เพียง 3 เดือน ในชื่อ ไกรแสน เนตรก่อสร้าง เขาชกมวยในน้ำหนักระหว่าง 66 ถึง 77 ปอนด์ (30–35 กก.) กลายเป็นนักมวยที่มีพรสวรรค์ซึ่งโด่งดังอย่างรวดเร็วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยต้องเผชิญหน้ากับนักมวยชื่อดังระดับแชมป์ในอนาคตอย่างโรเบิร์ต แก่นนรสิงห์ และแสนเมืองน้อย ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์ หรือ แซมซั่นอีสาน[1] ซึ่งชกกับเขาทั้งหมด 13 ครั้งตลอดอาชีพการชกมวยของเขา

รูปแบบการชก

[แก้]

แสนไกรเป็นมวยจังหวะฝีมือ เขาเก่งในการควบคุมคู่ต่อสู้โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น ลูกถีบ เพื่อขัดขวางการโจมตีของคู่ต่อสู้ การทุ่มคู่ต่อสู้ ลูกเตะ ลูกเตะกวาด เป็นต้น

แสนไกรถูกอธิบายว่ามี "จิตใจที่แข็งแกร่ง" ซึ่งหมายความว่าเขาเป็นนักมวยที่ทนทาน ที่โดดเด่นคือแสนไกรมีหมัดหนักและเตะขวาหนัก ค่ายศิษย์ครูอ๊อดที่แสนไกรและพี่ชายฝึกซ้อมอยู่นั้นมีชื่อเสียงในด้านการผลิตนักมวยที่มีความอัจฉริยะ เนื่องจากครูอ๊อดเชื่อว่าความอัจฉริยะของนักมวยคืออาวุธที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา[2][3]

ช่วงรุ่งโรจน์และบั้นปลายชีวิต

[แก้]

ในปี 2531 หลังจากเข้าสู่อาชีพนักมวยไทยได้ประมาณ 4 ปี เขาได้ใช้ชื่อ แสนไกล ศิษย์ครูอ๊อด และเริ่มมาชกมวยที่กรุงเทพฯ ในตอนแรกเขาชกมวยที่สนามมวยสำโรงเป็นส่วนใหญ่จนมีน้ำหนักถึง 100 ปอนด์ จากนั้นเขาก็ย้ายไปชกที่สนามมวยลุมพินีซึ่งเขาได้ชกในศึกเพชรยินดีของวิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ หรือเสี่ยเน้า เจ้าหน้าที่สนามมวยลุมพินีพิมพ์ชื่อของเขาผิดเป็น “แสนไกร”[1]

เขาเป็นนักมวยชื่อดังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งระหว่างปี 2533 ถึง 2539 การชกของเขาทำให้เขากลายเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในพิกัด 115 ถึง 118 ปอนด์ในยุคทองของมวยไทย ในช่วงจุดสูงสุดในอาชีพของเขาในฐานะแชมป์รุ่น 118 ปอนด์ของเวทีลุมพินี เขาได้รับค่าตัวสูงสุดที่ 250,000 บาท[1] หากเปรียบเทียบกัน นักมวยมวยชื่อดังในยุคทองของมวยไทยมักมีค่าตัวอยู่ที่ 100,000 บาท และเป็นเรื่องยากที่ 1 คนจะได้ค่าตัว 200,000 บาทขึ้นไปหรือมากกว่านั้น[4]

เขาชนะและป้องกันแชมป์รุ่นแบนตั้มเวต (118 ปอนด์) ถึง 6 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2537 แสนไกรชกกับแสนเมืองน้อย ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์ 13 ครั้ง โดยแสนไกรคว้าชัย 7 ครั้ง

แสนไกรแขวนนวมหลังถูกน็อกโดยเจ้าเวหา ลูกทัพฟ้า เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2540 ชัยชนะของเขาในการชกกับวีระพล สหพรหม และการชกชิงแชมป์กับทวีศักดิ์เล็ก พลอยศักดา เจ้าของฉายาว่า "จอมซาดิสต์" ถือเป็นไฟต์ที่ดีที่สุดของเขา เขาเคยถูกจับให้เจอกับแก่นศักดิ์ ส.เพลินจิตแต่ไม่ได้ชกกัน หลังจากแขวนนวมแล้ว แสนไกรก็หันไปทำธุรกิจกับครอบครัวที่บ้านเกิดที่อำเภอบัวใหญ่ เขายังรับสอนนักมวยบ้างในบางโอกาส

ในวันที่ 15 ธันวาคม 2562 แสนไกรเสียชีวิตที่บ้านด้วยโรคแทรกซ้อนจากวัณโรค ด้วยวัยเพียง 46 ปี

สถิติมวยไทย

[แก้]
วันที่ ผล คู่ชก เวที สถานที่ รูปแบบ ยก เวลา
12 กุมภาพันธ์ 2533 ชนะ ยอดอาวุธ ส.ทศพล สนามมวยลุมพินี กรุงเทพมหานคร คะแนน
2 มีนาคม 2533 รัตนชัย ว.วลาพล
23 มีนาคม 2533 แพ้ ชแลง ศิลปกร สนามมวยลุมพินี กรุงเทพมหานคร คะแนน
25 พฤษภาคม 2533 ชนะ ชแลง ศิลปกร สนามมวยลุมพินี กรุงเทพมหานคร คะแนน
22 มิถุนายน 2535
5 สิงหาคม 2533
28 สิงหาคม 2533 สมเดช ศิษย์ อ.
21 กันยายน 2533 ชนะ แสนเมืองน้อย ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์
19 ตุลาคม 2533
6 พฤศจิกายน 2533 ชนะ เด่นทักษิณ เกียรติรัฐพล
23 พฤศจิกายน 2533

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 123 Greatest Muay Thai fighters of all time. p. 225.
  2. Muay Thai - The Heritage of Thailand and the World, Sityodtong Co. Ltd., 1997
  3. Yindeeman's Talk | EP.14 | 'ก้องพิภพ เพชรยินดี' (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-12-15
  4. Rattanasuban, Songchai, "สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์ VS โคบาล ลูกเจ้าแม่ไทรทอง" [Samransak Muangsurin VS Coban Lookchaomaesaitong], สุดยอดมวยไทย วันทรงชัย [The Best of Onesongchai Promotion] (ภาษาThai), vol. 14{{citation}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)