แม่แบบ:ลำดับเหตุการณ์ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลำดับเหตุการณ์
12 มีนาคม เริ่มการชุมนุม มีการชุมนุมย่อยในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
16-17 มีนาคม ผู้ชุมนุมเจาะเลือดไปเทที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลและที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์[1] และบ้านพักนายกรัฐมนตรี[2]
20 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมจัดขบวนรถเคลื่อนขบวนไปรอบกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสำคัญ
28-29 มีนาคม ตัวแทนรัฐบาลเจรจาเรื่องการยุบสภากับตัวแทน นปช. สองรอบ ได้ข้อสรุปว่าจะให้ยุบสภา แต่ยังไม่กำหนดเวลา
3 เมษายน ย้ายไปชุมนุมบางส่วนยังแยกราชประสงค์
7 เมษายน นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
8-9 เมษายน รัฐบาลนำกำลังทหารเข้าระงับการออกอากาศของสถานีประชาชน; กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังสถานี จนสถานีกลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง แต่กำลังทหารก็ได้เข้าระงับการออกอากาศอีก
10 เมษายน เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มีผู้เสียชีวิต 27 ศพ บาดเจ็บ 1,427 ราย[3][4][5]
16 เมษายน ตำรวจหน่วยอรินทราช 26 บุกจับกุมแกนนำ นปช. ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค แต่ไม่สำเร็จ
28 เมษายน เจ้าหน้าที่สลายขบวนผู้ชุมนุมบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีผู้บาดเจ็บกว่า 16 ศพ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย[6]
29 เมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
12 พฤษภาคม ศอฉ. ประกาศตัดระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งมวลชนรอบแยกราชประสงค์
13 - 18 พฤษภาคม ทหารกระชับพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ มีผู้เสียชีวิต 43 ศพ[7]
19 พฤษภาคม ทหารสลายการชุมนุม เสียชีวิต 15 ศพ; แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม
  1. เสื้อแดงคึกคัก เจาะเลือด ใช้เททำเนียบ
  2. ประมวลความเคลื่อนไหวกลุ่มเสื้อแดงวันที่17มี.ค.
  3. เปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต21ราย พร้อมสาเหตุการเสียชีวิต ยอดบาดเจ็บ 863ราย กระจาย22รพ.
  4. ผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะ10เม.ย.เพิ่มอีก1รวมเป็น25ราย
  5. สธ.แจง4เหตุการณ์ชุมนุมเจ็บ1,427เสียชีวิต27
  6. รพ.พระมงกุฎฯยัน"พลทหาร"ตาย1ถูกยิงที่หัว กำลังเคลื่อนศพมาชันสูตร สื่อนอกอ้างตร.บอกทหารยิงกันเอง
  7. รายชื่อผู้เสียชีวิตเหตุการณ์กระชับพื้นที่ย่านราชประสงค์ จาก ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร