แม่แบบ:พระไตรปิฎกเถรวาท
แม่แบบนี้มีส่วนประกอบของตัวเลือกย่อยมากกว่าหนึ่งตัวเลือก การใช้งานยังใช้ง่ายเหมือนแม่แบบทั่วไป แต่การแก้ไขแม่แบบนี้ควรทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีส่วนประกอบย่อยและพารามิเตอร์ย่อยต่าง ๆ |
แม่แบบ:พระไตรปิฎกเถรวาท เป็นแม่แบบแสดงรายชื่อหมวดหมู่สำคัญในพระไตรปิฎกเถรวาท ตามหลักการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์
การใช้แม่แบบ
[แก้]แม่แบบนี้สามารถใส่ในหน้าบทความได้โดย
- ใส่โค้ด {{พระไตรปิฎกเถรวาท}} ในบทความ เพื่อแสดง แม่แบบเต็ม ในหน้าบทความ
- ใส่โค้ด {{พระไตรปิฎกเถรวาท|abbrev=1}} ในบทความ เพื่อแสดง แม่แบบย่อ ในหน้าบทความ
ควาหมายรูปแบบ แผนผัง สี และรายการในแม่แบบ
[แก้]รูปแบบสีและองค์ประกอบในแม่แบบ มีลักษณะคล้ายตู้พระไตรปิฎกดังรูปถ่ายข้างล่างซ้าย
แม่แบบนี้ใช้สีน้ำเงินและสีทอง เพื่อให้คล้ายกับลักษณะหนังสือและผูกใบลานพระไตรปิฎกส่วนใหญ่ที่จารหรือจัดพิมพ์ในประเทศไทย
สาเหตุที่ใช้หลักการแบ่งพระไตรปิฎกออกเป็น 45 เล่ม เพราะว่าแม้จำนวนเล่มของพระไตรปิฎกเถรวาทจะมีมากมาย โดยมีความแตกต่างกันไปในหลาย ๆ ประเทศ เช่นคัมภีร์ธาตุกถา ประเทศพม่าจะแบ่งออกเป็น 3 เล่ม (ติกนิกาย) ซึ่งต่างจากฉบับของไทยที่มีเพียงเล่มเดียว แต่แม่แบบนี้เป็นแม่แบบในวิกิพีเดียภาษาไทย จึงใช้หลักการแบ่งตามการจัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกของไทยที่มี 45 เล่ม และถือการจัดแบ่งหมวดหมู่คัมภีร์พระไตรปิฎกตามหลักการของ สมาคมบาลีปกรณ์ แห่งสหราชอาณาจักร ที่ใช้ทั่วไปในประเทศพุทธเถรวาท[1] ซึ่งหลักการแบ่งดังกล่าวอาจไม่ตรงกับการจัดแบ่งคัมภีร์ของไทยในบางหัวข้อ แต่พึงเข้าใจว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกเถรวาทแม้ว่าจะจัดแบ่งหมวดหมู่โดยใช้หลักการเช่นไร เนื้อหาในพระไตรปิฎกเถรวาทย่อมถูกต้องตรงกันเสมอ
อักษรย่อในแม่แบบ
[แก้]อักษรย่อในแม่แบบ (หมวดหมู่อภิธรรมปิฎก) มีความหมายถึงคัมภีร์ดังต่อไปนี้
- สงฺ. = ธรรมสังคณีปกรณ์
- วิภงฺ. = วิภังคปกรณ์
- ธา. = ธาตุกถา
- ปุ. = ปุคคลบัญญัติปกรณ์
- ก. = กถาวัตถุปกรณ์
- ยมก. = ยมกปกรณ์
อนึ่ง อักษรย่อในแม่แบบดังกล่าวข้างต้น ใช้เพื่อสามารถแบ่งชั้นหนังสือในแม่แบบให้สวยงามเท่านั้น อักษรย่อที่ใช้ในแม่แบบดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องตามหลักการอ้างอิงคัมภีร์ที่ใช้ทั่วไปในการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งควรเข้าใจว่าหลักการอ้างอิงอักษรย่อบอกนามคัมภีร์ในแม่แบบดังกล่าว ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการต้องเป็นดังนี้
- อภิ. สงฺ. = ธรรมสังคณีปกรณ์
- อภิ. วิ. = วิภังคปกรณ์
- อภิ. ธา. = ธาตุกถา
- อภิ. ปุ. = ปุคคลบัญญัติปกรณ์
- อภิ. ก. = กถาวัตถุปกรณ์
- อภิ. ย. = ยมกปกรณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เสนาะ ผดุงวัตร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙
คู่มือการใช้งานที่ปรากฏด้านบนนี้ดึงมาจาก แม่แบบ:พระไตรปิฎกเถรวาท/doc (แก้ | ประวัติ) ผู้เขียนสามารถทำการทดลองได้ที่กระบะทราย (สร้าง | คัดลอก) และชุดทดสอบ (สร้าง) ของแม่แบบนี้ โปรดเพิ่มหมวดหมู่ไปที่หน้าย่อย /doc หน้าย่อยของแม่แบบนี้ |