ข้ามไปเนื้อหา

ทีฆนิกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม

    พระวินัยปิฎก    
   
                                       
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
               
   
    พระสุตตันตปิฎก    
   
                                                      
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
                     
   
   
                                                                     
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
                           
   
    พระอภิธรรมปิฎก    
   
                                                           
สงฺ วิภงฺ ธา
ปุ.
กถา ยมก ปัฏฐานปกรณ์
                       
   
         

ทีฆนิกาย เป็นนิกายแรกในพระสุตตันตปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร ครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 9-11 แบ่งเป็น 3 วรรค คือ [1]

  1. สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว 13 สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล[1] เป็นต้น
  2. มหาวรรค มีพระสูตรยาว 10 สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย มหา เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
  3. ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว 11 สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร และมีอีกหลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร สังคีติสูตร [1] เป็นต้น


พระสูตรในหมวดสีลขันธวรรค

[แก้]
ลำดับ ชื่อพระสูตร คำอธิบาย
1 พรหมชาลสูตร[2] ว่าด้วยศีลทั้งหลาย คือจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล อันเป็นแนวทางการปฏิบัติตนของพระภิกษุ นอกจากนี้ยังทรงตรัสถึงทัศนะทางปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติของลัทธิต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาล ทั้งหมด 62 ลัทธิ หรือที่เรียกว่า ทิฏฐิ 62 ประการ โดยพวกหนึ่งถือสัสสตทิฐิ ส่วนอีกพวกหนึ่งอุจเฉททิฐิ ขณะที่พุทธศาสนาเป็นมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่ใช่ทั้งสองอย่างข้างต้น
2 สามัญญผลสูตร[3] พระเจ้าอชาตศัตรูกราบทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับประโยชน์ของการออกบวชเป็นสมณะ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงการขจัดนิวรณ์ และการบรรลุอรหันตผล
3 อัมพัฏฐสูตร[4] อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ ถูกส่งให้ไปค้นหาว่าพระพุทธเจ้ามีมหาปุริสลักขณะครบทั้ง 32 ประการหรือไม่ แต่เมื่อไปถึงแล้วได้แสดงอาการดูหมิ่น ด้วยถือว่าตนอยู่ในวรรณะสูงกว่า พระพุทธเจ้าทรงดัดสันดานมานพหนุ่ม โดยเผยว่าพระองค์ต่างหากที่อยู่ในวรรณที่สูงกว่า จากนั้นก็แสดงธรรมโดยมีเนื้อหาว่า บุคคลทั้งหลายย่อมประเสริฐหรือด้อยกว่ากันโดยทางธรรมเท่านั้นมิใช่โดยวรรณะ
4 โสณทัณฑสูตร[5] บทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับโสณทัณฑพราหมณ์ว่าด้วยคุณสมบัติที่ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ได้
5 กูฏทันตสูตร บทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับกูฏทันตพราหมณ์ว่าด้วยวิธีการบูชาที่ถูกต้อง
6 มหาลิสูตร พระพุทธเจ้าตอบปัญหาที่ว่าเหตุใดพระภิกษุบางรูปจึงได้ทิพยจักขุแต่มิได้ทิพยโสต โดยทรงมีพระพุทธาธิบายว่าขึ้นอยู่กับแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานว่ามุ่งเอาสิ่งใดเป็นสำคัญ
7 ชาลิยสูตร เรื่องของมัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก
8 มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยการบันลือสีหนาท คือการประกาศความองอาจในธรรม ของพระพุทธเจ้า
9 โปฏฐปาทสูตร[6] เรื่องปริพาชกโปฏฐปาทะ
10 สุภสูตร เรื่องสุภมาณพ
11 เกวัฏฏสูตรร เรื่องนายเกวัฏฏ (ชาวประมง)
12 โลหิจจสูตร[7] 'เรื่องโลหิจจพราหมณ์
13 เตวิชชสูตร ว่าด้วยมรรคของการเข้าถึงพรหม

อ้างอิง

[แก้]
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
  1. 1.0 1.1 1.2 พระสุตตันตปิฎก จาก 84000.org
  2. "พรหมชาลสูตร".
  3. "สามัญญผลสูตร".
  4. "อัมพัฏฐสูตร".
  5. "โสณทัณฑสูตร".
  6. "โปฏฐปาทสูตร".
  7. "โลหิจจสูตร".