ข้ามไปเนื้อหา

แมร์แยม มีร์ซอฆอนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมร์แยม มีร์ซอฆอนี
เปอร์เซีย: مریم میرزاخانی
มีร์ซอฆอนีขณะเข้ารับรางวัลเหรียญฟีลดส์ที่กรุงโซลใน ค.ศ. 2014
เกิด12 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
เตหะราน จักรวรรดิอิหร่าน
เสียชีวิต14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (40 ปี)
สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอิหร่าน[1][2]
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาคณิตศาสตร์
สถาบันที่ทำงาน

แมร์แยม มีร์ซอฆอนี (เปอร์เซีย: مریم میرزاخانی; อังกฤษ: Maryam Mirzakhani) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิหร่าน[3][4][5][1] และศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[6][7][8] เธอเป็นผู้หญิงคนแรกและชาวอิหร่านคนแรกที่ได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์

วัยเด็กและการศึกษา

[แก้]

เธอเคยเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศสองครั้ง ได้แก่ พ.ศ. 2537 ที่ฮ่องกงและ พ.ศ. 2538 ที่นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา และได้รับรางวัลเหรียญทองทั้งสองครั้ง โดยในครั้งแรกที่ฮ่องกงเธอทำคะแนนได้ 41 คะแนนจาก 42 คะแนน ส่วนครั้งที่สองที่แคนาดาเธอได้คะแนนเต็ม[9]

พ.ศ. 2542 มีร์ซอฆอนีจบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแชรีฟ (Sharif University of Technology) และเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน พ.ศ. 2547 โดยมีที่ปรึกษาได้แก่เคอร์ทิส ที. แมกมัลเลนซึ่งเคยได้รับเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2541 [10] ขณะศึกษาที่ฮาร์วาร์ดเธอเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนที่มุ่งมั่นและไม่หยุดตั้งคำถาม แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ภาษาแม่ของเธอก็ตาม เธอมักจดบันทึกเป็นภาษาเปอร์เซีย[11]

ผลงานวิชาการ

[แก้]

เมื่อจบปริญญาเอก เธอเข้าทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันคณิตศาสตร์เคลย์และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันก่อนจะไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดใน พ.ศ. 2552[12]

นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2557 มีร์ซอฆอนีในภาพกำลังอุ้มลูกสาวของเธออยู่

มีร์ซอฆอนีได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2557 จากงานวิจัยเกี่ยวกับผิวรีมันและปริภูมิมอดุลัสของผิวรีมัน[13] ซึ่งเธอเป็นผู้หญิงคนแรกและชาวอิหร่านคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

เธอนิยามตัวเองว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ "ช้า" เธอเชื่อว่าต้องทุ่มเทและตั้งใจเพื่อที่จะได้เห็นความงามของคณิตศาสตร์ ขณะที่เธอกำลังขบคิดปัญหา เธอจะวาดรูปการ์ตูนแล้วทดสมการคณิตศาสตร์ที่เธอคิดรอบตัวการ์ตูนที่เธอวาด ลูกสาวของเธอใช้คำว่า "วาดภาพ" เมื่อพูดถึงวิธีการทำงานของมีร์ซอฆอนี[14][15]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

มีร์ซอฆอนีสมรสกับยัน ว็อนดราก นักวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎีและนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ชาวเช็ก[16][17] และมีลูกสาวหนึ่งคนได้แก่อานาฮิตา[18]

การเสียชีวิต

[แก้]

พ.ศ. 2556 แพทย์ได้ตรวจพบว่าเธอเป็นโรคมะเร็งเต้านม[19] ก่อนจะลุกลามไปยังกระดูกและตับในอีก 3 ปีถัดมา[14][20] และเสียชีวิตในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ด้วยวัย 40 ปี[14][21][5][22]

ประธานาธิบดีแฮแซน โรว์ฮอนีแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้กล่าวสดุดีและไว้อาลัย โดยมีใจความว่ามีร์ซอฆอนีเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม เป็นผู้ที่ทำให้ชื่อเสียงของอิหร่านในวงการวิชาการเป็นที่รู้จัก และเป็นผู้นำทางให้ผู้หญิงชาวอิหร่านกล้าและมุ่งมั่นที่จะแสดงความสามารถของตนในเวทีสากล[23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Mirzakhani, Maryam. "Curriculum Vitae" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 November 2005. สืบค้นเมื่อ 13 August 2014.
  2. Valette, Alain. "The Fields Medalists 2014" (PDF). Neuchâtel, Switzerland: Institut de mathématiques, Université de Neuchâtel. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  3. "وبسایت رسمی مریم میرزاخانی". mmirzakhani.com (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-08. สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.
  4. "Maryam Mirzakhani, first woman to win maths' Fields Medal, dies". BBC News. bbc.com. 2014-08-12. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.
  5. 5.0 5.1 Chang, Kenneth (16 July 2017). "Maryam Mirzakhani, only woman to win a Fields Medal, dies at 40". The New York Times.
  6. Mirzakhani, Maryam (2007). "Weil-Petersson volumes and intersection theory on the moduli space of curves" (PDF). Journal of the American Mathematical Society. 20 (1): 1–23. Bibcode:2007JAMS...20....1M. doi:10.1090/S0894-0347-06-00526-1. MR 2257394.
  7. Mirzakhani, Maryam (January 2007). "Simple geodesics and Weil-Petersson volumes of moduli spaces of bordered Riemann surfaces". Inventiones Mathematicae. 167 (1): 179–222. Bibcode:2006InMat.167..179M. doi:10.1007/s00222-006-0013-2. ISSN 1432-1297.
  8. "Report of the President to the Board of Trustees". Stanford University. 9 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 12 August 2014.
  9. "International Mathematical Olympiad". มูลนิธิคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. "Maryam Mirzakhani". The Mathematics Genealogy Project. Genealogy.math.ndsu.nodak.edu. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  11. "Maryam Mirzakhani, Stanford mathematician and Fields Medal winner, dies". news.stanford.edu. 2017-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  12. Juris, Yvonne (16 July 2017). "Maryam Mirzakhani, first woman to receive the prestigious Fields Medal, dies at the age of 40 after breast cancer battle". People Magazine.
  13. "Fields Medals 2014 | International Mathematical Union (IMU)". สหภาพคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 Myers, Andrew; Carey, Bjorn (15 July 2017). "Maryam Mirzakhani, Stanford mathematician and Fields Medal winner, dies". Stanford News. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.
  15. Jacobson, Howard (29 July 2017). "The world has lost a great artist in mathematician Maryam Mirzakhani". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  16. "بیوگرافی مریم میرزاخانی؛ ستاره پرفروغ دنیای ریاضیات [Biography Maryam Mirzakhani; the best-selling star of the world of mathematics]" (ภาษาเปอร์เซีย). Zoomit. 24 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  17. "Jan Vondrák, CV" (PDF). Stanford University. สืบค้นเมื่อ 14 July 2017.
  18. "A Tenacious Explorer of Abstract Surfaces", simonsfoundation.org. Retrieved 13 April 2014.
  19. "PressTV-Iranian math genius battles cancer at US hospital". Presstv.ir. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  20. France-Presse, Agence (15 July 2017). "Sorrow as Maryam Mirzakhani, the first woman to win mathematics' Fields Medal, dies aged 40". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  21. "Maryam Mirzakhani died" (ภาษาเปอร์เซีย). Mehr news Agancy. 15 July 2017.
  22. "مریم میرزاخانی، ریاضیدان برجسته ایرانی درگذشت [Maryam Mirzakhani, a prominent Iranian mathematician, dies]". BBC News فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). BBC Persian. 15 July 2017. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  23. "Iranian math genius Mirzakhani passes away". 15 July 2017.