แผ่นอามูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นอามูร์
แผ่นอามูร์
ประเภทแผ่นรอง
การเคลื่อนตัว1ทิศใต้
อัตราเร็ว110 มม./ปี
ลักษณะภูมิศาสตร์เกาหลี, แมนจูเรีย, ทะเลสาบไบคาล
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา

แผ่นอามูร์ (อังกฤษ: Amurian Plate หรือ อังกฤษ: Amur Plate) บางครั้งถูกเรียกว่า แผ่นจีน (อังกฤษ: China Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดเล็กที่อยู่ในซีกโลกเหนือด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่แมนจูเรีย คาบสมุทรเกาหลี ทะเลเหลือง และดินแดนปรีมอร์สกี แต่เดิมถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชีย แผ่นอามูร์ในปัจจุบันนี้โดยทั่วไปถือว่าเป็นแผ่นที่แยกออกจากแผ่นยูเรเซีย ซึ่งมีการเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้เช่นเดียวกับแผ่นยูเรเซีย[1] ชื่อของแผ่นนี้ตั้งขึ้นตามแม่น้ำอามูร์ ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างรัสเซียตะวันออกไกลและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน โดยถูกล้อมรอบทางเหนือ ตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ ด้วยแผ่นยูเรเซีย ส่วนด้านตะวันออกติดกับแผ่นโอค็อตสค์ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดกับแผ่นทะเลฟิลิปปินตามแนวร่องซูรูงะและร่องนันไก แผ่นโอกินาวะ และแผ่นแยงซี[2]

เขตเขาทรุดไบคาล (Baikal Rift Zone) ถูกพิจารณาให้เป็นขอบเขตระหว่างแผ่นอามูร์และแผ่นยูเรเซีย จากการวัดด้วยจีพีเอสชี้ให้เห็นว่าแผ่นทั้งสองนั้นมีการหมุนทวนเข็มนาฬิกาอย่างช้า ๆ

แผ่นอามูร์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ถังชาน พ.ศ. 2519 ในประเทศจีนด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Amurian Plate". Eurasiatectonics.weebly.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-21.
  2. Yu. F. Malyshev, et. al. Deep structure of the Amur lithospheric Plate border zone.