แผ่นแยงซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นแยงซี
แผ่นแยงซี
ประเภทแผ่นรอง
การเคลื่อนตัว1ทิศใต้-ทิศตะวันออก
อัตราเร็ว115 มม./ปี
ลักษณะภูมิศาสตร์ประเทศจีน
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา

แผ่นแยงซี (อังกฤษ: Yangtze Plate) หรือ เศษบล็อกจีนใต้ (อังกฤษ: South China Block) หรือ แผ่นย่อยจีนใต้ (อังกฤษ: South China Subplate) ประกอบด้วยส่วนใหญ่ของภาคใต้ของประเทศจีน ทางตะวันออกแยกเป็นแผ่นโอกินาวะโดยร่องแยกที่เกิดขึ้นเป็นร่องโอกินาวะซึ่งเป็นแอ่งโค้งด้านหลัง ทางใต้ติดกับแผ่นซุนดา และทางเหนือกับทางตะวันตกติดกับแผ่นยูเรเชีย โดยมีรอยเลื่อนหลงเหมินชานเป็นขอบทางด้านหลัง ซึ่งเป็นจุดเกิดของแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551[1]

แผ่นแยงซีเกิดจากการแยกตัวออกจากกัน (disaggregation) ของมหาทวีปโรดิเนียเมื่อ 750 ล้านปีก่อนในมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก โดยภาคใต้ของประเทศจีนลอยออกจากมหาทวีปกอนด์วานาในยุคไซลูเรียน ในระหว่างการเกิดมหาทวีปแพนเจีย ภาคใต้ของประเทศจีนมีที่ขนาดเล็กกว่า ซึ่งแยกตัวอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกของมหาทวีปได้เคลื่อนตัวโค้งขึ้นไปทางเหนือ ในยุคไทรแอสซิก แผ่นแยงซีได้ชนเข้ากับแผ่นจีนเหนือ ทำให้แผ่นแยงซีเชื่อมเข้ากับมหาทวีปแพนเจีย และเกิดเป็นแอ่งเสฉวนขึ้น ในมหายุคซีโนโซอิกแผ่นแยงซีได้รับอิทธิพลจากการชนกันของแผ่นอินเดียและแผ่นยูเรเชีย ทำให้เกิดการยกตัวขึ้นของภูเขาหลงเหมิน[2] ส่วนการเคลื่อนตัวทางใต้นั้นถูกปรับเข้าไปตามแนวของรอยเลื่อนแม่น้ำแดง

อ้างอิง[แก้]

  1. "汶川8.0级地震成因分析 (Cause Analysis of the M8.0 Wenchuan earthquake)" (ภาษาจีน). China Earthquake Administration. 2008-05-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-09-07.
  2. JIA ChengZao, LI BenLiang, ZHANG XingYang & LI ChuanXin (November 2007). "Formation and evolution of the Chinese marine basins". Chinese Science Bulletin. 52: 1–11. doi:10.1007/s11434-007-6012-x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)