แทคีออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Alt text
เพราะ แทคีออน มักจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นมันใกล้เข้ามา หลังจากที่ แทคีออน ได้วิ่งผ่านเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเราจะสามารถมองเห็นภาพสองภาพของมันปรากฏขึ้นและแยกย้ายออกจากกันไปในทิศทางตรงข้าม

แทคีออน (อังกฤษ: Tachyon /ˈtækiˌɒn/) คืออนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วกว่าแสง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบอย่างเป็นทางการ [1]ผู้เสนอแนวคิดแทคีออนคือ โอ.เอ็ม. บิลานิอุก (O.M. Bilanuik) และ อี.ซี.จี. ซูดาร์ซาน (E.C.G. Sudarshan) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย และต่อมาปี พ.ศ. 2510 เจอรัลด์ ฟีนเบิร์ก (Gerald Feinberg) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ตั้งชื่อ "แทคีออน" โดยใชศัพท์ภาษากรีก Tachys ที่แปลว่าเร็ว Tachyon จึงแปลว่า "อนุภาคเร็ว"

แทคีออนในทฤษฎีเชิงสัมพัทธ์[แก้]

ในสัมพัทธภาพพิเศษอนุภาคที่เร็วกว่าแสงจะมีอวกาศ-เสมือน (space-like) ที่มีสี่โมเมนตัม (four-momentum),[2]

มวล[แก้]

ในทฤษฎีความไม่แปรเปลี่ยนของลอเรนทซ์ (Lorentz invariant theory), สูตรเดียวกับที่นำไปใช้กับอนุภาคที่ช้ากว่าแสงปกติ (บางครั้งเรียกว่า "แบรดดิออน" (bradyons) ในการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับแทคีออน) นอกจากนี้ยังจะต้องนำไปใช้กับแทคีออนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์พลังงาน-โมเมนตัม (energy–momentum relation) ก็คือ:

(โดยที่ P คือ โมเมนตัมเชิงสัมพัทธ์ของ แบรดดริออน และ m คือ มวลนิ่งของมัน) ยังควรจะนำมาประยุกต์ใช้พร้อมกับสูตรสำหรับพลังงานโดยรวมทั้งหมดของอนุภาค:

สมการนี้แสดงให้เห็นว่าพลังงานทั้งหมดของอนุภาค (แบรดดิออน หรือ แทคีออน) จะประกอบไปด้วยการสนับสนุนจากมวลนิ่งของ ( "มวล-พลังงานนิ่ง") (rest mass–energy) และผลจากการเคลื่อนที่, และพลังงานจลน์ของมัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ชัยวัตน์ คุประตกุล, "สื่อภาษาวิทยาศาสตร์", นิตยสารสารคดี ฉบับเดือน เมษายน พ.ศ. 2538, หน้า 44.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Feinberg67