แซม วอลตัน
แซม วอลตัน | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 29 มีนาคม ค.ศ. 1918 คิงฟิชเชอร์ รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐ |
เสียชีวิต | 5 เมษายน ค.ศ. 1992 (74 ปี) ลิตเทิลร็อก รัฐอาร์คันซอ สหรัฐ |
สุสาน | สุสานเบนตันวิล |
สัญชาติ | อเมริกัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมิสซูรี (วท.บ.) |
อาชีพ | ผู้ก่อตั้งวอลมาร์ต และแซมส์คลับ |
คู่สมรส | เฮเลน ร็อบสัน (สมรส ค.ศ. 1943) |
บุตร | |
ญาติ |
|
วิชาชีพทางทหาร | |
รับใช้ | ![]() |
บริการ/ | ![]() |
ประจำการ | ค.ศ. 1942–1945 |
ชั้นยศ | ![]() |
หน่วย | เหล่าทหารการข่าว |
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ซามูเอล มัวร์ วอลตัน (อังกฤษ: Samuel Moore Walton; 29 มีนาคม ค.ศ. 1918 – 5 เมษายน ค.ศ. 1992) เป็นนักธุรกิจและผู้ประกอบการชาวอเมริกันที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการก่อตั้งร้านค้าปลีกวอลมาร์ต และแซมส์คลับ ซึ่งวอลมาร์ตสโตส์ อิงก์. เติบโตขึ้นจนกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยรายรับ ตลอดจนบริษัทว่าจ้างเอกชนรายใหญ่ที่สุดในโลก[1] รวมถึงวอลตันเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาเป็นระยะเวลาหนึ่ง[2]
ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]
ซามูเอล มัวร์ วอลตัน เป็นลูกของทอมัส กิบสัน วอลตัน และแนนซี ลี โดยเกิดที่คิงฟิชเชอร์ รัฐโอคลาโฮมา เขาอาศัยอยู่ที่นั่นกับพ่อแม่ของเขาในฟาร์มจนถึง ค.ศ. 1923 อย่างไรก็ตาม การทำฟาร์มไม่ได้ให้เงินเพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว และทอมัส วอลตัน ก็ไปจำนองฟาร์ม เขาทำงานให้แก่วอลตันมอร์กิจคอมปานีของพี่ชาย ซึ่งเป็นตัวแทนของเมโทรโพลิทันไลฟ์อินชัวแรนซ์[3][4] ที่เขายึดทรัพย์สินในฟาร์มในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[5]
เขาและครอบครัว (ปัจจุบันมีลูกชายอีกคนคือเจมส์เกิดใน ค.ศ. 1921) ได้ย้ายจากรัฐโอคลาโฮมา พวกเขาย้ายจากเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งเป็นเวลาหลายปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในรัฐมิสซูรี ขณะเรียนเกรดแปดในเชลไบนา รัฐมิสซูรี แซมกลายเป็นลูกเสืออินทรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐ[6] ซึ่งในวัยผู้ใหญ่ วอลตันได้รับรางวัลลูกเสืออินทรีดีเด่นจากลูกเสือแห่งอเมริกา[7]
ในที่สุด ครอบครัวนี้ก็ย้ายไปโคลัมเบีย รัฐมิสซูรี เมื่อเติบโตขึ้นมาในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เขาทำงานบ้านเพื่อช่วยให้ครอบครัวของเขาได้รับผลตอบแทนทางการเงินเหมือนเช่นเคยในขณะนั้น เขารีดนมวัวของครอบครัว, บรรจุขวดส่วนเกิน และขับรถส่งให้ลูกค้า หลังจากนั้น เขาจะจัดส่งหนังสือพิมพ์โคลัมเบียเดลีทริบูนในงานประจำ นอกจากนี้ เขายังขายการสมัครสมาชิกนิตยสาร[8] เมื่อสำเร็จการศึกษาจากเดวิด เอช. ฮิกแมน ไฮสกูล ในโคลัมเบีย เขาได้รับการโหวตให้เป็น "เด็กชายที่เก่งกาจที่สุด"
หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับไฮสกูล วอลตันตัดสินใจเข้าเรียนในวิทยาลัย โดยหวังว่าจะหาวิธีที่ดีกว่าในการช่วยเลี้ยงดูครอบครัวของเขา เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซูรีในฐานะนักเรียนนายร้อยโครงการฝึกกำลังพลสำรอง ในช่วงเวลานี้ เขาทำงานแปลก ๆ หลายอย่าง รวมทั้งบริกรเพื่อแลกกับอาหาร นอกจากนี้ ในระหว่างที่เขาอยู่ในวิทยาลัย วอลตันได้เข้าร่วมคณะซีตาพีของสมาคมบีตาทีตาไพ นอกจากนี้ เขายังได้รับการคัดเลือกจากคิวอีบีเอช ซึ่งเป็นสมาคมลับที่มีชื่อเสียงในวิทยาเขตที่ให้เกียรตินักศึกษาชายชั้นปีสุดท้ายระดับสูง และสมาคมเกียรติยศทางทหารแห่งชาติอย่างสแคบเบิร์ดแอนด์เบลด นอกจากนี้ วอลตันยังดำรงตำแหน่งประธานบูรอลไบเบิลคลาส ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาจำนวนมากจากมหาวิทยาลัยมิสซูรีและวิทยาลัยสตีเฟนส์[9] เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ. 1940 เขาได้รับเลือกให้เป็น "ประธานถาวร" ของรุ่น[10]
ยิ่งกว่านั้น เขายังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าเขาเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยว่าการที่เด็ก ๆ จะช่วยจัดหาบ้านให้ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขา โดยเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ วอลตันตระหนักดีขณะรับใช้ในกองทัพ ว่าเขาต้องการเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกและทำธุรกิจด้วยตัวเอง[11]
วอลตันเข้าทำงานที่เจ. ซี. เพนนีย์ ในตำแหน่งผู้บริหารฝึกหัดที่ดิมอยน์ รัฐไอโอวา[10] สามวันหลังจากสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย[8] โดยจ่ายเงินให้เขาในตำแหน่งนี้ 75 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งวอลตันใช้เวลาประมาณ 18 เดือนกับเจ. ซี. เพนนีย์[12] เขาลาออกใน ค.ศ. 1942 โดยความมุ่งหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็นทหารเพื่อรับราชการในสงครามโลกครั้งที่สอง[8] ในระหว่างนี้ เขาได้ทำงานที่โรงงานอาวุธยุทโธปกรณ์ของดูปองท์ ใกล้ทัลซา รัฐโอคลาโฮมา หลังจากนั้นไม่นาน วอลตันได้เข้าร่วมกองทัพในเหล่าทหารการข่าวสหรัฐ โดยควบคุมดูแลความปลอดภัยที่โรงงานเครื่องบินและค่ายเชลยศึก ในตำแหน่งนี้เขาเข้าประจำการที่ฟอร์ตดักลาส ในซอลต์เลกซิตี รัฐยูทาห์ ซึ่งในที่สุดเขาก็ไปถึงยศร้อยเอก
ร้านแรก[แก้]
ใน ค.ศ. 1945 หลังจากออกจากกองทัพ วอลตันเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารร้านลักษณะหลากหลายร้านแรกของเขาเมื่ออายุ 26 ปี[13] ด้วยความช่วยเหลือจากเงินกู้ยืมจำนวน 20,000 ดอลลาร์จากพ่อตาของเขา บวกกับเงินอีก 5,000 ดอลลาร์ที่เขาได้รับจากการทำงานในกองทัพ วอลตันได้ซื้อร้านเบน แฟรงกลิน ในนิวพอร์ต รัฐอาร์คันซอ[8] ซึ่งร้านนี้เป็นแฟรนไชส์ของเครือบัตเลอร์บราเธอส์
วอลตันเป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดจำนวนมากที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของเขา ตามความเห็นของวอลตันคือ หากเขาเสนอราคาที่ดีหรือดีกว่าร้านค้าในเมืองที่อยู่ห่างออกไป 4 ชั่วโมงโดยรถยนต์ ผู้คนจะซื้อสินค้าแถวบ้าน[14] วอลตันทำให้แน่ใจว่าชั้นวางมีสต็อกสินค้าจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ ห้างสรรพสินค้าแห่งที่สองของเขาคือห้างสรรพสินค้า "อีเกิล" เล็ก ๆ ซึ่งอยู่ถัดจากร้านเบน แฟรงกลิน ร้านแรกของเขา และอยู่ติดกับคู่แข่งหลักในนิวพอร์ต
ด้วยปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจาก 80,000 ดอลลาร์เป็น 225,000 ดอลลาร์ในสามปี วอลตันจึงได้รับความสนใจจากพี. เค. โฮมส์ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งครอบครัวของเขามีประวัติด้านการค้าปลีก[15] โดยการชื่นชมความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของแซม และปรารถนาที่จะเรียกคืนร้านค้า (รวมทั้งสิทธิ์แฟรนไชส์) สำหรับลูกชายของเขา ซึ่งเขาได้ปฏิเสธที่จะต่ออายุสัญญาเช่า การขาดตัวเลือกในการต่ออายุ ประกอบกับค่าเช่าที่สูงเกินควรถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย เป็นบทเรียนทางธุรกิจช่วงแรก ๆ ของวอลตัน และแม้จะบังคับให้วอลตันออกไป แต่โฮมส์ก็ซื้อสินค้าคงคลังและอุปกรณ์ตกแต่งของร้านนี้ในราคา 50,000 ดอลลาร์ ซึ่งวอลตันกล่าวว่าเป็น "ราคายุติธรรม"[16]
เมื่อเหลือสัญญาเช่าหนึ่งปี แต่ร้านขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขา, เฮเลน ภรรยาของเขา และพ่อตาของเขาสามารถเจรจาซื้อที่ตั้งแห่งใหม่บนจัตุรัสกลางเมืองของเบนตันวิล รัฐอาร์คันซอ วอลตันเจรจาซื้อร้านลดราคาเล็ก ๆ และกรรมสิทธิ์ในอาคาร โดยได้รับสัญญาเช่า 99 ปี เพื่อขยายเป็นร้านข้าง ๆ ซึ่งเจ้าของร้านข้าง ๆ ปฏิเสธถึงหกครั้ง และวอลตันได้ยอมแพ้ต่อเบนตันวิล อันเป็นช่วงที่พ่อตาของเขาไปเยี่ยมเจ้าของร้านเป็นครั้งสุดท้าย และจ่ายเงิน 20,000 ดอลลาร์เพื่อประกันสัญญาเช่าโดยที่แซมไม่รู้ ซึ่งเขามีเหลือพอจากการขายร้านแรกเพื่อปิดข้อตกลง และคืนเงินแก่พ่อของเฮเลน กระทั่งพวกเขาเปิดกิจการโดยมีการปรับปรุงการขายหนึ่งวันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1950[15]
ก่อนที่เขาจะซื้อร้านเบนตันวิล ได้มียอดขาย 72,000 ดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 105,000 ดอลลาร์ในปีแรก จากนั้นเป็น 140,000 ดอลลาร์ และ 175,000 ดอลลาร์[17]
เครือร้านเบน แฟรงกลิน[แก้]
เมื่อ "ไฟฟ์แอนด์ไดม์" ที่เบนตันวิลเปิดทำการใหม่ ซึ่งอยู่ห่างออกไป 220 ไมล์ ได้เหลือเวลาหนึ่งปีในการเช่าในนิวพอร์ต วอลตันหนุ่มที่ติดเงินต้องเรียนรู้ที่จะมอบหมายความรับผิดชอบ[18][19]
หลังจากประสบความสำเร็จกับร้านค้าสองแห่งในช่วงเวลาดังกล่าว (และด้วยผลกระทบจากยุคเบบีบูมหลังสงครามเต็มรูปแบบ) แซมก็กระตือรือร้นที่จะสำรวจสถานที่เพิ่มเติม และเปิดแฟรนไชส์เบน แฟรงกลิน ต่อไป (นอกจากนี้ หลังจากใช้เวลาอยู่หลังพวงมาลัยนับไม่ถ้วน และร่วมกับเจมส์ "บัด" วอลตัน น้องชายคนสนิทของเขาที่เป็นนักบินในสงคราม ซึ่งเขาได้ตัดสินใจซื้อเครื่องบินมือสองขนาดเล็กลำหนึ่ง ทั้งเขาและลูกชายของเขา จอห์น กลายเป็นนักบินที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งบันทึกสถานที่ค้นหานับพันชั่วโมง ตลอดจนขยายธุรกิจของครอบครัวในเวลาต่อมา)[18]
ใน ค.ศ. 1954 เขาได้เปิดร้านร่วมกับบัด ซึ่งเป็นน้องชายของเขา ที่ศูนย์การค้า ณ รัสกินไฮส์ ชานแคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี ด้วยความช่วยเหลือจากน้องชายและพ่อตาของเขา แซมได้เปิดร้านสารพันสินค้าใหม่ ๆ จำนวนมาก เขาส่งเสริมให้ผู้จัดการของเขาลงทุนและถือหุ้นในธุรกิจ บ่อยครั้งมากถึง 1,000 ดอลลาร์ในร้านค้าของพวกเขา หรือร้านสาขาถัดไปที่จะเปิด (สิ่งนี้กระตุ้นให้ผู้จัดการฝึกฝนทักษะการจัดการ และเป็นเจ้าของบทบาทในสถานประกอบการดังกล่าว)[18] กระทั่งใน ค.ศ. 1962 เขาพร้อมด้วยบัด ผู้เป็นน้องชายของเขา ได้มีร้านค้า 16 แห่งในรัฐอาร์คันซอ, รัฐมิสซูรี และรัฐแคนซัส (ร้านเบน แฟรงกลิน สิบห้าแห่ง และร้านอิสระหนึ่งแห่งในเฟย์เอตต์วิลล์)[20]
ถือได้ว่าแซม วอลตัน เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการโครงการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมห่วงโซ่การค้าปลีก ซึ่งเขามีความหลงใหลในการเรียนรู้อย่างมาก เขามักจะไปเยี่ยมวอลมาร์ตทั่วประเทศโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าเพื่อเรียนรู้ว่าวิธีการใหม่ในท้องถิ่นทำงานอย่างไร และสามารถแบ่งปันแนวทางแก่วอลมาร์ตสาขาอื่น ๆ ได้ โดยในการไปเยี่ยมครั้งหนึ่ง เขารู้สึกงุนงงกับคำทักทายที่พูดว่า "สวัสดี" ที่ทางเข้าร้าน และถามเพื่อนร่วมงานว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ พนักงานต้อนรับอธิบายว่างานหลักของเขาคือกีดกันไม่ให้คนขโมยของในร้านนำสินค้าที่ยังไม่ได้ชำระเงินออกจากร้านผ่านทางทางเข้า วอลตันรู้สึกอิ่มเอมเป็นอย่างยิ่ง และได้แบ่งปันวิธีการใหม่นี้แก่ “ผู้ร่วมงาน” ตลอดสายงานของเขา[21]
วอลมาร์ตแรก[แก้]
วอลมาร์ตที่แท้จริงแห่งแรกเปิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 ในโรเจอส์ รัฐอาร์คันซอ[22] โดยเรียกว่าห้างวอล-มาร์ต ดิสเคาต์ซิตี ตั้งอยู่ที่ 719 เวสต์วอลนัตสตรีต ซึ่งเขาได้ประกาศความพยายามอย่างแน่วแน่ในการทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอเมริกา และสิ่งที่รวมอยู่ในความพยายามดังกล่าวคือความเต็มใจที่จะหาผู้ผลิตชาวอเมริกันที่สามารถจัดหาสินค้าให้แก่เครือวอลมาร์ตทั้งหมดในราคาที่ต่ำพอที่จะตอบสนองการแข่งขันจากต่างประเทศ[23]
เมื่อเครือข่ายร้านค้าของไมเออร์เติบโตขึ้น วอลตันก็ให้ความสนใจ เขารับทราบว่ารูปแบบศูนย์การค้าแบบครบวงจรของเขามีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมดั้งเดิมของไมเออร์[24] ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวทางปฏิบัติของเครือข่ายร้านค้าลดราคาของอเมริกา วอลตันตั้งร้านค้าในเมืองเล็ก ๆ ไม่ใช่เมืองใหญ่ หากต้องการอยู่ใกล้ผู้บริโภค ทางเลือกเดียวในขณะนั้นคือเปิดร้านค้าในเมืองเล็ก ๆ ซึ่งโมเดลของวอลตันมีข้อดีสองประการ ประการแรก การแข่งขันที่มีอยู่มีจำกัด และประการที่สอง หากร้านค้ามีขนาดใหญ่พอที่จะควบคุมธุรกิจในเมืองและบริเวณโดยรอบ ผู้ประกอบการค้ารายอื่นจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าสู่ตลาด[14]
ในการสร้างแบบจำลองของเขา เขาได้เน้นด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาร้านค้าภายในระยะทางขับรถหนึ่งวันจากคลังสินค้าในภูมิภาคของวอลมาร์ต และกระจายผ่านบริการขนส่งทางรถบรรทุกของตนเอง โดยการซื้อในปริมาณมากและการส่งมอบที่มีประสิทธิภาพได้เปิดโอกาสให้ขายสินค้าแบรนด์เนมลดราคา ดังนั้น การเติบโตอย่างยั่งยืน — จากร้านค้า 190 แห่งใน ค.ศ. 1977 ถึง 800 แห่งใน ค.ศ. 1985 — จึงประสบความสำเร็จ[10]
ด้วยขนาดและอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วอลมาร์ตได้รับการตั้งข้อสังเกตว่าส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในทุกภูมิภาคที่ก่อตั้งร้านค้า ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ทั้งด้านบวกและด้านลบได้รับการขนานนามว่า "วอลมาร์ตเอฟเฟกต์"[25]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Sam Walton Biography". 7infi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2017. สืบค้นเมื่อ August 10, 2017.
- ↑ Harris, Art (1985-11-17). "America's Richest Man Lives...Here?Sam Walton, Waiting in Line At the Wal-Mart With Everybody Else". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ Walton, Sam. Sam Walton: Made in America. Random House Publishing Group. p. 4. ISBN 978-0-345-53844-4.
- ↑ Lee, Sally (2007). Sam Walton: Business Genius of Wal-Mart. Enslow Publishers, Inc. p. 13. ISBN 978-0766026926. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.
- ↑ Landrum, Gene N. (2004). Entrepreneurial Genius: The Power of Passion. Brendan Kelly Publishing. p. 120. ISBN 1895997232. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.
- ↑ Townley, Alvin (December 26, 2006). Legacy of Honor: The Values and Influence of America's Eagle Scouts. Asia: St. Martin's Press. pp. 88–89. ISBN 0-312-36653-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2006. สืบค้นเมื่อ December 29, 2006.
- ↑ "Distinguished Eagle Scouts" (PDF). Scouting.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 12, 2016. สืบค้นเมื่อ November 4, 2010.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Gross, Daniel; Forbes Magazine Staff (August 1997). Greatest Business Stories of All Time (First ed.). New York: John Wiley & Sonsf. p. 269. ISBN 0-471-19653-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2020. สืบค้นเมื่อ December 18, 2019.
- ↑ Walton, Sam. Sam Walton: Made in America. Random House Publishing Group. p. 15. ISBN 978-0-345-53844-4.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Sam Walton". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Inc. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2013. สืบค้นเมื่อ March 30, 2012.
- ↑ Walton, Sam (1992). Sam Walton, Made in America: My Story. Doubleday. pp. 5, 15, and 20.
- ↑ Walton, Sam. Sam Walton: Made in America. Random House Publishing Group. p. 18. ISBN 978-0-345-53844-4.
- ↑ "Lessons from Sam Walton: How a social-local strategy brings the human touch back to business". Hearsay Systems (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
- ↑ 14.0 14.1 Sandra S. Vance, Roy V. Scott (1994). Wal-Mart. New York: Twayne Publishers. p. 41. ISBN 0-8057-9833-1.
- ↑ 15.0 15.1 "Sam Walton". Butler Center for Arkansas Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ March 30, 2012.
- ↑ Walton & Huey, Made in America: My Story, p. 30.
- ↑ Wenz, Peter S. (2012). Take Back the Center: Progressive Taxation for a New Progressive Agenda. MIT Press. p. 60. ISBN 978-0262017886. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Walton, Sam; John Huey (1992). Made in America: My Story. New York: Doubleday. ISBN 0-385-42615-1.
- ↑ Trimble, Vance H. (1991). Sam Walton: the Inside Story of America's Richest Man. Penguin Books. ISBN 0-451-17161-6. ISBN 978-0-451-17161-0
- ↑ Kavita Kumar (September 8, 2012). "Ben Franklin store, a throwback to the five-and-dime, finally closes". St. Louis Post-Dispatch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2014. สืบค้นเมื่อ July 26, 2014.
- ↑ Diamond, Arthur M. (2019). Openness to Creative Destruction- Sustaining Innovative Dynamism. USA & UK: Oxford University Press. p. 25.
- ↑ Gross, Daniel; Forbes Magazine Staff (1997). Greatest Business Stories of All Time (First ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc. p. 272. ISBN 0-471-19653-3.
- ↑ Yohannan T. Abraham; Yunus Kathawala; Jane Heron (December 26, 2006). "Sam Walton: Walmart Corporation". The Journal of Business Leadership, Volume I, Number 1, Spring 1988. American National Business Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2002. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
- ↑ "Fred Meijer, West Michigan billionaire grocery magnate, dies at 91". MLive.com. November 26, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 26, 2011.
- ↑ Fishman, Charles (2006). How The World's Most Powerful Company Really Works – and How It's Transforming the American Economy. New York: The Penguin Press, Inc.
แหล่งที่มา[แก้]
- Trimble, Vance H. (1991). Sam Walton: the Inside Story of America's Richest Man. Penguin Books. ISBN 978-0-451-17161-0.
- Walton, Sam; John Huey (1992). Made in America: My Story. New York: Doubleday. ISBN 0-385-42616-X.
อ่านเพิ่ม[แก้]
- Bianco, Anthony (2006). The Bully of Bentonville: how the high cost of Wal-Mart's everyday low prices is hurting America. New York: Currency/Doubleday. ISBN 0-385-51356-9.
- Scott, Roy Vernon; Vance, Sandra Stringer (1994). Wal-Mart: A History of Sam Walton's Retail Phenomenon. ISBN 0-8057-9833-1.
- Fishman, C. (2006). The Wal-Mart Effect: How the World's Most Powerful Company Really Works – and HowIt's Transforming the American Economy. Penguin.
- Marquard, W. H. (2007). Wal-Smart: What it really takes to profit in a Wal-Mart world. McGraw Hill Professional.
- Sam Walton, Bibliography.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แซม วอลตัน |
- "Time 100 Builders & Titans: Sam Walton by John Huey". Time Magazine. December 7, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2000. สืบค้นเมื่อ March 31, 2012. at Wayback Machine
- Week Sam Walton: The King of the Discounters August 8, 2004
- Sam M. Walton College of Business, University of Arkansas Archived 2015-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แซม วอลตัน ที่ไฟน์อะเกรฟ
- Voices of Oklahoma interview, Chapters 12–16, with Frank Robson. First person interview conducted on November 2, 2009, with Frank Robson, brother-in-law of Sam Walton.