แจ็ก ชาร์ลตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แจ็ค ชาร์ลตัน)
แจ็ก ชาร์ลตัน
OBE DL
A black-and-white photo of Charlton in a long coat
A black-and-white photo of Charlton in a long coat
แจ็ก ชาร์ลตัน ในปี 1969
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม จอห์น ชาร์ลตัน[1]
วันเกิด 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1935(1935-05-08)[1]
สถานที่เกิด แอชิงตัน นอร์ทัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ
วันเสียชีวิต 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2020(2020-07-10) (85 ปี)
สถานที่เสียชีวิต แอชิงตัน นอร์ทัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ[2]
ส่วนสูง 6 ft 1 12 in (1.87 m)[3]
ตำแหน่ง เซ็นเตอร์แบ็ก
สโมสรเยาวชน
1950–1952 ลีดส์ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1952–1973 ลีดส์ยูไนเต็ด 629 (70)
ทีมชาติ
1965–1970 อังกฤษ 35 (6)
จัดการทีม
1973–1977 มิดเดิลส์เบรอ
1977–1983 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์
1984 มิดเดิลส์เบรอ (รักษาการ)
1984–1985 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
1986–1996 สาธารณรัฐไอร์แลนด์
เกียรติประวัติ
ตัวแทนของ ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ
FIFA World Cup
ชนะเลิศ 1966 England
UEFA European Championship
อันดับที่ 3 1968 Italy

ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ United Kingdom
แผนก/สังกัดกองทัพสหราชอาณาจักร
Years1953–1955
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

จอห์น ชาร์ลตัน (อังกฤษ: John Charlton; 8 พฤษภาคม 1935 – 10 กรกฎาคม 2020) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอังกฤษซึ่งเล่นในตำแหน่งกองหลัง เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติอังกฤษที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966 และคุมทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1996 โดยได้เข้าร่วมฟุตบอลโลก 2 สมัยและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1 สมัย เขาใช้เวลาทั้งอาชีพกับลีดส์ยูไนเต็ดเพียงสโมสรเดียวตั้งแต่ปี 1950 จนถึงการแขวนสตั๊ดในปี 1973 เขาช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 (1963–1964), ดิวิชัน 1 (1968–1969), เอฟเอคัพ (1969), ลีกคัพ (1968), แชริตีชีลด์ (1969), อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ (1968 และ 1971) 629 นัดของเขาในลีกจากการลงเล่นทั้งหมด 762 นัดถือเป็นสถิติของสโมสรจนถึงทุกวันนี้ เขาเป็นพี่ชายของเซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน อดีตกองหน้าระดับตำนานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นหนึ่งในเพื่อนร่วมทีมของเขาในชัยชนะนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกของอังกฤษเหนือทีมชาติเยอรมนีตะวันตกเมื่อปี 1966 ในปี 2006 กองเชียร์ของลีดส์ยูไนเต็ดโหวตให้ชาร์ลตันเป็น 1 ใน 11 ผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสโมสร[4]

เขาถูกเรียกตัวติดทีมชาติอังกฤษก่อนวันเกิดปีที่ 30 ของเขา ชาร์ลตันยิงได้ 6 ประตูจาก 35 นัดในระดับนานาชาติ และปรากฏตัวในฟุตบอลโลก 2 สมัย (1966 และ 1970) และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1 สมัย (1968) เขาเล่นในชัยชนะนัดชิงฟุตบอลโลกเหนือเยอรมนีตะวันตก 4–2 เมื่อปี 1966 และยังช่วยให้อังกฤษจบอันดับ 3 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1968 และคว้าแชมป์บริติชโฮมแชมเปียนชิป 4 สมัย เขาได้รับเลือกให้เป็นนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล ในปี 1967

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ชาร์ลตันแต่งงานกับแพ็ต เคมป์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1958 และบ็อบบีน้องชายของเขาทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าวให้กับเขา พวกเขามีลูก 3 คน: จอห์น (เกิดในเดือนมกราคม 1959), เดโบราห์ (เกิด 1961) และปีเตอร์ ซึ่งเกิดหลังจากชาร์ลตันซีเนียร์เล่นในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966 ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เขามีร้านขายเสื้อผ้า 2 แห่งในเมืองลีดส์ และต่อมาเขายังเปิดร้านค้าของสโมสรที่สนามเอลแลนด์โรด อีกด้วย[5] ชาร์ลตันเป็นชาวประมงสมัครเล่นและมีส่วนร่วมในกีฬาล่าสัตว์[6]

เสียชีวิต[แก้]

ชาร์ลตันเสียชีวิตที่บ้านของเขาในแอชิงตัน นอร์ธัมเบอร์แลนด์ บ้านเกิดของเขาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2020 ขณะอายุ 85 ปีหลังจากป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและภาวะสมองเสื่อม[2][7] ในวันรุ่งขึ้นลีดส์ยูไนเต็ดสโมสรเก่าของเขาชนะ 1–0 เหนือ สวอนซีซิตี้ โดยเป็นผู้ชนะในนาทีสุดท้าย ปาโบล เอร์นันเดซ โดมิงเกซ ผู้ทำประตูชัยอุทิศประตูของเขาให้กับชาร์ลตัน[8]

ชาร์ลตันกลายเป็นผู้เล่นคนที่ 12 จากทีมแชมป์ฟุตบอลโลกปี 1966 ที่เสียชีวิต ต่อจากเซอร์บ็อบบี มัวร์ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง (1993), อลัน บอลล์ที่เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย (2007), จอห์น คอนเนลลี (2012), รอน สปริงเก็ตต์ (2015), เจอร์รี่ เบิร์น ที่เสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ (2015), จิมมี่ อาร์มฟิลด์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (2018), เรย์ วิลสัน ที่เสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ (2018), กอร์ดอน แบงก์ส ผู้รักษาประตูมือหนึ่งที่เสียชีวิตขณะหลับ (2019), มาร์ติน ปีเตอร์ส ที่เสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์ (2019), ปีเตอร์ โบเน็ตติ ผู้รักษาประตูมือสอง (2020), นอร์แมน ฮันเตอร์ ที่เสียชีวิตจากโควิด-19 (2020) เซอร์บ็อบบี ชาร์ลตัน น้องชายของเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมชุดคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกปี 1966 เสียชีวิตจากภาวะสมองเสื่อมในปี 2023 ทำให้เซอร์เจฟฟ์ เฮิร์สต์, เทอร์รี เพน, เอียน คัลลาแกน และจอร์จ อีสต์แฮม กลายเป็นสมาชิก 4 คนของทีมชุดนี้ที่ยังมีชีวิตอยู่

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "แจ็ก ชาร์ลตัน". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2017.
  2. 2.0 2.1 Mee, Emily (11 July 2020). "England 1966 World Cup hero Jack Charlton dies at 85". Sky News. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
  3. "England Players – Jack Charlton". www.englandfootballonline.com. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
  4. "Greatest Leeds XI – Leeds United FC – LeedsUtdMAD". Leedsunited-mad.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
  5. Charlton 1996, p. 10
  6. He also hosted a television show on the shooting sports in the early 1980s titled “Jack’s Game”. Charlton 1996, p. 187
  7. "Jack Charlton: 1966 England World Cup winner dies aged 85". BBC Sport. 11 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
  8. Harrison, Jo (2020-07-13). "Pablo Hernandez explains crazy celebration, pays tribute to Jack Charlton". TEAMtalk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.

แหล่งข้อมูล[แก้]