แครมบรูว์เล
![]() | |
ชื่ออื่น | ครีมเผา, เกรมากาตาลานา, ครีมทรินิตี[1] |
---|---|
มื้อ | ของหวาน |
แหล่งกำเนิด | ฝรั่งเศส |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | อุณหภูมิห้อง |
ส่วนผสมหลัก | คัสตาร์ด, คาราเมล |
แครมบรูว์เล (ฝรั่งเศส: crème brûlée, แปลตามตัวอักษรว่า "ครีมที่ถูกเผาไหม้") เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคัสตาร์ดด้านล่าง (มักเป็นรสวานิลลา) ด้านบนเป็นชั้นคาราเมลแข็งซึ่งได้จากการเผาไหม้ของน้ำตาล เสิร์ฟที่อุณหภูมิห้อง
ประวัติ
[แก้]แครมบรูว์เลปรากฏชื่ออยู่ในตำราทำอาหารของพ่อครัวฟร็องซัว มาซียาโล (François Massialot) ฉบับปี ค.ศ. 1691[2] แต่ในตำราทำอาหารของมาซียาโล ฉบับปี ค.ศ. 1731 เรียกแครมบรูว์เลว่า "แครม็องแกลซ" หรือครีมแบบอังกฤษ (crème anglaise)[3] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของหวานชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "เบินต์ครีม" หรือครีมเผา (burnt cream) ในภาษาอังกฤษ
ส่วนในบริเตนใหญ่ มีการแนะนำแครมบรูว์เลอีกชนิดหนึ่งให้เป็นที่รู้จักในวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1879 แครมบรูว์เลชนิดนั้นจึงมีชื่อท้องถิ่นว่า "ครีมทรินิตี" (Trinity Cream) หรือ "ครีมเผาแบบเคมบริดจ์" (Cambridge burnt cream) อย่างไรก็ตาม ครีมทรินิตีก็ไม่ได้รับการคิดค้นขึ้นที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แต่อย่างใด[4] กล่าวกันว่าสูตรของครีมทรินิตีมาจากแอเบอร์ดีนไชร์ในสกอตแลนด์[5]
เกรมากาตาลานา
[แก้]ในแคว้นกาตาลุญญาของสเปนมีของหวานที่คล้ายกับแครมบรูว์เล เรียกว่า "เกรมากาตาลานา" (crema catalana, "ครีมแบบกาตาลุญญา") หรือ "เกรมากรามาดา" (crema cremada, "ครีมเผา") มักรับประทานกันในวันนักบุญโยเซฟ (19 มีนาคม) แต่ปัจจุบันหารับประทานได้ตลอดปี โดยคัสตาร์ดของเกรมากาตาลานามีส่วนผสมคือเปลือกส้มและอบเชย บางครั้งประดับด้วยสับปะรดด้านบน
การเสิร์ฟ
[แก้]
แครมบรูว์เลมักเสิร์ฟมาในถ้วยเซรามิก โดยอาจเตรียมชั้นคาราเมลแยกไว้ก่อนแล้วนำมาจัดวางบนส่วนคัสตาร์ดเมื่อจะเสิร์ฟ หรืออาจทำชั้นคาราเมลบนส่วนคัสตาร์ดโดยตรงก่อนเสิร์ฟเลยก็ได้ ในกรณีหลังนี้ จะต้องโรยน้ำตาลลงบนผิวหน้าคัสตาร์ดให้ทั่ว แล้วเผาให้ไหม้ละลายจนมีสีน้ำตาลโดยใช้ความร้อนจากเตาหรือเครื่องพ่นไฟเล็ก ๆ จากนั้นจึงปล่อยให้คาราเมลแข็งตัว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Foods of England - Burnt Cream, or Cambridge or Trinity Cream". foodsofengland.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-09-12.
- ↑ Christianne Muusers. "Recipe for Crème Brûlée, the most delicious dessert ever". Coquinaria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-13. สืบค้นเมื่อ 2015-09-12.
- ↑ Harold McGee, On Food and Cooking: The Science and Lore of the Kitchen (Simon and Schuster) 2004:97; McGee notes "An English model for 'English cream' hasn't yet been unearthed."
- ↑ "the story that crème brûlée itself was invented at the College almost certainly has no basis in fact." "Trinity Burnt Cream, Trinity College, Cambridge University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-03. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
- ↑ The story of its introduction to Trinity was published in 1908 in the Ocklye Cookery Book, as reported by Elizabeth David, Is There a Nutmeg in the House?: Essays on Practical Cooking with More Than 150 Recipes, p. 246