เอวัมเม สุตัง
เอวัมเม สุตัง (แปลว่า: ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้; บาลี: Evaṃ me sutaṃ; สันสกฤต: Evaṃ mayā śrūtaṃ) เป็นวลีขึ้นต้นของบทนำบรรทัดแรกซึ่งปรากฎในพระสูตรบาลีและสันสกฤตของศาสนาพุทธ วลีดังกล่าวปรากฏในพระสูตรว่าด้วยคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในฐานะ "เครื่องยืนยันคำสอนของพระพุทธองค์"[1][2] ในทางพุทธวิถีเชื่อว่า พระอานนท์ได้เป็นภิกษุรูปแรกที่ใช้วลีนี้เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องยืนยันพระธรรมของพระพุทธองค์ แต่นักวิชาการคัดค้านความเชื่อนี้ ซึ่งแย้งว่าวลีนี้มีความสัมพันธ์กันประโยคที่ปรากฏในพระสูตรเช่นไร และมีหลายทฤษฏีที่ขยายความวลีนี้ในมุมมองของพระสูตรนั้น ภายหลังวลีนี้ได้ปรากฏในพระสูตรของมหายานและวัชรยาน
ประวัติและการใช้
[แก้]ในพระธรรมของศาสนาพุทธ — ปรากฏวลีนี้ครั้งแรกในอรรถกถาของทีฆนิกาย โดยพระอานนท์ ภิกษุรูปแรกที่ใช้วลีนี้ระหว่างการสังคยนาครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์[3][4] ในกาลครั้งนี้มีการบัญญัติพระไตรปิฎก[4] และพระอานนท์ทำหน้าที่สังคิตี (สันสกฤต: saṃgītakāra) กล่าวคือเป็นผู้วิสัชชนาในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ระหว่างที่เป็นพุทธอุปัฏฐากให้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[5]
วลีนี้เป็นคำขึ้นต้นของประโยคที่กล่าวถึงสถานที่แสดงพระธรรมเทศนา และผู้ได้สดับพระธรรมนั้น[6] ในอรรถกถาของจีน กล่าวว่า วลีนี้ปรากฏในพระสูตรในฐานะ คำขึ้นต้นทั่วไป (จีน: 通序; พินอิน: tōngxù), เนื้อหาของประโยคถัดมาจากวลีที่กล่าวถึงองค์ประกอบของพระสูตร เรียกว่า คำขึ้นต้นเฉพาะ (จีน: 別序; พินอิน: biéxù)[7] ในพุทธพจน์ช่วงต้นบางฉบับ ได้ใช้วลีที่มีโครงสร้างเดียวกันว่า 'วุตฺตํ เหตํ ภควา' (แปลว่า: พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้; บาลี: Vutaṃ hetaṃ bhagavatā) ปรากฏในอิติวุตตกะ ขุททกนิกาย[8][9]
การตีความและการแปลศัพท์
[แก้]วลีนี้ตีความโดยพระพุทธโฆสะ พระคันถรจนาจารย์ชาวอินเดียช่วงศตวรรษที่ 5 ว่า "ยืนยันในความมีอยู่ของพุทธะ"[10] ฌ็อง ฟิลลีโยซาต์ นักภารตวิทยา (ค.ศ. 1906–82) ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายแบบเดิมว่าพระอานนท์เป็นภิกษุที่ใช้วลีนี้เป็นรูปแรก โดยแย้งว่าวลีนี้ไม่ควรนำมาเป็นคำขึ้นต้นเพื่ออธิบายถึงองค์ประกอบซึ่งปรากฏในบทแรก โดยดูเหมือนจะมีผู้แต่งเป็นการรวบรวมเพิ่มภายหลัง [11] อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบอักขระระหว่างพุทธกับเชน จอห์น โบล์ห นักวิชาการสันสกฤต (ค.ศ. 1917–84) เชื่อว่า วลีนี้เป็นการกล่าวโดยพุทธพจน์ทางตรงมากกว่าจะเป็นคำบอกเล่า[2][12]
ฌ็อง เปอร์ลูยูสกี นักภารตวิทยา (1885–1944) เชื่อว่าวลีดังกล่าวใช้เพื่อเป็นวลีขึ้นต้นเพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของพระสูตรแบบศรุติ[10] เชื่อว่าประสงค์แสดงเพื่อยกฐานะของพระธรรมในศาสนาพุทธเดียวกับพระเวทในคติพราหมณ์[10] โบสท์เห็นพ้องกับเปอร์ลูยูสกีในพัฒนาการใช้วลีดังกล่าว แต่เพื่อเป็นประจักษ์พยานของพระธรรมในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "พระธรรมคงได้โดยปราศจากการอธิบายเพิ่ม"[13] โบสท์กล่าวว่าเมื่อพระสาวกได้สดับวลี เอวัมเม สุตัง ครั้งแรกโดยพระอานนท์ ทำให้ระลึกถึงพระมหากรุณาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพลัน[13] คอนราส กลอส นักภารตวิทยา ไม่เห็นด้วยกับโบสท์ โดยอ้างพระธรรมที่ปรากฏในสองคัมภีร์จากทีฆนิกายและมัชฌิมนิกายมักขยายความถึง "... มีผู้สดับธรรมให้ฟัง" มากกว่าเป็นการเล่าด้วยตัวเอง[14] เขาคำนึงว่าวลี ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ในพระพุทธวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ย่อมไม่ได้หมายถึงสดับฟังเรื่องราวจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากพระโอษฐ์ เขาตระหนักว่าในภาษาสันสกฤตไม่ได้รับการถอดความภายในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ชีวิต[15]
เอเตียน ลาม็องต์ นักภารตวิทยา (ค.ศ. 1903–83) ค้านว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมในช่วงต้นของพระสูตรผ่านพระอานนท์[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tola & Dragonetti 1999, p. 54.
- ↑ 2.0 2.1 Brough 1950, p. 424.
- ↑ Nanayakkara 1990, p. 174.
- ↑ 4.0 4.1 Powers 2013, Evaṃ mayā śrutaṃ ekasmin samaye.
- ↑ Buswell & Lopez 2013, Saṃgītakāra.
- ↑ Keown 2004, p. 89.
- ↑ Buswell & Lopez 2013, Er xu.
- ↑ Buswell & Lopez 2013, Itivuttaka.
- ↑ Analayo 2007, p. 19.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Przyluski 1940, p. 247, note 2.
- ↑ Nanayakkara 1990, pp. 174–5.
- ↑ Klaus 2007, p. 316.
- ↑ 13.0 13.1 Brough 1950, p. 425.
- ↑ Klaus 2007, p. 319, "... durch Mitteilung durch Andere erworbenen wurde."
- ↑ Klaus 2007, p. 320–1.
- ↑ Lamotte 2005, p. 190.