เอลิซาเบธ เฟลชแมน
เอลิซาเบธ เฟลชแมน-อัชไฮม์ (อังกฤษ: Elizabeth Fleischman-Aschheim; 5 มีนาคม ค.ศ. 1867 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1905) เป็นนักรังสีการแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์ เฟลชแมนเป็นผู้หญิงคนแรกที่เสียชีวิตจากผลของการทำงานกับรังสีเอกซ์
ชีวิตช่วงแรก[แก้]
เอลิซาเบธ เฟลชแมน เกิดที่เทศมณฑลเอลโดราโด รัฐแคลิฟอร์เนีย (อาจเป็นที่เมืองแพลเซอร์วิล) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1867 โดยเป็นลูกสาวของผู้อพยพชาวยิวจากออสเตรีย[1][2] แคทเธอรีน เลอซันสกี ซึ่งเป็นแม่ของเธอเกิดที่ปรากและมีสมาชิกในครอบครัวหลายคนที่เป็นแพทย์ในที่ตอนนี้คือสาธารณรัฐเช็ก ส่วนเจค็อบ เฟลชแมน ซึ่งเป็นพ่อของเธอเป็นคนทำขนมปัง[3] โดยเอลิซาเบธเป็นหนึ่งในลูกที่มีอยู่ทั้งหมดห้าคน[1]
โดยในปี ค.ศ. 1876 ครอบของเธอครัวย้ายไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งพ่อของเอลิซาเบธ ทำงานเป็นคนทำขนมปังเป็นอาชีพแรก และต่อมาก็กลายเป็นพ่อค้าขายของกระจุกกระจิกและซิการ์ต่าง ๆ เอลิซาเบธ เฟลชแมน เข้าเรียนที่ไฮสกูลสตรี และลาออกในปีสุดท้ายของเธอเมื่อปี ค.ศ. 1882 เพื่อช่วยสนับสนุนครอบครัวของเธอ[1] จากนั้นเธอเรียนหลักสูตรการทำบัญชีกับการจัดการสำนักงาน และครั้งหนึ่งเธอทำงานเป็นคนทำบัญชีที่ฟรีดแลนเดอร์แอนด์มิเทา ผู้ผลิตชุดชั้นในซานฟรานซิสโก[4][5]
เมื่อแม่ของเธอเสียชีวิต เฟลชแมนย้ายไปอยู่กับน้องสาวของเธอ เอสเทล ซึ่งแต่งงานกับแพทย์และศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ไมเคิล โจเซฟ เฮนรี วูล์ฟ[6][7] เฟลชแมนทำงานในสำนักงานการแพทย์ของวูล์ฟในฐานะคนทำบัญชี ที่ซึ่งเขาได้แบ่งปันและสนับสนุนความอยากรู้ในเทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ของรังสีเอกซ์[3]
ผลของรังสีและการเสียชีวิต[แก้]
เฟลชแมนเป็นคนที่สองและเป็นผู้หญิงคนแรกที่เสียชีวิตเนื่องจากการได้รับรังสีเอกซ์ หลังการเสียชีวิตของคลาเรนซ์ ดาลลี ซึ่งเป็นนักเป่าแก้วชาวอเมริกันและผู้ช่วยทอมัส เอดิสัน ในงานรังสีเอกซ์ ผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปีก่อน[8]
สิ่งพิมพ์และการอ้างอิง[แก้]
- Fleischman, Elizabeth. (1898). Description of Plates: Plate LV: American Frog. Archives of the Roentgen Ray. 3(2): 62.
- Borden, William Cline, & Sternberg, George Miller. (1900). The Use of the Röntgen Ray by the Medical Department of the United States Army in the War with Spain. Washington, D.C. Government Printing Office.
- Senn, Nicholas. (1900). The X-ray in Military Surgery. Philadelphia Medical Journal. 5: 36–37.
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Elizabeth Fleischmann - A Tribute". www.cla.purdue.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ "No. 923: Elizabeth Fleischmann". www.uh.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ 3.0 3.1 Brown, P (1995-02-01). "American martyrs to radiology. Elizabeth Fleischman Ascheim (1859-1905). 1936". American Journal of Roentgenology. 164 (2): 497–499. doi:10.2214/ajr.164.2.7839997. ISSN 0361-803X.
- ↑ Editor. (1895). Langley's San Francisco Directory. Page 604.
- ↑ Palmquist, Peter E. (1990). Elizabeth Fleischmann: A Tribute. Elizabeth Fleischmann: Pioneer X-Ray Photographer (exhibition catalogue). Judah L. Magnes Museum. Berkeley, California.
- ↑ "Elizabeth Fleischman-Aschheim: Heroic Jewish Radiologist of San Francisco – JMAW – Jewish Museum of the American West" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:03
- ↑ Sansare, K; Khanna, V; Karjodkar, F (February 2011). "Early victims of X-rays: a tribute and current perception". Dentomaxillofacial Radiology. 40 (2): 123–125. doi:10.1259/dmfr/73488299. ISSN 0250-832X. PMC 3520298. PMID 21239576.