การทำบัญชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพครึ่งตัวของชาวอิตาลี ลูกา ปาชีโอลี วาดโดยจาโกโป เด บาร์บารี ค.ศ. 1495 (ณ มูเซโอดีกาโปดีมอนเต) ซึ่งปาชีโอลีได้รับการถือเป็นบิดาแห่งการบัญชี

การทำบัญชี (อังกฤษ: bookkeeping) เป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการบัญชีในธุรกิจ[1] ธุรกรรมรวมถึงการซื้อ, การขาย, รายรับ และรายจ่าย โดยบุคคล หรือองค์กร/บริษัท มีวิธีการทำบัญชีมาตรฐานหลายวิธี รวมถึงระบบบัญชีเดี่ยวและระบบบัญชีคู่ ในขณะที่สิ่งเหล่านี้อาจได้รับการมองว่าเป็นการทำบัญชี "ของจริง" ซึ่งกระบวนการใด ๆ สำหรับการบันทึกธุรกรรมทางการเงินเป็นกระบวนการทำบัญชี

การทำบัญชีเป็นงานของคนทำบัญชี (หรือผู้ดูแลบัญชี) ผู้ซึ่งบันทึกธุรกรรมทางการเงินรายวันของธุรกิจ พวกเขามักจะเขียนบัญชีประจำวัน (ซึ่งมีบันทึกการขาย, การซื้อ, รายรับ และรายจ่าย) และบันทึกธุรกรรมทางการเงินแต่ละรายการไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือเครดิต ลงในบัญชีประจำวันที่ถูกต้อง—นั่นคือสมุดเงินสดย่อย, สมุดบัญชีแยกประเภทผู้จำหน่าย สมุดบัญชีแยกประเภทลูกค้า ฯลฯ—และสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป หลังจากนั้น นักบัญชีสามารถสร้างรายงานทางการเงินจากข้อมูลที่บันทึกโดยคนทำบัญชี

การทำบัญชีส่วนใหญ่หมายถึงด้านการเก็บบันทึกการบัญชีการเงิน และเกี่ยวข้องกับการเตรียมเอกสารต้นฉบับสำหรับธุรกรรม, การดำเนินงาน และกิจกรรมอื่น ๆ ของธุรกิจทั้งหมด

คนทำบัญชีนำบัญชีเข้าสู่ขั้นตอนงบทดลอง ซึ่งนักบัญชีอาจจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล โดยใช้งบทดลองและสมุดบัญชีแยกประเภทที่จัดทำโดยคนทำบัญชี

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Weygandt; Kieso; Kimmel (2003). Financial Accounting. Susan Elbe. p. 6. ISBN 0-471-07241-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]