เหตุระเบิดในโอคลาโฮมาซิตี

พิกัด: 35°28′22″N 97°31′01″W / 35.47278°N 97.51694°W / 35.47278; -97.51694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดในโอคลาโฮมาซิตี
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการร้ายในสหรัฐ
A view of the destroyed Alfred P. Murrah Federal Building from across the adjacent parking lot, two days after the bombing.
อาคารกลางอัลเฟรด พี. เมอร์ราห์ สองวันหลังเกิดเหตุ
สถานที่อาคารกลางอัลเฟรด พี. เมอร์ราห์
โอคลาโฮมาซิตี, รัฐโอคลาโฮมา, สหรัฐ
พิกัด35°28′22″N 97°31′01″W / 35.47278°N 97.51694°W / 35.47278; -97.51694
วันที่19 เมษายน 1995; 28 ปีก่อน (1995-04-19)
9:02 นาฬิกา CDT (UTC−05:00)
เป้าหมายรัฐบาลกลางสหรัฐ
ประเภทระเบิดติดรถ, ฆาตกรรมหมู่
อาวุธ
ตาย168[1]
เจ็บ680+
ผู้ก่อเหตุทิโมธี แมคเวจ์
เทอร์รี นิโคลส์
เหตุจูงใจความรู้สึกต่อต้านรัฐบาล, การแก้แค้นกรณีรูบีริดจ์และการล้อมเวโก

เหตุระเบิดในโอคลาโฮมาซิตี เป็นการก่อการร้ายในประเทศด้วยระเบิดติดรถที่อาคารกลางอัลเฟรด พี. เมอร์ราห์ในโอคลาโฮมาซิตี รัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ผู้ก่อเหตุคือ ทิโมธี แมคเวจ์และเทอร์รี นิโคลส์ ผู้มีแนวคิดหัวรุนแรงที่ต่อต้านรัฐบาลกลางสหรัฐ และฝักใฝ่อุดมการณ์ความสูงสุดของคนขาว[2][3] เหตุระเบิดเกิดขึ้นเวลา 9.02 นาฬิกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 168 ราย[4] บาดเจ็บกว่า 680 ราย และหนึ่งส่วนสามของอาคารเสียหายอย่างหนัก[5] แรงระเบิดยังส่งผลให้อาคาร 324 แห่งในรัศมี 16 บล็อก และรถยนต์ 86 คันเสียหาย[6] คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 652 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]

90 นาทีหลังเกิดเหตุ แมคเวจ์ถูกตำรวจทางหลวงคุมตัวเนื่องจากขับรถไม่มีป้ายทะเบียนและครอบครองอาวุธผิดกฎหมาย[8][9] ต่อมาหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ชี้ว่าแมคเวจ์และนิโคลส์มีส่วนเกี่ยวข้อง และนิโคลส์ถูกจับกุม[10] ไม่กี่วันหลังจากนั้นทั้งสองถูกตั้งข้อหา และมีการจับกุมไมเคิลและลอรี ฟอร์ติเยอร์เพิ่มเติมในข้อหาสมรู้ร่วมคิด ผลการสอบสวนพบว่าแมคเวจ์ซึ่งมีประวัติเป็นทหารผ่านศึกสงครามอ่าวและฝักใฝ่แนวคิดฝ่ายขวาเป็นผู้จุดระเบิดรถบรรทุกเช่าที่นำไปจอดหน้าอาคาร โดยนิโคลส์เป็นผู้เตรียมระเบิด เหตุจูงใจของการโจมตีมาจากความเกลียดชังรัฐบาลกลาง และไม่พอใจการจัดการกรณีรูบีริดจ์ในค.ศ. 1992 และการล้อมเวโกในค.ศ. 1993 แมคเวจ์ตั้งใจก่อเหตุในวันครบรอบ 2 ปีของการล้อมเวโก[11][12]

การสอบสวนอย่างเป็นทางการของสำนักงานสอบสวนกลาง หรือ "OKBOMB"[13] ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กว่า 900 นาย ข้อมูลเกือบ 1 พันล้านชิ้น และบทสัมภาษณ์ 28,000 รายการ มีน้ำหนักรวม 3.5 ตันสั้น (3,200 กิโลกรัม) นำไปสู่การพิจารณาคดีในค.ศ. 1997 แมคเวจ์ถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดยาให้ตายที่เรือนจำในเมืองเทร์เรโฮต รัฐอินดีแอนาในค.ศ. 2001 ส่วนนิโคลส์ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีสิทธิ์ได้รับการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติในค.ศ. 2004 ปัจจุบันเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำความมั่นคงสูงสุดในเมืองฟลอเรนซ์ รัฐโคโลราโด ด้านไมเคิล ฟอร์ติเยอร์ที่ให้การเป็นพยานได้รับโทษจำคุก 12 ปี ฐานไม่แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ ขณะที่ลอรี ฟอร์ติเยอร์ได้รับความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีหลังเธอให้การเป็นพยานเช่นกัน[14]

หลังเหตุระเบิด รัฐสภาสหรัฐผ่านรัฐบัญญัติต่อต้านการก่อการร้ายและโทษประหารชีวิตอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งทำให้มาตรฐานหมายสั่งให้ส่งตัวผู้ถูกคุมขังมาศาล (habeas corpus) รัดกุมยิ่งขึ้น[15] รวมถึงออกกฎหมายเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอาคารรัฐบาลเพื่อป้องกันเหตุโจมตีในอนาคต ซากอาคารกลางอัลเฟรด พี. เมอร์ราห์ถูกรื้อถอนหนึ่งเดือนหลังเกิดเหตุ และมีการสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติโอคลาโฮมาซิตีขึ้นแทนเพื่ออุทิศแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดในค.ศ. 2000

อ้างอิง[แก้]

  1. พบชิ้นส่วนขาซ้ายในที่เกิดเหตุแต่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ ซึ่งอาจเป็นของหนึ่งในผู้เสียชีวิต 168 ราย หรืออาจเป็นของเหยื่อรายที่ 169 ที่ไม่พบร่าง
  2. Bouie, Jamelle (2019-03-18). "Opinion | The March of White Supremacy, From Oklahoma City to Christchurch". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  3. "Nation's deadliest domestic terrorist inspiring new generation of hate-filled 'monsters,' FBI records show". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  4. "Victims of the Oklahoma City bombing". USA Today. Associated Press. June 20, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2012.
  5. Shariat, Sheryll; Sue Mallonee; Shelli Stephens-Stidham (December 1998). "Oklahoma City Bombing Injuries" (PDF). Injury Prevention Service, Oklahoma State Department of Health. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2014. สืบค้นเมื่อ August 9, 2014. Shariat et al. count only 167 killed "as a direct result of the bombing or during escape". They did not include Rebecca Needham Anderson, who – having seen the bombing on TV in Midwest City, Oklahoma – came to the rescue and was killed by a piece of falling debris.The Final Sacrifice of a Gallant Nurse เก็บถาวร สิงหาคม 10, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "Oklahoma City Police Department Alfred P. Murrah Federal Building Bombing After Action Report" (PDF). Terrorism Info. p. 58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 3, 2007.
  7. Hewitt, Christopher (2003). Understanding Terrorism in America: from the Klan to al Qaeda. Routledge. p. 106. ISBN 978-0-415-27765-5.
  8. "Timothy McVeigh is apprehended" (Video, 3 minutes). NBC News Report. April 22, 1995.
  9. Ottley, Ted (April 14, 2005). "License Tag Snag". truTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2011.
  10. Witkin, Gordon; Karen Roebuck (September 28, 1997). "Terrorist or Family Man? Terry Nichols goes on trial for the Oklahoma City bombing". U.S. News & World Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2012.
  11. Feldman, Paul (June 18, 1995). "Militia Groups Growing, Study Says Extremism: Despite negative publicity since Oklahoma bombing, membership has risen, Anti-Defamation League finds" (Fee required). Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2012. สืบค้นเมื่อ April 7, 2010.
  12. "McVeigh offers little remorse in letters". The Topeka Capital-Journal. Associated Press. June 10, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2012.
  13. "Statement of Special Agent in Charge Danny Defenbaugh Regarding OKBOMB Documents" (Press release). FBI. May 11, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2011.
  14. "Transcripts". CNN. January 20, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2011.
  15. Doyle, Charles (June 3, 1996). "Antiterrorism and Effective Death Penalty Act of 1996: A Summary". FAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2011.