เส้นทางนักบุญยากอบ
เส้นทางนักบุญยากอบ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
แผนที่แสดงเส้นทางนักบุญยากอบจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรป | |
ประเทศ | สเปน |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (ii) (iv) (vi) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2536 (คณะกรรมการสมัยที่ 17) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
เส้นทางนักบุญยากอบ (อังกฤษ: Way of St. James; สเปน: Camino de Santiago; กาลิเซีย: Camiño de Santiago; บาสก์: Done Jakue bidea; ฝรั่งเศส: Chemin de St-Jacques; เยอรมัน: Jakobsweg) คือเส้นทางที่คริสต์ศาสนิกชนผู้แสวงบุญจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปใช้ในการเดินทางไปยังอาสนวิหารเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลา ประเทศสเปน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่บรรจุเรลิกของนักบุญยากอบ บุตรเศเบดี
เส้นทางนักบุญยากอบได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 1993
เส้นทางจาริกแสวงบุญสำคัญคริสต์ศาสนิกชน
[แก้]เส้นทางจาริกแสวงบุญนักบุญยากอบเป็นเส้นทางที่เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งสเปน สำหรับการจาริกแสวงบุญมากว่าหนึ่งพันปี และเป็นเส้นทางจาริกแสวงบุญสำคัญที่สุดเส้นหนึ่งในบรรดาเส้นทางจาริกแสวงบุญสามสายของคริสต์ศาสนา นอกจากนั้นก็ยังเป็นเส้นทางที่นักแสวงบุญสามารถได้รับพระคุณการุญเมื่อไปถึงจุดหมายปลายทางด้วย[1] เส้นทางอีกสองสายคือเส้นทางฟรันชีเจนาไปยังกรุงโรม และเส้นทางไปยังกรุงเยรูซาเลม
ตำนานกล่าวว่าร่างของยากอบ บุตรเศเบดี หรือนักบุญยากอบองค์ใหญ่ถูกนำมาจากเยรุซาเลมมายังตอนเหนือของสเปน และมาฝังไว้ยังที่ที่ปัจจุบันคือเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลา
การเดินทางไปยังซานเตียโกเดกอมโปสเตลาอาจจะใช้เส้นทางสายใดก็ได้ สำหรับนักแสวงบุญแล้วการเดินทางเริ่มจากที่อยู่ของตนเองไปยังจุดหมายปลายทางที่ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา แต่ในบรรดาเส้นทางต่าง ๆ ก็มีเส้นทางที่ถือว่าสำคัญ ๆ อยู่สองสามสาย ในช่วงยุคกลางเส้นทางจาริกแสวงบุญไปยังซานเตียโกเดกอมโปสเตลาเป็นเส้นทางที่นิยมใช้กันมาก แต่เมื่อมาประสบกับกาฬโรคระบาดในยุโรป การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ และวิกฤติการณ์ทางการเมืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เข้า ความนิยมในการเดินทางดังกล่าวก็เริ่มลดถอยลง เมื่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 ในแต่ละปีก็แทบจะไม่มีนักแสวงบุญที่เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาความนิยมในการเดินทางไปแสวงบุญก็เริ่มกระเตื้องขึ้นจากนักแสวงบุญจากทั่วโลก เมื่อสภาแห่งยุโรปได้ยกฐานะเส้นทางนักบุญยากอบขึ้นเป็นเส้นทางวัฒนธรรมแห่งยุโรปในปี ค.ศ. 1987 และโดยองค์การยูเนสโกขึ้นเป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1993[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kent, William H. (1913). สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
{{cite encyclopedia}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help). This entry on indulgences suggests that the evolution of the doctrine came to include pilgrimage to shrines as a trend that developed from the eighth century A.D.:“ Among other forms of commutation were pilgrimages to well-known shrines such as that at St. Albans in England or at Compostela in Spain. But the most important place of pilgrimage was Rome. According to Bede (674-735) the "visitatio liminum", or visit to the tomb of the Apostles, was even then regarded as a good work of great efficacy (Hist. Eccl., IV, 23). At first the pilgrims came simply to venerate the relics of the Apostles and martyrs; but in course of time their chief purpose was to gain the indulgences granted by the pope and attached especially to the Stations. ” - ↑ UNESCO: Way of St. James[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เส้นทางนักบุญยากอบ
- Xacowebs Collection of websites related to Way of St. James
- International Bibliography เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน