อาสนวิหารเซบิยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารเซบิยา
อาสนวิหารพระแม่มารีแห่งสำนัก
มุมมองด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอาสนวิหาร
แผนที่
ที่ตั้งเซบิยา
ประเทศประเทศสเปน
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์www.catedraldesevilla.es
ประวัติ
สถานะอาสนวิหาร
เสกเมื่อ1507
สถาปัตยกรรม
สถานะการใช้งานใช้งาน
สถาปนิกอาลอนโซ มาร์ติเนซ, เปโดร ดังการ์ต, การ์ลัส กัลเต็ส ดา รูอัน, อาลอนโซ โรดริเกซ
ประเภทสถาปัตย์โบสถ์คริสต์
รูปแบบสถาปัตย์กอธิก, ฟื้นฟูศิลปวิทยาสเปน, มัวร์
งานฐานราก1402
แล้วเสร็จ1519
โครงสร้าง
อาคารยาว135 เมตร (443 ฟุต)
อาคารกว้าง100 เมตร (330 ฟุต)
เนฟกว้าง15 เมตร (49 ฟุต)
ความสูงอาคาร42 เมตร (138 ฟุต)
จำนวนยอดแหลม1
ความสูงยอดแหลม105 เมตร (344 ฟุต)
การปกครอง
อัครมุขมณฑลเซบิยา
นักบวช
อัครมุขนายกโฆเซ อังเฆล ไซซ์ เมเนเซส
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนอาสนวิหาร, อัลกาซาร์ และหอจดหมายเหตุอินดีสในเซบิยา
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, ii, iii, vi
ขึ้นเมื่อ1987 (สมัยที่ 11), เพิ่มเติม 2010
เลขอ้างอิง383bis-001
ภูมิภาคยุโรป
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนอาสนวิหารพระแม่มารีแห่งสำนักเซบิยา
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
เกณฑ์โบราณสถาน
ขึ้นเมื่อ29 ธันวาคม 1928
เลขอ้างอิง(R.I.) - 51 - 0000329 - 00000

อาสนวิหารพระแม่มารีแห่งสำนัก (สเปน: Catedral de Santa María de la Sede) หรือ อาสนวิหารเซบิยา (Catedral de Sevilla) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในเมืองเซบิยา ประเทศสเปน[1] อาสนวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกยูเนสโกในปี 1987 ร่วมกับอัลกาซาร์และหอจดหมายเหตุอินดีสซึ่งอยู่ติดกัน[2] อาสนวิหารนี้ถือเป็นหนึ่งในโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโบสถ์คริสต์สถาปัตยกรรมกอธิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3]

เมื่อสร้างแล้วเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อาสนวิหารเซบิยาขึ้นแท่นเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนที่ฮาเกียโซเฟียซึ่งเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานนับพันปี[4] ส่วนกอธิกขอบอาสนวิหารมีขนาด 126 เมตร (413 ฟุต) กว้าง 76 เมตร (249 ฟุต) ตรงกลางมุขยื่นมีความสูงสูงสุด 42 เมตร (138 ฟุต) ส่วนหอคอยฆิรัลดามีความสูง 104.5 เมตร (342 ฟุต 10 นิ้ว)

อาสนวิหารเซบิยาเป็นสถานที่ประกอบพิธีศีลบัปติศมาของอินฟันเตฆวนแห่งอารากอนในปี 1478 ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระมหากษัตริย์คาทอลิก (พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนและสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา) ภายในโบสถ์น้อยหลวงเป็นที่บรรจุพระศพของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา ผู้พิชิตเซบิยาคืนจากมุสลิม, พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งกัสติยา พระราชโอรสของพระองค์ และพระเจ้าเปโดรแห่งกัสติยา ผู้สืบราชสมบัติกัสติยาในสมัยหลัง นอกจากนี้ยังมีอนุสรณ์ศพของพระคาร์ดินัลฆวน เด เซร์บันเตส และเปโดร กอนซาเลซ เด เมนโดซา อยู่ในโบสถ์น้อยต่าง ๆ ของอาสนวิหาร นอกจากนี้ภายในอาสนวิหารยังเป็นที่ฝังร่างของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และดีเอโก โคลัมบัส ผู้เป็นบุตรด้วย[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Seville Cathedral". spain.info. Spanish Tourism Board. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
  2. "The other Europe: Cinque Terre, Bruges, Rothenburg, Edinburgh, Seville". Dallas Morning News. 31 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
  3. Colin Lawson; Robin Stowell, บ.ก. (16 February 2012). The Cambridge History of Musical Performance. Cambridge University Press. p. 590. ISBN 978-1-316-18442-4.
  4. Melton 2010, p. 1301.
  5. "Cathedral, Alcázar and Archivo de Indias in Seville". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bloom, Jonathan M. (2020). Architecture of the Islamic West: North Africa and the Iberian Peninsula, 700-1800. Yale University Press.
  • Harvey, John (1957). The Cathedrals of Spain (ภาษาอังกฤษ). Batsford.
  • Montiel, Luis Martínez; Morales, Alfredo José (1999). The Cathedral of Seville (ภาษาอังกฤษ). Scala Publishers. ISBN 978-1-85759-203-0.
  • Melton, J. Gordon (2010). "Hagia Sophia". ใน Melton, J. Gordon; Baumann, Martin (บ.ก.). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices (ภาษาอังกฤษ) (2nd ed.). Santa Barbara: ABC-CLIO. pp. 1300–1301. ISBN 978-1-59884-204-3.