ข้ามไปเนื้อหา

เสียงขุ่นนาสิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสียงขุ่นนาสิก (ญี่ปุ่น: 鼻濁音โรมาจิbidakuonทับศัพท์: บิดากูอง) หรือเสียงนาสิกวรรค が (ga) (ญี่ปุ่น: ガ行鼻音โรมาจิgagyō-bionทับศัพท์: กาเงียว บิอง) หรือเสียงขุ่นนาสิกวรรค が (ga) (ญี่ปุ่น: ガ行鼻濁音โรมาจิgagyō-bidakuonทับศัพท์: กาเงียว บิดากูอง) หมายถึง เสียงของตัวอักษร 「」 ที่พยัญชนะออกเสียงขึ้นจมูกเป็นเสียงนาสิก [ŋ] และถือเป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /g/ โดยทั่วไปจะปรากฏในตำแหน่งกลางคำ (ตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ต้นคำ) ตรงกับพยัญชนะ ง ของภาษาไทย[1][หมายเหตุ 1]

เสียงนี้เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษาถิ่นโตเกียวซึ่งกลายเป็นภาษากลางของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ผู้ประกาศข่าว นักแสดง นักพากย์ ฯลฯ จึงฝึกฝนในฐานะการออกเสียงมาตรฐาน[3] ปัจจุบันประชากรที่ออกเสียงเป็นเสียงขุ่นนาสิกลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องยกเว้นภูมิภาคโทโฮกุ[4]

ประวัติ

[แก้]

เสียงขุ่นนาสิก [ŋ] ซึ่งปรากฏกลางคำนี้พบได้มากในภาษาญี่ปุ่นตะวันออก (ญี่ปุ่น: 東日本方言โรมาจิHigashi Nihon Hōgenทับศัพท์: ฮิงาชิ นิฮง โฮเง็ง) ตั้งแต่ภาษาถิ่นคิงกิ (คันไซ) เรื่อยไปตามทิศตะวันออกจนถึงเกาะฮกไกโด แต่แทบไม่พบในภาษาถิ่นชูโงกุและภาษาถิ่นคีวชู[5] และในพื้นที่ที่มีเสียงขุ่นนาสิกเองก็ยังสามารถแบ่งเป็นภาษาถิ่นที่ออกเสียง /g/ กลางคำเป็นเสียงขุ่นนาสิก [ŋ] หรือเสียงขุ่นธรรมดา [g] สลับกันไปมาอย่างอิสระ (เช่น ภาษาถิ่นเกียวโต) ภาษาถิ่นที่ออกเสียง /g/ เป็นเสียงขุ่นนาสิก [ŋ] ในบางสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไข (เช่น ภาษาถิ่นโตเกียว) และภาษาถิ่นที่เสียง /g/ กลางคำออกเสียงเป็นเสียงขุ่นนาสิก [ŋ] เสมอ (ภาษาถิ่นโทโฮกุ)[หมายเหตุ 2]

ที่มาของเสียงขุ่นนาสิก [ŋ] ในภาษาถิ่นโตเกียวไม่ชัดเจนเนื่องจากหลักฐานเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นยุคก่อนสมัยใหม่มักเป็นภาษาถิ่นเกียวโต (เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตามหลักฐานช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แสดงให้เห็นว่าภาษาถิ่นเกียวโตในช่วงเวลานั้นหน่วยเสียง /g/ เคยออกเสียงนาสิกนำ (prenasalization) เป็น [ᵑɡ] และปัจจุบันก็ยังคงพบการออกเสียงเช่นนี้ในภาษาถิ่นบางภาษา เราจึงอนุมานได้ว่าในอดีตการออกเสียงนาสิกนำเคยเป็นลักษณะร่วมของภาษาญี่ปุ่นหลาย ๆ ถิ่น Inoue (1971 อ้างใน Takayama, 2015) ได้ศึกษาการปรากฏเป็นรูป (phonetic realization) ของเสียง /g/ ของภาษาถิ่นทั้งประเทศและสรุปว่า เดิมทีหน่วยเสียง /g/ เคยออกเสียงเป็น [ᵑɡ] จากนั้นจึงมีวิวัฒนาการแยกเป็น 2 สาย สายหนึ่งวิวัฒนาการเป็นเสียง [ŋ] และอีกสายหนึ่งวิวัฒนาการเป็นเสียง [ɡ] ภาษาถิ่นโตเกียวจัดว่าเป็นแบบแรก[6]

ปัจจุบันประชากรที่ใช้เสียงขุ่นนาสิก [ŋ] ได้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ แม้แต่ในกลุ่มเจ้าของภาษาถิ่นโตเกียวรุ่นใหม่ ๆ เองก็เปลี่ยนจากออกเสียง [ŋ] ในบางสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไขมาเป็นออกเสียง [ŋ]↔[g] สลับกันไปมาอย่างอิสระ และบางคนก็ไม่ใช้เสียงขุ่นนาสิกเลย[7][หมายเหตุ 3] แนวโน้มนี้พบเห็นได้กระทั่งในกลุ่มคนที่น่าจะได้รับการอบรมและฝึกฝนเสียงขุ่นนาสิกมาอย่างเข้มงวด เช่น ดารา นักแสดง ผู้ประกาศข่าวที่อายุยังน้อยของสถานีโทรทัศน์เอกชน โดยมีการระบุว่าผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ของสถานีโทรทัศน์เอกชนประมาณ 2 ใน 3 และผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (NHK) ประมาณ 1 ใน 3 ไม่ได้ใช้เสียงขุ่นนาสิกตามภาษาถิ่นโตเกียว[8] อนึ่ง ประชากรที่ไม่ใช้เสียงขุ่นนาสิกมักจะออกเสียงกลางคำเป็นเสียงขุ่นธรรมดา ส่วนประชากรที่ใช้สลับกันไปมามักจะใช้เสียงขุ่นนาสิกเฉพาะในบริบทที่ผู้พูดไม่ระวังตัวเท่านั้น[7][หมายเหตุ 4]

เสียงขุ่นนาสิกเคยถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครอง[9] ปัจจุบันพบเห็นได้ในสื่อการสอนสำหรับเด็กเล็ก เช่น เพลง『華麗に鼻濁音』(Karei ni bidakuon, คาเร นิ บิดากูอง) ในรายการโทรทัศน์ช่อง NHK Educational TV ซึ่งมีเนื้อหาเชิญชวนให้เด็ก ๆ และผู้ปกครองออกเสียงขุ่นนาสิกเพื่อให้คำพูดฟังดูนุ่มนวลขึ้น[10]

กฎการเปลี่ยนเป็นเสียงขุ่นนาสิก

[แก้]

คำอธิบายในที่นี้เป็นแนวโน้มการออกเสียงเป็นเสียงขุ่นนาสิกในภาษาถิ่นโตเกียว[11][12][13] ข้อมูลในส่วน "พจนานุกรมการออกเสียง" มีการใช้สัญลักษณ์พิเศษตามที่ปรากฏในพจนานุกรมดังนี้

  1. 「ガ・ギ・グ・ゲ・ゴ」 ที่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิกจะแสดงด้วยอักษรพิเศษ 「カ゚・キ゚・ク゚・ケ゚・コ゚」 ตามลำดับ
  2. เครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก (ญี่ปุ่น: 下がり目โรมาจิsagari-meทับศัพท์: ซางาริเมะ) ของคำหรือหน่วยคำนั้น ส่วนเครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก
  3. ตัวอักษรไม่เข้มใช้เพื่อแสดงว่าตัวอักษรดังกล่าวออกเสียงโดยมีการลดความก้อง (devoicing) ของเสียงสระด้วย

หลักการทั่วไป

[แก้]
  • เมื่อเสียง /g/ ปรากฏในตำแหน่งต้นคำ จะออกเป็นเสียงขุ่นธรรมดา: [g]
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
学校がっこう gakkō /gaQkoː / [gak̚koː] ガッコー โรงเรียน
外国がいこく gaikoku /gaikoku/ [gai̯kokɯ] ガイコク ต่างประเทศ
元気げんき genki /geNki/ [geŋːkʲi] ンキ แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า
  • เมื่อ /g/ ปรากฎในตำแหน่งที่ไม่ใช่ต้นคำ (รวมถึงหน่วยคำเติมท้าย เช่น คำช่วย 「が」「ぐらい」「ごろ」) จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก: [ŋ]
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
かぎ kagi /kagi/ [kaŋʲi] カキ゚ กุญแจ
げる tsugeru /tugeru/ [t͡sɯŋeɾɯ] ツケ゚ル แจ้ง, บอก
事業じぎょう jigyō /zigyoː/ [d͡ʑiŋjoː] キ゚ョー กิจการ
タイ tai-go /tai-go/ [tai̯ŋo] タイコ゚ ภาษาไทย
やま yama-ga /yama-ga/ [jamaŋa] ヤマカ゚ ภูเขา+(คำช่วย)
三時間さんじかんぐらい san-jikan-gurai /saN-jikaN-gurai/ [sanːd͡ʑikaŋːŋɯɾai̯] サンジカンク゚ライ ประมาณ 3 ชั่วโมง
三時さんじごろ san-ji-goro /saN-ji-goro/ [sanːd͡ʑiŋoɾo] サンジコ゚ ราว ๆ บ่ายสาม/ตีสาม
  • คำที่ปกติอยู่กลางคำหรือประโยค แต่ถูกนำมาใช้ขึ้นต้นคำหรือประโยค จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิกเช่นกัน
ภาษาญี่ปุ่น 辞書じしょいてみた。ていなかった。
ระบบเฮ็ปเบิร์น Jisho de hiite mita. Ga, dete inakatta.
ระดับหน่วยเสียง /jisyo de hiːte mita. ga, dete inakatta/
เสียงโดยละเอียด [d͡ʑiɕo de çiːte mʲita. ŋa, dete inakat̚ta]
ความหมาย "ลองค้นในพจนานุกรมดูแล้ว แต่ไม่มี"
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
雨傘あまがさ amagasa /ama-/+/kasa/ → /amagasa/ [amaŋasa] アマカ゚サ

アマカ゚

ร่มกันฝน
人柄ひとがら hitogara /hito/+/kara/ → /hitogara/ [çi̥toŋaɾa] トカ゚ラ นิสัยใจคอ
冬景色ふゆげしき fuyugeshiki /huyu/+/kesiki/ → /huyugesiki/ [ɸɯjɯŋeɕi̥kʲi] フユケ゚ ทิวทัศน์ในฤดูหนาว
ガス会社がいしゃ gasugaisha /gasu/+/kaisya/ → /gasugaisya/ [gasuŋai̯ɕa] ガスカ゚イシャ บริษัทแก๊ส

ข้อยกเว้น

[แก้]
  • คำยืมจากภาษาต่างประเทศ (ญี่ปุ่น: 外来語โรมาจิgairaigoทับศัพท์: ไกไรโงะ) จะยึดตามภาษาต้นทาง นั่นคือ หากภาษาต้นทางเป็น [g] ก็จะออกเป็นเสียงขุ่นธรรมดา ([g]) หากภาษาต้นทางเป็น [ŋ] ก็จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก ([ŋ])
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
ハンバーガー hanbāgā /haNbaːgaː/ [hamːbaːgaː] ハンバーガー แฮมเบอร์เกอร์ (อังกฤษ: hamburger)
エネルギー enerugii /enerugiː/ [eneɾɯiː] エネルギー

エネルギー

พลังงาน (เยอรมัน: Energie)
モンゴル mongoru /moNgoru/ [moŋːgoɾɯ] ンゴル มองโกเลีย (อังกฤษ: Mongol)
キング kingu /kiNgu/ [kʲiŋːŋɯ] ンク゚ พระราชา (อังกฤษ: king)
シンガー singā /siNgaː/ [ɕiŋːŋaː] ンカ゚ー นักร้อง (อังกฤษ: singer)
メレンゲ merenge /mereNge/ [meɾeŋːŋe] メレンケ゚

メレンケ゚

ชื่อขนมชนิดหนึ่ง (ฝรั่งเศส: meringue)
  • คำยืมจากภาษาต่างประเทศบางคำ แม้ภาษาต้นทางจะเป็นเสียง [g] แต่ถ้าใช้กันมานานก็อาจจะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิกได้
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
イギリス igirisu /igirisu/ [iŋʲiɾisɯ] イキ゚リス สหราชอาณาจักร (โปรตุเกส: Inglez)
ペンギン pengin /peNgiN/ [peŋːŋʲiɴ] ペンキ゚ン เพนกวิน (อังกฤษ: penguin)
ジャガいも jagaimo /zyagaimo/ [d͡ʑaŋaimo] ジャカ゚イモ มันฝรั่ง (「ジャガ」 มาจาก 「ジャガタラ」 ดัตช์[15]หรือโปรตุเกส[16][17]: Jacatra "จาการ์ตา")
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
ひるごはん hiru-gohan /hiru/+/gohaN/ [çiɾɯgohaɴː] ヒルゴハン อาหารเที่ยง
なまごみ nama-gomi /nama-/+/gomi/ [namagomʲi] ナマゴミ

ナマゴミ

ขยะเปียก
高等学校こうとうがっこう kōtō-gakkō /koːtoː/+/gaQkoː/ [koːtoːgak̚koː] コートーガッコー โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • คำประสมที่คำหลังขึ้นต้นด้วย /g/ แต่เส้นแบ่ง (ญี่ปุ่น: 切れ目โรมาจิkiremeทับศัพท์: คิเรเมะ) ระหว่างคำทั้งสองได้เลือนรางไม่ชัดเจนไปแล้ว จะออกเสียงเป็นขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
小学校しょうがっこう shōgakkō /syoːgaQkoː/ [ɕoːŋak̚koː] ショーカ゚ッコー โรงเรียนประถมศึกษา
中学校ちゅうがっこう chūgakkō /tyuːgaQkoː/ [t͡ɕɯːŋak̚koː] チューカ゚ッコー โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
管楽器かんがっき kangakki /kaNgaQki/ [kaŋːŋak̚kʲi] カンカ゚ッキ เครื่องดนตรีเป่า
  • กรณีที่มีหน่วยคำอุปสรรค 「お-」「ご-」(หน่วยคำแสดงความสุภาพ) อยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วย /g/ โดยปกติจะไม่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
元気げんき o-genki /o-/+/geNki/ [ogeŋkʲi] オゲンキ แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า
義理ぎり o-giri /o-/+/giri/ [oiɾʲi] オギリ หน้าที่
議論ぎろん go-giron /go-/+/giroN/ [goiɾoɴː] ゴギロン ข้อถกเถียง
学友がくゆう go-gakuyū /go-/+/gakuyuː/ [gogakɯyɯː] ゴガクユー เพื่อนที่โรงเรียน
  • กรณีที่มีหน่วยคำอุปสรรค 「非-ひ-」「不-ふ-」 อยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วย /g/ บางคำออกเป็นเสียงขุ่นธรรมดาหรือเสียงขุ่นนาสิกก็ได้
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
非合法ひごうほう higōhō /hi-/+/goːhoː/ [çiŋoːhoː ], [çigoːhoː ] ヒコ゚ーホー

ヒゴーホー

ผิดกฎหมาย
非合理ひごうり higōri /hi-/+/goːri/ [çiŋoːɾʲi], [çigoːɾʲi] ヒコ゚ーリ

ヒゴーリ

ไม่สมเหตุสมผล
不合格ふごうかく fugōkaku /hu-/+/goːkaku/ [ɸɯŋoːkakɯ], [ɸɯgoːkakɯ] フコ゚ーカク

フゴーカク

สอบตก
不合理ふごうり fugōri /hu-/+/goːri/ [ɸɯŋoːɾʲi], [ɸɯgoːɾʲi] フコ゚ーリ

フゴーリ

ไม่สมเหตุสมผล
  • เลข "5" ไม่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก ยกเว้นบางคำที่ความหมายของเลข "5" ได้เลือนรางไปแล้วจะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
十五人じゅうごにん(15人) jū-go-nin /zyuːgoniN/ [d͡ʑɯːgoɲiɴː ] ジュー・ゴニ

ジューゴニン

15 คน
百五十人ひゃくごじゅうにん(150人) hyaku-go-jū-nin /hyakugojuːniN/ [çakɯgoʑɯːɲiɴː] ヒャクゴジューニン 150 คน
七五三しちごさん shichigosan /sitigosaN/ [ɕi̥t͡ɕiŋosaɴː] チコ゚サン

チコ゚サン

เทศกาลฉลองสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ 5 ขวบ และ 7 ขวบ
十五夜じゅうごや jūgoya /zyuːgoya/ [d͡ʑɯːŋoja] ジューコ゚ヤ คืนเดือนเพ็ญ
  • คำสัทพจน์ (คำเลียนเสียงและแสดงสภาพ) ที่ดูเป็นการซ้ำคำสองครั้งและมีเสียง /g/ ปรากฏต้นคำไม่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
げらげら geragera

(gera+gera)

/geragera/ [geɾageɾa] ラゲラ คำแสดงเสียงหัวเราะเสียงดังโดยไม่สงวนท่าที
がんがん gangan

(gan+gan)

/gaNgaN/ [gaŋːgaɴː] ンガン คำแสดงเสียงดังที่เกิดจากตีโลหะ ฯลฯ
ぎとぎと gitogito

(gito+gito)

/gitogito/ [gʲitoito] トギト สภาพไขมันเยิ้ม

ส่วนคำสัทพจน์ที่ /g/ ไม่ได้ปรากฏต้นคำจะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก เช่น

ภาษาญี่ปุ่น ระบบเฮ็ปเบิร์น ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด พจนานุกรมการออกเสียง ความหมาย
もぐもぐ mogumogu

(mogu+mogu)

/mogumogu/ [moŋɯmoŋɯ] ク゚モク゚ (เคี้ยว) ตุ้ย ๆ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ส่วนเสียงขุ่นธรรมดา [g] ไม่ตรงกับเสียงใด ๆ ในภาษาไทย ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยมักแทนเสียงนี้ด้วย [g̊] หรือ [k] ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะ ก [2]
  2. ในภาษาถิ่นโทโฮกุ /g/ กลางคำออกเสียงเป็น [ŋ] และไม่สามารถออกเสียงเป็น [g] ได้ เพราะภาษาถิ่นโทโฮกุ /k/ กลางคำออกเสียงเป็น [g] เช่น /kaki/ "ลูกพลับ" ออกเสียงเป็น [kagi] และ /kagi/ "กุญแจ" ออกเสียงเป็น [kaŋi] กล่าวได้ว่าภาษาถิ่นโทโฮกุ [g] และ [ŋ] มีหน้าที่สำคัญในการแยกความหมายของคำ
  3. /g/ ที่ออกเสียงเป็น [ŋ] ในบางสภาพแวดล้อมถือเป็น "หน่วยเสียงย่อยตามเงื่อนไข" (conditional allophone, 条件異音) ส่วน /g/ ที่ออกเสียงเป็น [ŋ] หรือ [g] สลับไปมาได้อย่างอิสระถือเป็น "หน่วยเสียงย่อยแปรอิสระ" (free allophone, 自由異音)
  4. ประชากรกลุ่มนี้จะไม่ใช้เสียงขุ่นนาสิกเมื่อต้องออกเสียงอย่างระมัดระวัง เช่น การอ่านรายการคำศัพท์
  5. เร็นดากุ คือ ปรากฏการณ์ที่คำศัพท์สองคำเชื่อมต่อกันแล้วเสียงพยัญชนะตัวแรกของคำหลังเปลี่ยนจากเสียงไม่ก้องเป็นเสียงก้อง เช่น /ama-/+/kumo/ → /amagumo/ (เมฆฝน), /hana/+/hi/ → /hanabi/ (ดอกไม้ไฟ, พลุ)[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ยุพกา ฟูกุชิม่า (2014). การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ(日本語の発音ー理解から実践へー). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-144-0. OCLC 900808629.
  2. Kashima, Tanomu; 鹿島央 (2002). Nihongo kyōiku o mezasu hito no tame no kiso kara manabu onseigaku (Shohan ed.). Tōkyō: Surīē Nettowāku. ISBN 4-88319-231-8. OCLC 51080098.
  3. Yamaoka, Kanako; 山岡花菜子 (2020). Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  4. 国立国語研究所 [NINJAL], 『国語研教授が語る「濁る音の謎」 (1) 鼻濁音』 (ภาษาญี่ปุ่น), สืบค้นเมื่อ 2021-06-22
  5. 国立国語研究所 『日本言語地図』第1集 第1図 地図画像 (ภาษาญี่ปุ่น) สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564
  6. Takayama, Tomoaki (2015). "Historical Phonology". Handbook of Japanese phonetics and phonology. Haruo Kubozono. Boston. ISBN 978-1-61451-198-4. OCLC 905734789.
  7. 7.0 7.1 Vance, Timothy J. (2008). The sounds of Japanese. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-61754-3. OCLC 227031753.
  8. 2012年4月19日ラジオ深夜便「くらしの中のことば」(当該部分の放送は20日0時台):国立国語研究所名誉所員 佐藤亮一による。
  9. "文化庁 | 国語施策・日本語教育 | 国語施策情報 | 第5期国語審議会 | 語形の「ゆれ」の問題". www.bunka.go.jp.
  10. "にほんごであそぼ 月の歌 - キッズワールド NHK Eテレ こどもポータル". www.nhk.or.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
  11. Akinaga, Kazue; 秋永一枝 (2014). Shin Meikai Nihongo akusento jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Haruhiko Kindaichi, 金田一春彦 (Dai 2-han ed.). Tōkyō Chiyoda-ku. ISBN 978-4-385-13672-1. OCLC 874517214.
  12. Enueichikē nihongo hatsuon akusento shinjiten (ภาษาญี่ปุ่น). NHK Hōsō Bunka Kenkyūjo, 日本放送協会放送文化研究所. Tōkyō: Enueichikēshuppan. 2016. ISBN 978-4-14-011345-5. OCLC 950889281.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  13. "鼻濁音の位置づけと現況|NHK放送文化研究所". NHK放送文化研究所 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. Suzuki, Yutaka; 鈴木豊 (2020). Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  15. Sanseidō Kokugo jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Hidetoshi Kenbō, 見坊豪紀, Sanseidō, 三省堂 (Daishichihan ed.). Tōkyō. 2014. ISBN 978-4-385-13926-5. OCLC 881844599.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  16. Nihon kokugo daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Shōgakkan. Kokugo Jiten Henshūbu, 小学館. 国語辞典編集部. (Seisenban, shohan ed.). Tōkyō: Shōgakkan. 2006. ISBN 4-09-521021-4. OCLC 70216445.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  17. Daijirin (ภาษาญี่ปุ่น). Akira Matsumura, 松村明, Sanseidō. Henshūjo, 三省堂. 編修所. (Daishihan ed.). Tōkyō. 2019. ISBN 978-4-385-13906-7. OCLC 1117711467.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)