ข้ามไปเนื้อหา

เสนียด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสนียด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Justicia
สปีชีส์: J.  adhatoda
ชื่อทวินาม
Justicia adhatoda
L.
ชื่อพ้อง

Adhatoda vasica Nees

เสนียด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Justicia adhatoda, อังกฤษ: Malabar nut, adulsa, adhatoda, vasa, หรือ vasaka)[1][2] เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ดอกช่อ ดอกย่อยกลีบแยกเป็นปาก สีขาวประม่วง เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย[3] กระจายทั่วไปในศรีลังกา เนปาล อินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน และปานามา[3]

ทุกส่วนของลำต้นเมื่อรับประทานทำให้คลื่นไส้อาเจียน[4] ชาวกะเหรี่ยงใช้รากต้มน้ำดื่มรักษาโรคหอบหืด เนื้อไม้ใช้ทำรั้ว[5]ในใบมีสารเคมีหลายชนิด เช่น อัลคาลอยด์ แทนนิน ซาโพนิน ฟีโนลิก และฟลาโวนอยด์[6] สารที่สำคัญคือวาสิซีน ซึ่งเป็นควินาโซลีนอัลคาลอยด์[3] พบในปริมาณ 0.541 - 1.1% ของน้ำหนักแห้ง ใช้เป็นพืชสมุนไพรตามตำรับยาอายุรเวท สิทธะ และอูนานี[3] ดอกเสนียดเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปัญจาบ ประเทศปากีสถานอย่างไม่เป็นทางการ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Common Names for Malabar Nut (Justicia adhatoda)". Encyclopedia of Life. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  2. Aslam, Mohd; Rais, Sumbul; Alam, Masood; Pugazhendi, Arulazhagan (2013). "Adsorption of Hg(II) from Aqueous Solution Using Adulsa (Justicia adhatoda) Leaves Powder: Kinetic and Equilibrium Studies". Journal of Chemistry. 2013: 1–11. doi:10.1155/2013/174807. ISSN 2090-9063.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Facts about for Malabar Nut (Justicia adhatoda)". Encyclopedia of Life. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  4. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
  5. http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=628&name=%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94
  6. Kumar, M., Kumar, A., Dandapat, S. and Sinha, M. P. Phytochemical screening and antioxidant potency of Adhatoda vasica and Vitex negundo, The Bioscan; 8(2): 727-730, 2013 http://www.thebioscan.in/Journal%20Supplement/82Sup26%20MANOJ%20KUMAR.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]