ข้ามไปเนื้อหา

เล เวี้ยต ก๊วก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล เวี้ยต ก๊วก
黎曰國
เกิดLê Viết Quốc
ค.ศ. 1982 (อายุ 41–42 ปี)
เฮืองถุย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ เวียดนาม
การศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาการเรียนรู้ของเครื่อง
สถาบันที่ทำงานกูเกิลเบรน
วิทยานิพนธ์การเรียนรู้ค่าแทนลักษณะแบบปรับสเกลได้ (2013)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกแอนดรูว์ อึ่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆอเล็กซ์ สโมลา

เล เวี้ยต ก๊วก (เวียดนาม: Lê Viết Quốc, จื๋อโนม: 黎曰國, เกิด 1982)[1] เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวเวียดนาม ผู้บุกเบิกด้านการเรียนรู้ของเครื่อง ทำงานที่กูเกิลเบรน เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมคิดค้นแบบจำลอง doc2vec[2] กับ seq2seq[3] ที่ใช้ในด้านการประมวลภาษาธรรมชาติ นอกจากนี้เขายังได้ริเริ่มและเป็นผู้นำโครงการริเริ่ม AutoML ของกูเกิลเบรน รวมถึงการนำเสนอเทคนิคการค้นหาสถาปัตยกรรมประสาท[4][5][6]

การศึกษาและการงาน

[แก้]

เล เวี้ยต ก๊วก เกิดที่เมืองเฮืองถุย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ ประเทศเวียดนาม[7] เขาเรียนที่ โรงเรียนมัธยมก๊วกห็อกเว้[8] ในปี 2004 เขาย้ายไปออสเตรเลียเพื่อศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อเล็กซ์ สโมลา (Alex Smola) และศึกษาวิธีการเคอร์เนล ในการเรียนรู้ของเครื่อง[9] ในปี 2007 เขาเข้ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ แอนดรูว์ อึ่ง

ในปี 2011 เขากลายมาเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งกูเกิลเบรน ร่วมกับแอนดรูว์ อึ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาขณะนั้น และ เจฟฟรีย์ ดีน และ เกรก คอร์ราโด นักวิจัยของกูเกิล[10] เลเป็นผู้นำการค้นพบขั้นตอนวิธีการเรียนรู้เชิงลึก ที่เป็นการคิดค้นครั้งสำคัญครั้งแรกของกูเกิลเบรน โดยทำการฝึกฝนบนหน่วยประมวลผลกลางแบบมัลติคอร์ 16,000 ตัว ทำให้มีความสามารถในการเรียนรู้ที่จะรู้จำแมวหลังจากดูวิดีโอในยูทูบโดยไม่เคยมีใครบอกว่า "แมว" คืออะไร[11][12]

ในปี 2014 เลได้ร่วมกับ อิลยา ซุซเคเวร์ (Ilya Sutskever) และ อูริออล วีญัลส์ (Oriol Vinyals) เสนอแบบจำลอง seq2seq สำหรับทำการแปลด้วยเครื่อง และในปีเดียวกันนั้น เขายังได้ร่วมกับ โตมาช มิโคโลฟ (Tomáš Mikolov) เสนอแบบจำลอง doc2vec ที่ใช้สำหรับการเรียนรู้ตัวแทนในการแปลงเอกสาร เขายังเป็นหนึ่งในผู้เขียนหลักและนักวิจัยของ ระบบการแปลด้วยเครื่องประสาทของกูเกิล (GNMT)[13]

เลริเริ่มและเป็นผู้นำโครงการ AutoML ของกูเกิลเบรน โดยรวมถึงการเสนอเกี่ยวกับการค้นหาสถาปัตยกรรมประสาท[14] เขาเป็นหนึ่งในผู้เขียน LaMDA ซึ่งเป็นแบบจำลองภาษาการสนทนาขนาดใหญ่ที่พัฒนาและเปิดตัวครั้งแรกในปี 2020 ภายใต้ชื่อ Meena ในปี 2022 เขาและผู้ทำงานร่วมกันได้เสนอให้ใช้ข้อความพร้อมรับแบบลูกโซ่ความคิด (chain-of-thought, CoT) เป็นวิธีการปรับปรุงความสามารถในการให้เหตุผลของแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'Quái kiệt' AI Lê Viết Quốc - người đứng sau thuật toán Transformers của ChatGPT". Viettimes - tin tức và phân tích chuyên sâu kinh tế, quốc tế, y tế (ภาษาเวียดนาม). 2023-02-09. สืบค้นเมื่อ 2023-07-03.
  2. Le, Quoc V.; Mikolov, Tomas (2014-05-22). "Distributed Representations of Sentences and Documents". arXiv:1405.4053 [cs.CL].
  3. Sutskever, Ilya; Vinyals, Oriol; Le, Quoc V. (2014-12-14). "Sequence to Sequence Learning with Neural Networks". arXiv:1409.3215 [cs.CL].
  4. "Le Viet Quoc, a young Vietnamese engineer who holds Google's brain". tipsmake.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
  5. Hernandez, Daniela. "A Googler's Quest to Teach Machines How to Understand Emotions". Wired (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 1059-1028. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
  6. Chow, Rony (2021-06-07). "Quoc V. Le: Fast, Furious and Automatic". History of Data Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-26.
  7. "Le Viet Quoc, a young Vietnamese engineer who holds Google's brain". tipsmake.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
  8. "Fulbright scholars Vietnam - Le Viet Quoc".
  9. "Meet Le Viet Quoc, a Vietnamese talent at Google". Tuoi Tre News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-02-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
  10. "Le Viet Quoc, a young Vietnamese engineer who holds Google's brain". tipsmake.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
  11. Markoff, John (2012-06-25). "How Many Computers to Identify a Cat? 16,000". The New York Times.
  12. Ng, Andrew; Dean, Jeff (2012). "Building High-level Features Using Large Scale Unsupervised Learning". arXiv:1112.6209 [cs.LG].
  13. "A Neural Network for Machine Translation, at Production Scale". Google Research Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-27. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
  14. Zoph, Barret; Le, Quoc V. (2017-02-15). "Neural Architecture Search with Reinforcement Learning". arXiv:1611.01578 [cs.LG].
  15. "Language Models Perform Reasoning via Chain of Thought". Google Research Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.