แอนดรูว์ อึ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนดรูว์ อึ่ง
อึ่งเมื่อปี 2017
เกิดแอนดรูว์ ยั๊น-ตัก อึ่ง
(1976-04-18) 18 เมษายน ค.ศ. 1976 (48 ปี)[1][ต้องการอ้างอิง]
สหราชอาณาจักร[1]
สัญชาติอังกฤษ
การศึกษาสถาบันแรฟเฟิลส์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (PhD)
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ (MS)
Carnegie Mellon University (BS)
มีชื่อเสียงจากปัญญาประดิษฐ์, ดีพเลิร์นนิง, MOOC, เทคโนโลยีการศึกษา
คู่สมรสแครอล อี ไรลีย์ (สมรส 2014)
บุตร2
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาปัญญาประดิษฐ์, แมชชีนเลิร์นนิง, เนชชรอลแลงเกวจพรอเซสซิง, คอมพิวเตอร์วิชชัน
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
กูเกิลเบรน
คอร์เซอรา (ร่วมก่อตั้ง)
ไป่ตู้รีเซิร์ช
วิทยานิพนธ์Shaping and Policy Search in Reinforcement Learning (2003)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกไมเคิล ไอ จอร์แดน
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงเอียน กู๊ดเฟลโลว์
เดวิด สตาเวนส์
พีเทอร์ แอบบีล
ก๊วก เวียต เล
แอชชูทอช แซกเซนา
เว็บไซต์www.andrewng.org
แอนดรูว์ อึ่ง
อักษรจีนตัวเต็ม吳恩達
อักษรจีนตัวย่อ吴恩达

แอนดรูว์ ยั๊น-ตัก อึ่ง (จีน: 吳恩達; Andrew Yan-Tak Ng; เกิดปี 1976) เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นที่แมชชีนเลิร์นนิง และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI)[2] อึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าของกูเกิลเบรน, อดีตหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำไป่ตู้ และเป็นผู้สร้างทีมพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของไป่ตู้ซึ่งพัฒนามาเป็นทีมนักวิทยาศาสตร์หลักพันคน[3]

อึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และผู้กำกับสแตนฟอร์ดเอไอแล็บ หรือ SAIL นอกจากนี้ เขายังมีส่วนร่วมอย่างมากในสาขาการศึกษาออนไลน์ ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งของทั้ง คอร์สเซอรา และ ดีพเลิร์นนิงดอตเอไอ (DeepLearning.AI)[4] เขาเป็นผู้นำความพยายามหลายครั้งที่จะ "ทำให้ดีพเลิร์นนิงเป็นของทุกคน" ("democratize deep learning") และได้สอนนักเรียนมากกว่า 2.5 ล้านคนผ่านทางคอร์สเรียนออนไลน์ของเขาจำนวนมาก[5][2] เขาเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลที่สุด ได้รับการยกย่องโดยนิตยสาร ไทม์ ให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของปี 2012 และผู้ทรงความคิดสร้างสรรค์ที่สุดของ ฟาสต์คัมปะนี ในปี 2014 ในปี 2018 เขาได้เปิดตัวและนำ ไอเอฟันด์ (AI Fund) ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัปที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ และยังก่อตั้ง แลนดิงเอไอ (Landing AI) ซึ่งให้บริการผลิตภัณฑ์ SaaS ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อน[6]

มุมมองต่อเอไอ[แก้]

อึ่งเชื่อว่าเทคโนโลยีเอไอจะพัฒนาชีวิตของผู้คน ไม่ใช่ทำให้เผาพันธุ์มนุษย์ "กลายเป็นทาส" ของมัน[3] เขาเชื่อว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้มีมากกว่าภัยที่เกิดจากเอไอ เขาเชื่อว่าแนวคิดเกี่ยวกับภัยร้ายจากเอไอนั้นถูกกระพือให้เลวร้ายเกินจริง[7] เขาเคยระบุว่า "การกังวลเกี่ยวกับผู้ร้ายอภิมหาฉลาดที่เป็นเอไอในตอนนี้ก็เหมือนกับการกังวลเกี่ยวกับประชากรล้นบนดาวอังคาร - เรายังไม่ได้ลงจอดบนดาวอังคารด้วยซ้ำ!"[7] เขามองว่าปัญหาแท้จริงที่ควรอยู่ในการพูดคุยในระดับวิชาการ อุตสาหกรรม และรัฐบาลคือความท้าทายต่อแรงงานที่เกิดจากจักรกลเหล่านี้[8] เป้าหมายเฉพาะหนึ่งของเขาคือการทำให้การเรียนรู้เอไอเป็นของทุกคน ("democratize") มุมมองต่อเอไอของอึ่งนี้เห็นตรงกันกับ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก แต่ขัดกันกับอีลอน มัสก์[8]

ในปี 2017 เขาระบุว่าเขาสนับสนุนให้มีรายได้พื้นฐานเพื่อช่วยให้คนไร้อาชีพสามารถศึกษาเอไอเพื่อที่จะกลับเข้าสู่การจ้างงานอีกครั้งได้[9]


อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Seligman, Katherine (December 3, 2006). "If Andrew Ng could just get his robot to assemble an Ikea bookshelf, we'd all buy one". SFGate. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
  2. 2.0 2.1 Terdiman, Daniel (March 22, 2017). "Baidu's head of artificial intelligence is stepping down". Fast Company. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
  3. 3.0 3.1 Mozur, Paul (March 22, 2017). "A.I. Expert at Baidu, Andrew Ng, Resigns From Chinese Search Giant". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
  4. "Andrew Ng – Stanford University". Coursera. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
  5. Andrew Ng at Amazon re: MARS 2019 (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-20, สืบค้นเมื่อ 2019-11-20
  6. "Home". Landing AI. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
  7. 7.0 7.1 "Is AI an existential threat to humanity? – Quora". quora.com. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
  8. 8.0 8.1 Thieme, Nick (2017-08-01). "Zuckerberg and Musk are arguing about the dangers of AI – they're both wrong". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26.
  9. "How will work and jobs change by 2035? – Quora". quora.com. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.