เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที5
a black and white photograph of a medium-sized ship underway
เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 ซึ่งโครงสร้างเป็นรุ่นเดียวกับ ที3
ประวัติ
ออสเตรีย-ฮังการี
ชื่อ87เอฟ
อู่เรือGanz & Danubius
ปล่อยเรือ5 มีนาคม 2457
เดินเรือแรก20 มีนาคม 2458
เข้าประจำการ25 ตุลาคม พ.ศ. 2458
หยุดให้บริการพ.ศ. 2461
ความเป็นไปส่งมอบให้ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ชื่อที5
ส่งมอบเสร็จมีนาคม พ.ศ. 2464
หยุดให้บริการเมษายน พ.ศ. 2484
ความเป็นไปอิตาลียึด
ราชอาณาจักรอิตาลี
ชื่อที5
ส่งมอบเสร็จเมษายน พ.ศ. 2484
หยุดให้บริการกันยายน พ.ศ. 2486
ความเป็นไปส่งคืนให้ยูโกสลาเวีย
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ชื่อที5
ส่งมอบเสร็จธันวาคม พ.ศ. 2486
หยุดให้บริการพฤษภาคม พ.ศ. 2488
ยูโกสลาเวีย
ชื่อเคอร์
ตั้งชื่อตามยุทธการเคอร์
ส่งมอบเสร็จพฤษภาคม พ.ศ. 2488
หยุดให้บริการพ.ศ. 2505
ความเป็นไปถูกแยกชิ้นส่วน
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที, เรือยิงตอร์ปิโดชั้น เอฟ
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
ความยาว: 58.5 m (191 ft 11 in)
ความกว้าง: 5.8 m (19 ft 0 in)
กินน้ำลึก: 1.5 m (4 ft 11 in)
ระบบพลังงาน:
  • 5000-6000 แรงม้า (3,700–4,500 กิโลวัตต์)
  • 2 × หม้อไอน้ำแบบยาร์โรว์
ระบบขับเคลื่อน:
  • 2 × เพลา
  • 2 × กังหันไอน้ำ AEG-Curtiss
  • ความเร็ว: 28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    พิสัยเชื้อเพลิง: 1,200 nmi (2,200 km; 1,400 mi)ที่ 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    อัตราเต็มที่: 38–41
    ยุทโธปกรณ์:
    • 2 × ปืนสโกด้า 66มม. (2.6 นิ้ว) แอล/30
    • 4 × ตอร์ปิโด450 mm (17.7 in)
    • 10-12 × ทุ่นระเบิดเรือ

    เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 (อังกฤษ: T5) เป็นเรือยิงตอร์ปิโดประจำการในราชนาวียูโกสลาเวียระหว่างปี 2464–2484 ชื่อเดิมคือ 87เอฟ (อังกฤษ: 87 F) เป็นเรือยิงตอร์ปิโดขนาด 250 ตัน (250 ตัน) ของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีระหว่างปี 2457–58 มีปืนขนาด 66 มม. (2.6 นิ้ว) สองกระบอก และท่อตอร์ปิโด 4 ท่อขนาด 450 มม. (17.7 นิ้ว) สี่ท่อ และสามารถบรรทุกทุ่นระเบิดเรือ 10-12 ลูก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีการใช้เรือในภารกิจขบวนเรือ ลาดตระเวน คุ้มกันและเก็บกวาดทุ่นระเบิด ปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำและภารกิจโจมตีชายฝั่ง หลังออสเตรีย-ฮังการีปราชัยในปี 2461 มีการจัดสรร 87เอฟ ให้แก่ราชนาวีราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชนาวียูโกสลาเวียและได้เปลี่ยนชื่อเป็น ที5 ขณะนั้น เรือดังกล่าวและเรือชั้น 250ที อื่น ๆ อีกเจ็ดลำเป็นเรือเดินสมุทรสมัยใหม่ไม่กี่ลำของกองทัพเรือนั้น

    ในสมัยระหว่างสงคราม ที5 และกองทัพเรือที่เหลือเข้าร่วมการฝึกซ้อมและลาดตระเวนไปท่าเรือฝ่ายเดียวกัน แต่กิจกรรมถูกจำกัดด้วยงบประมาณกองทัพเรือที่ลดลง อิตาลียึดเรือดังกล่าวได้ระหว่างการบุกครองยูโกสลาเวียของฝ่ายอักษะที่มีเยอรมนีเป็นผู้นำในเดือนเมษายน 2484 จากนั้นมีการปรับปรุงอาวุธหลักของเรือให้ทันสมัย เรือเข้าประจำการในกองทัพเรืออิตาลีภายใต้ชื่อยูโกสลาเวียเดิม ปฏิบัติภารกิจชายฝั่งและคุ้มกันแถวสองในทะเลเอเดรียติก หลังอิตาลียอมแพ้ในกันยายน 2486 อิตาลีส่งมอบเรือคืนแก่ราชนาวียูโกสลาเวียพลัดถิ่น เมื่อสงครามยุติ ก็มีการส่งมอบเรือให้กับกองทัพเรือยูโกสลาเวียใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น เคอร์ จนมีการแยกชิ้นส่วนในปี 2505

    เบื้องหลัง[แก้]

    ใน พ.ศ. 2453 คณะกรรมการเทคนิคทหารเรือออสเตรีย-ฮังการีริเริ่มโครงการการออกแบบและพัฒนาเรือยิงตอร์ปิโดชายฝั่งระวางขับน้ำ 275 ตัน (271 ลองตัน) และกำหนดว่าควรคงความเร็วได้ 30 นอต (56 กม./ชม.) เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ข้อกำหนดนี้ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ว่ากำลังข้าศึกจะปิดล้อมช่องแคบโอตรันโต ซึ่งเป็นที่บรรจบของทะเลเอเดรียติกกับทะเลไอโอเนียน ระหว่างความขัดแย้งในอนาคต ในพฤติการณ์เช่นนั้น มีความจำเป็นต้องใช้เรือยิงตอร์ปิโดซึ่งสามารถแล่นจากฐานทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี (เยอรมัน: kaiserliche und königliche Kriegsmarine) ที่อ่าวโคโทรไปช่องแคบดังกล่าวในยามกลางคืน หาตำแหน่งและโจมตีเรือที่ปิดล้อมแล้วกลับสู่ท่าเรือก่อนเช้า มีการเลือกเครื่องยนต์กังหันไอน้ำสำหรับการขับเคลื่อน เนื่องจากไม่มีน้ำมันดีเซลที่มีพลังงานที่จำเป็น และกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีไม่มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติในการใช้เรือกังหันไฟฟ้า บริษัทต่อเรือด้านเทคนิคของตรีเยสเต (อิตาลี: Stabilimento Tecnico Triestino, ชื่อย่อ: STT) ได้รับคัดเลือกให้ทำสัญญาต่อเรือแปดลำแรกในชื่อกลุ่ม ที มีการขอคำเสนอให้ต่อเรืออีกสี่ลำ แต่เมื่อบริษัทต่อเรือแกนซ์และดานูบิอุส (อิตาลี: Ganz Danubius) ซึ่งเป็นคู่แข่ง ลดราคาสิบเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีการสั่งเรือรวมสิบหกลำจากบริษัทดังกล่าว ชื่อว่ากลุ่ม เอฟ[1] ซึ่งกลุ่มชื่อเอฟ หมายถึงตำแหน่งอู่ต่อเรือหลักของแกนซ์และดานูบิอุสที่ฟีอูเม[2]

    การออกแบบและการต่อเรือ[แก้]

    87เอฟ ในปี พ.ศ. 2458

    เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 มีความยาว 250 ฟุต กลุ่มเอฟ มีความยาว 58.5 เมตร (191 ฟุต 11 นิ้ว) ความกว้าง 5.8 m (19 ft 0 in) และกินน้ำลึกปกติ 1.5 m (4 ft 11 in) มีระวางขับน้ำตามการออกแบบ 266 ตันและเพิ่มเป็น 330 ตัน เมื่อบรรทุกเต็มที่[2] สามารถบรรจุลูกเรือได้ 38–41 คน[1][2] เรือขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำ เออีจีเคอร์ทิสส์ 2 ใบพัด ขับเคลื่อนโดยหม้อไอน้ำแบบยาร์โรว์ 2 หม้อ [1] หม้อหนึ่งเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง และอีกหม้อหนึ่งเผาไหม้ถ่านหิน กังหันทั้งสองจัดเป็น 5,000 แรงม้า (3,700 กิโลวัตต์) และสูงสุดถึง 6,000 แรงม้า (4,500 กิโลวัตต์) และออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนเรือให้มีความเร็วสูงสุด 28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2] บรรทุกถ่านหิน 20 ตัน และน้ำมันเชื้อเพลิง 34 ตัน[3] ทำให้มีพิสัย 1,200 nmi (2,200 km; 1,400 mi) ที่ความเร็ว 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2] กลุ่มเอฟมีปล่องควันสองปล่องซึ่งมากกว่ากลุ่มทีซึ่งมีปล่องเดียว[1] เนื่องจากการจัดหาทุนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที ลำที่เหลือกลายเป็นเรือชายฝั่งโดยสภาพแม้ว่ามีเจตนาทีแรกให้ปฏิบัติการ "ทะเลน้ำลึก"[4] เป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือเล็กของออสเตรีย-ฮังการีที่ใช้ระบบกังหันและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับระบบใหม่[1]

    เรือลำนี้มีปืนสโกด้า 66 มิลลิเมตร (2.6 นิ้ว) แอล/30 2 กระบอก[a] และ ตอร์ปิโด 450 mm (17.7 in) 4 ลูก สามารถพกทุ่นระเบิดเรือ 10-12 ลูก[2] 87เอฟ เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2457 ถูกปล่อยลงน้ำ 20 มีนาคม พ.ศ. 2458 และขึ้นระวางวันที่ 25 ตุลาคมของปีเดียวกัน[5]

    การใช้งาน[แก้]

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]

    ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 87เอฟ ถูกนำมาใช้เพื่อลาดตระเวนคุ้มกันและกวาดทุ่นระเบิด รวมถึงปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำ[1] และภารกิจโจมตีชายฝั่ง[4][6] 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250 ที อีกสองลำเข้าร่วมปฏิบัติโจมตีชายฝั่งใน ออร์โทนา และซาน วีโท ชีลติโน ของอิตาลี นำโดยเรือรบหุ้มเกราะ เซนต์ กีออร์ก [6] สามวันต่อมาเรือลาดตระเวน เฮลโกแลนด์ เรือยิงตอร์ปิโด 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดรุ่น 250ที อีกห้าลำถูกดักฟังโดย เรือประมงลาดตระเวนส่วนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ จากเมืองเวย์มัทของอังกฤษ และเรือพิฆาต บูคลิเออร์ ของฝรั่งเศสบริเวณทางตอนเหนือของเมืองดูร์เรสโซ ในแอลเบเนีย ในระหว่างการปะทะกันระหว่างสองฝ่ายมีเพียงเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที 2 ลำเท่านันที่ได้รับความเสียหาย ในวันที่ 9 กรกฎาคมเรือลาดตระเวน นาวารา นำได้ร่วมกับ 87เอฟ และ เรือตอร์ปิโดชั้นไคมาน 2 ลำ ในการเข้าโจมตีกองเรือพันธมิตรที่ปิดกั้นช่องแคบโอตรันโต ผลของการปะทะทำให้เรือเดินสมุทรสองลำจมล่มลง[7] วันที่ 4 พฤศจิกายนเรือพิฆาตสามลำและเรือตอร์ปิโดสามลำของอิตาลีได้เผชิญหน้ากับเรือพิฆาตของออสเตรีย – ฮังการี สองลำ พร้อมเรือยิงตอร์ปิโดรุ่น 250 ที จำนวน 2 ลำ ทางตอนเหนือของทะเลเอเดรียติก วันรุ่งขึ้นเรือตอร์ปิโดสามลำของอิตาลีได้เข้าโจมตีบริเวณชายฝั่งแซนต์ เอลปิดิโอ[8] ในปี พ.ศ. 2460 ได้มีการติดตั้งปืน 66 มิลลิเมตรไว้บน 87เอฟ เพื่อใช้ปืนต่อต้านอากาศยาน[2] เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที สองลำได้เริ่มภารกิจโจมตีชายฝั่ง ซึ่งในภารกิจที่สอง 87เอฟ ได้เข้าร่วมกับเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที เจ็ดลำกับเรือพิฆาตอีกหกลำในการการโจมตีชายฝั่งปอร์โตคอร์ซินี่ มารอตตา และ เซเซนาติโก[9]

    เมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 ฝ่ายพันธมิตรได้เพิ่มกำลังการปิดล้อมอย่างต่อเนื่องบนช่องแคบโอตรันโต ตามที่กองทัพเรือออสเตรีย - ฮังการีคาดการณ์ไว้ ซึ่งส่งผลให้ปฏิบัติการณ์ของเรืออูของทั้งอออสเตรีย - ฮังการีและเยอรมันในทะเลเมดิเตอเรเนียนยากขึ้น ผู้บัญชาการกองทัพเรือออสเตรีย - ฮังการีคนใหม่ พลเรือตรีมิกโลช โฮร์ตี ตัดสินใจจะเข้าโจมตีกองเรือฝ่ายพันธมิตรโดยเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวนและเรือพิฆาต [10]ในตอนกลางคืนของวันที่ 8 มิถุนายน โฮร์ตี ได้นำทัพเรือออกจากฐานทัพเรือโพลาในทะเลเอเดรียติกตอนบนพร้อมเรือประจัญบานเดรดนอต วิริบัส ยูนิทิส และ พรินซ์ออยเกน เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2461 หลังจากมีปัญหาในการนำโซ่กันเรือในท่าเทียบเรือออก เรือประจัญบานเดรดนอต เซนต์ อิชต์วาน และ เทเก็ททอฟ [11] เรือพิฆาตหนึ่งลำและเรือยิงตอร์ปิโดหกลำซึ่งรวมถึง 87เอฟ ได้ออกจาก โพลา ไปยัง สลาโน ทางตอนเหนือของรากูซา (ปัจจุบันคือเมืองดูโบรฟนิก) เพื่อนัดพบกับกองเรือของโฮร์ตีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าโจมตีกองเรือพันธมิตรบริเวณช่องแคบโอตรันโต ในวันที่ 10 มิถุนายน เวลาประมาณ 03:15 [b]ในขณะที่เรือยนต์ยิงตอร์ปิโดสองลำของราชนาวีอิตาลี (อิตาลี: Regia Marina) เอ็มเอเอส 15 และ เอ็มเอเอส 21 กลับจากการลาดตระเวนนอกชายฝั่งแดลเมเชียได้เห็นควันจากเรือของออสเตรีย - ฮังการี ทั้งสองลำประสบความสำเร็จในการเจาะการคุ้มกันส่วนหน้าและแยกทางกันโดย เอ็มเอเอส 21 เข้าโจมตีเรือเทเก็ททอฟ แต่ตอร์ปิโดยิงพลาดเป้า [13] ณ เวลา 03:25 น. เอ็มเอเอส 15 ภายใต้การบังคับบัญชาของ ลุยจิ ริซโซ่ ยิงตอร์ปิโดสองลูกถูกเรือเซนต์ อิชต์วาน ซึ่งทำให้ห้องหม้อไอน้ำของเรือ เซนต์ อิชต์วาน เป็นรูรั่ว น้ำได้เข้าท่วมตัวเรือแต่ไม่สามารถระบายได้เนื่องจากน้ำได้ทำลายระบบพลังงานปั้มสูบน้ำไปแล้ว สามชั่วโมงต่อมาเรือ เซนต์ อิชต์วาน ได้อับปางลง[12] ในตุลาคม พ.ศ. 2461 ท่าเรือในเมืองดูร์เรสโซที่แอลเบเนียถูกระดมยิงโดยกองทัพเรือพันธมิตร 87เอฟ รอดจากการถูกโจมตีแต่เรือได้รับความเสียหายเล็กน้อย ซึ่งนั้นเป็นการทำหน้าที่สุดท้ายให้กับกองทัพเรือออสเตรีย - ฮังการี[14]

    สมัยระหว่างสงคราม[แก้]

    เรือยิงตอร์ปิโด 87เอฟ สามรถรอดจากสงครามได้[1] ใน พ.ศ. 2463 ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ทำให้เรือตกเป็นของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (KSCS, ภายหลังคือราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย) พร้อมกับเรือยิงตอร์ปิโดลำอื่นอีกในชั้น 250ที ได้แก่เรือกลุ่มเอฟ ได้แก่ 93เอฟ 96เอฟ และ 97เอฟ และเรือกลุ่มที สี่ลำ ต่อมาเรือได้เข้าประจำการใน ราชนาวียูโกสลาเวีย (เซอร์โบ-โครแอต: KJRM; Кpaљeвcкa Југословенска Pатна Морнарица) ซึ่งได้รับเรือในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464[15] และได้ถูกปล่อยชื่อเป็น ที5[2] ใน พ.ศ. 2468 ได้มีการจัดการซ้อมรบตามชายฝั่งแดลเมเชียซึ่งเกี่ยวข้องกับกองทัพเรือส่วนใหญ่[16] การซ้อมรบในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2472 มีเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที จำนวน 6 ลำซึ่งมาพร้อมกับเรือลาดตระเวน Dalmacija เรือสนับสนุนเรือดำน้ำ Hvar และเรือดำน้ำ Hrabri และ Nebojša ล่องเรือไปยังเกาะมอลตา เกาะคอร์ฟูของกรีซ ในทะเลไอโอเนียน และเมือง บีเซิร์ท ในตูนิเซียใต้อารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งไม่ชัดเจนว่า ที5 เป็นหนึ่งในเรือยิงตอร์ปิโดที่อยู่ในการซ้อมรบหรือไม่ ซึ่งเรือและลูกเรือสร้างความประทับใจที่ดีมากในขณะเดินทางเยือนมอลตา[17] ใน พ.ศ. 2475 กองเรือราชนาวีอังกฤษรายงานว่าราชนาวียูโกสลาเวียอยู่ในช่วงขาดงบประมาณทำให้การซ้อมรบและการฝึกยิงปืนใหญ่ลดลง[18]

    สงครามโลกครั้งที่สองและหลังสงคราม[แก้]

    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 ยูโกสลาเวียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเยอรมนีรุกรานยูโกสลาเวีย โดยในช่วงเวลาการรุกราน ที5 ได้รับมอบหมายให้อยู่ในกองเรือยิงตอร์ปิโดที่ 3 อยู่ใน ซิเบนิก ร่วมกับเรือกลุ่มเอฟอีกสามลำ[19] เมื่อวันที่ 8 เมษายน เรือยิงตอร์ปิโดทั้งสี่ลำของกองเรือยิงตอร์ปิโดที่ 3 พร้อมกับเรือลำอื่นถูกมอบหมายให้สนับสนุนการโจมตีเขตอิตาลีที่ซาดาร์ บนชายฝั่งแดลเมเชีย กองเรือถูกโจมตีทางอากาศจากกองทัพอากาศอิตาลีสามครั้งและหลังจากที่แล่นออกจากพื้นที่ซาทอนลงสู่ทะเลสาบ Prokljan ซึ่งกองเรืออยู่จนถึงวันที่ 11 เมษายน[20] ในวันที่ 12 เมษายนกองเรือยิงตอร์ปิโดที่ 3 ถึงเมืองมิลนาบนเกาะบราช และก่อนที่จะปฏิเสธที่คำสั่งให้แล่นเรือไปที่อ่าวคาร์[21] ในที่สุดทั้งสี่ลำถูกยึดโดยอิตาลี[22]

    ที5 ได้เข้าประจำการในราชนาวีอิตาลีทำหน้าที่คุ้มกันชายฝั่งและเส้นทางเดินเรือในทะเลเอเดรียติก เรือได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดยแทนปืนต่อต้านอากาศยานด้วยปืน 76 mm (3.0 in) แอล/40 [23] แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างจากเดิมมากหนัก[24] หลังจากที่อิตาลียอมจำนนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 อิตาลีก็ส่งมอบเรือคืนในเดือนธันวาคมของปีนั้น[1] ที5 ได้กลับเข้าประจำการในยูโกสลาเวียหลังสงครามและเปลี่ยนชื่อเป็น เคอร์ เรือถูกติดตั้งปืนขนาด 40 mm (1.6 in), 40 mm (1.6 in) และ ปืน 20 mm (0.79 in) และท่อตอร์ปิโดถูกถอดออก เรือยังทำหน้าที่จนกระทั่งปลดประจำการใน พ.ศ. 2505[25]

    หมายเหตุ[แก้]

    1. แอล / 30 หมายถึงความยาวของปืน ในกรณีนี้ปืนแอล / 30 เท่ากับปืนขนาด 30 คาลิเบอร์ ซึ่งหมายความว่าปืนยาว 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของปากกระบอกปืน
    2. ไม่มีเวลาที่แน่นอนเมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้นโดย Seiche ระบุบว่าเวลาคือ 3:15 น. เมื่อ เซนต์ อิชต์วาน ถูกโจมตี[12]ขณะที่ Sokol ระบุบว่าเวลา 3:30 น.[11]

    เชิงอรรถ[แก้]

    1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Gardiner 1985, p. 339.
    2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Greger 1976, p. 58.
    3. Jane's Information Group 1989, p. 313.
    4. 4.0 4.1 O'Hara, Worth & Dickson 2013, pp. 26–27.
    5. Greger 1976, p. 60.
    6. 6.0 6.1 Cernuschi & O'Hara 2015, p. 169.
    7. Cernuschi & O'Hara 2015, p. 170.
    8. Cernuschi & O'Hara 2015, p. 171.
    9. Cernuschi & O'Hara 2016.
    10. Sokol 1968, pp. 133–134.
    11. 11.0 11.1 Sokol 1968, p. 134.
    12. 12.0 12.1 Sieche 1991, pp. 127, 131.
    13. Sokol 1968, p. 135.
    14. Halpern 2012, pp. 259–261.
    15. Vego 1982, p. 345.
    16. Jarman 1997a, p. 733.
    17. Jarman 1997b, p. 183.
    18. Jarman 1997b, p. 451.
    19. Niehorster 2016.
    20. Terzić 1982, p. 333.
    21. Terzić 1982, p. 404.
    22. Greger 1976, pp. 58 & 60.
    23. Brescia 2012, p. 151.
    24. Chesneau 1980, p. 304.
    25. Gardiner 1983, p. 388.

    อ้างอิง[แก้]

    • Brescia, Maurizio (2012). Mussolini's Navy. Barnsley, South Yorkshire: Seaforth Publishing. ISBN 978-1-59114-544-8.
    • Cernuschi, Enrico & O'Hara, Vincent P. (2015). "The Naval War in the Adriatic Part I: 1914–1916". ใน Jordan, John (บ.ก.). Warship 2015. London: Bloomsbury. pp. 161–173. ISBN 978-1-84486-295-5.
    • Cernuschi, Enrico & O'Hara, Vincent P. (2016). "The Naval War in the Adriatic Part II: 1917–1918". ใน Jordan, John (บ.ก.). Warship 2016. London: Bloomsbury. pp. 62–75. ISBN 978-1-84486-438-6.
    • Chesneau, Roger, บ.ก. (1980). Conway's All the World's Fighting Ships 1922–1946. London: Conway Maritime Press. ISBN 978-0-85177-146-5.
    • Gardiner, Robert, บ.ก. (1985). Conway's All the World's Fighting Ships 1906–1921. London: Conway Maritime Press. ISBN 978-0-85177-245-5.
    • Gardiner, Robert, บ.ก. (1983). Conway's All the World's Fighting Ships 1947–1982. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-0-87021-919-1.
    • Greger, René (1976). Austro-Hungarian Warships of World War I. London: Ian Allan. ISBN 978-0-7110-0623-2.
    • Halpern, Paul G. (2012). A Naval History of World War I. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-0-87021-266-6.
    • Jane's Information Group (1989) [1946/47]. Jane's Fighting Ships of World War II. London: Studio Editions. ISBN 978-1-85170-194-0.
    • Jarman, Robert L., บ.ก. (1997a). Yugoslavia Political Diaries 1918–1965. Vol. 1. Slough, Berkshire: Archives Edition. ISBN 978-1-85207-950-5.
    • Jarman, Robert L., บ.ก. (1997b). Yugoslavia Political Diaries 1918–1965. Vol. 2. Slough, Berkshire: Archives Edition. ISBN 978-1-85207-950-5.
    • Niehorster, Leo (2016). "Balkan Operations Order of Battle Royal Yugoslavian Navy 6th April 1941". World War II Armed Forces: Orders of Battle and Organizations. Leo Niehorster. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
    • O'Hara, Vincent; Worth, Richard & Dickson, W. (2013). To Crown the Waves: The Great Navies of the First World War. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-1-61251-269-3.
    • Sieche, Erwin F. (1991). "S.M.S. Szent István: Hungaria's Only and Ill-Fated Dreadnought". Warship International. XXVII (2): 112–146. ISSN 0043-0374.
    • Sokol, Anthony Eugene (1968). The Imperial and Royal Austro-Hungarian Navy. Annapolis, Maryland: U.S. Naval Institute. OCLC 1912.
    • Terzić, Velimir (1982). Slom Kraljevine Jugoslavije 1941: Uzroci i posledice poraza [The Collapse of the Kingdom of Yugoslavia in 1941: Causes and Consequences of Defeat] (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Vol. 2. Belgrade, Yugoslavia: Narodna knjiga. OCLC 10276738.
    • Vego, Milan (1982). "The Yugoslav Navy 1918–1941". Warship International. XIX (4): 342–361. ISSN 0043-0374.