เปอนาตารัน
หน้าตา
จัณฑิเปอนาตารัน (อินโดนีเซีย: Candi Penataran) เป็นหนึ่งในหมู่จัณฑิฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย[1] ราว 12 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของบลีตาร์ เข้าใจว่าสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 ถึง 15 และมีบทบาทสำคัญยิ่งในรัชสมัยฮายัมวูรุกแห่งอาณาจักรมัชปาหิต[1][2] กษัตริย์ฮายัมวูรุกทรงถือให้จัณฑินี้เป็นวิหารโปรดของพระองค์[3]: 241
จัณฑิเปอนาตารันเป็นเทวสถานบูชาพระศิวะ และยังเป็นแหล่งรวมประติมากรรมนูนต่ำแสดงพระประวัติและอวตารต่าง ๆ ของพระวิษณุที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ภาพแกะสลักนูนต่ำยังรวมถึงเรื่องราวของพระรามในรามายณะแบบชวา และเรื่องราวของพระวิษณุในมหากาพย์กฤษณยาน[4][5][3]: 158 งานแกะสลักนูนต่ำแสดงมหากาพย์ของฮินดูที่พบที่เปอนาตารันกับที่ปรัมบานันในยกยาการ์ตาเป็นที่สนใจของนักโบราณคดีมาก[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Lydia Kieven (2013). Following the Cap-Figure in Majapahit Temple Reliefs: A New Look at the Religious Function of East Javanese Temples, Fourteenth and Fifteenth Centuries. BRILL. pp. 161–175. ISBN 978-90-04-25865-5.
- ↑ "Penataran Temple - One of Majapahit Inheritance in Blitar". East Java.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
- ↑ 3.0 3.1 Cœdès, George (1968). The Indianized states of Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 9780824803681.
- ↑ Jan Fontein (1973), The Abduction of Sitā: Notes on a Stone Relief from Eastern Java, Boston Museum Bulletin, Vol. 71, No. 363 (1973), pp. 21-35
- ↑ James R. Brandon (2009). Theatre in Southeast Asia. Harvard University Press. pp. 15–27. ISBN 978-0-674-02874-6.
- ↑ Willem Frederik Stutterheim (1989). Rāma-legends and Rāma-reliefs in Indonesia. Abhinav Publications. pp. 109–111, 161–172. ISBN 978-81-7017-251-2.