เบรฟ (เว็บเบราว์เซอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Brave
นักพัฒนาBrave Software, Inc.[1]
วันที่เปิดตัว13 พฤศจิกายน 2562 (รุ่น 1.0)
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนC, JavaScript, C++, Rust
เอนจิน
  • วี8 (จาวาสคริปต์เอนจิน)
แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ระบบปฏิบัติการ
ประเภทเว็บเบราว์เซอร์
สัญญาอนุญาต[2]
เว็บไซต์brave.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

เบรฟ (อังกฤษ: Brave) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ ฟรีและโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดย Brave Software, Inc. โดยมีพืนฐานมาจากเว็บเบราว์เซอร์โครเมียม ตัวเบราว์เซอร์มีการปิดกั้นโฆษณาและเครื่องมือติดตามเว็บไซต์ และมีช่องทางให้ผู้ใช้สนับสนุนโดยการส่งคริปโทเคอร์เรนซีในรูปแบบ Basic Attention Tokens ไปยังเว็บไซต์และผู้สร้างเนื้อหา

ณ ปี 2020 เบรฟได้มีการเผยแพร่สำหรับวินโดวส์, แมคโอเอส, ลินุกซ์, แอนดรอยด์ และไอโอเอส

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2015 ซีอีโอ เบรนดัน อิช (ผู้สร้างภาษาจาวาสคริปต์และอดีตซีอีโอของบริษัทมอซิลลา) และซีทีโอ Brian Bondy ได้ก่อตั้ง Brave Software [3] เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2016 Brave Software ได้เปิดตัวเบรฟเวอร์ชันแรกพร้อมความสามารถในการป้องกันโฆษณา และประกาศแผนการสำหรับโฆษณาที่เคารพความเป็นส่วนตัวและโปรแกรมแบ่งปันรายได้ [4]

ในเดือนมิถุนายน 2018 เบรฟได้เปิดตัวเบราว์เซิร์ฟเวอร์ชันทดสอบแบบเพย์ทูเซิร์ฟ เบรฟเวอร์ชันมีโฆษณาประมาณ 250 รายการและส่งบันทึกโดยละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเว็บของผู้ใช้ไปยังเบรฟเพื่อทดสอบการทำงานนี้ในระยะสั้น เบรฟประกาศว่าจะมีการทดลองเพิ่มเติมตามมา[5] หลังจากนั้นในเดือนนั้นเบรฟได้เพิ่มการรองรับทอร์ ในโหมดไม่ระบุตัวตนของเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อป [6]

จนถึงเดือนธันวาคมปี 2018 เบรฟทำงานบนฟอร์กของ Electron ที่เรียกว่า Muon ซึ่งโฆษณาไว้ว่าเป็น "ฟอร์กที่ปลอดภัยกว่า" อย่างไรก็ตามนักพัฒนาเบรฟได้ย้ายไปโดครมเมีนมโดยอ้างว่าต้องการลดภาระการบำรุงรักษา[7] Brave Software เปิดตัวเวอร์ชันสุดท้ายที่ใช้ Muon โดยมีเจตนาที่จะหยุดทำงานและสั่งให้ผู้ใช้อัปเดตเมื่อใกล้จะสิ้นสุดอายุการใช้งาน [8]

ในเดือนมิถุนายน 2019 Brave ได้เริ่มทดสอบอัลกอริทึมการจับคู่กฎการบล็อกโฆษณาใหม่ซึ่งเขียนในภาษา รัสต์ แทนก่อนหน้านี้ที่เขียนในภาษาซี++ อัลกอริทึมของ uBlock Origin และ Ghostery เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตรรกะใหม่ซึ่งเบรฟอ้างว่าทำงานเร็วกว่าอัลกอริทึมก่อนหน้าโดยเฉลี่ย 69 เท่า[9]

เบรฟเปิดตัวรุ่นเสถียรเวอร์ชัน 1.0 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2019 ในขณะที่มีผู้ใช้งานรวม 8.7 ล้านคนต่อเดือน[10] ในขณะนั้นมีผู้ใช้งานประมาณ 3 ล้านคนต่อวัน เบรฟ 1.0 ทำงานบนแอนดรอยด์, ไอโอเอส, วินโดวส์ 10, แมคโอเอส หรือลินุกซ์ ซึ่งรวม "ลักษณะโดดเด่นของเบรฟเกือบทั้งหมดในทุกแพลตฟอร์ม" ตามข้อมูลจาก engadget [11]

ในเดือนพฤศจิกายน 2020 เบรฟรายงานว่ามีผู้ใช้ 20 ล้านคนต่อเดือน[12][13] และในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคนต่อเดือน [14]

ในเดือนมกราคมปี 2021 Brave ได้รวมอีโคเซียเป็นหนึ่งในโปรแกรมค้นหาเว็บตัวเลือก[15]

รูปแบบธุรกิจ[แก้]

เบรฟใช้ Basic Attention Token (BAT) เพื่อเพิ่มรายได้[16] ก่อตั้งขึ้นในเดลาแวร์ในชื่อ Hyperware Labs, Inc. ในปี 2015 ต่อมาบริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น Brave Software, Inc. และจดทะเบียนในแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่[17]

ภายในเดือนสิงหาคม 2016 บริษัทได้รับเงินอย่างน้อย 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากนักลงทุนเทพบุตรจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน ซึ่งรวมถึง Founders Fund ของ Peter Thiel, Propel Venture Partners, Pantera Capital, Foundation Capital และ Digital Currency Group[18]

ในเดือนพฤศจิกายน 2019 Brave ได้เปิดตัว Brave Ads ซึ่งเป็นเครือข่ายโฆษณาที่คืนส่วนแบ่งรายได้ 70% ให้กับผู้ใช้[19] ลูกค้าของเครือข่ายรวมถึงบริษัทพันธมิตรเช่น Vice, Home Chef, ConsenSys, eToro และอื่น ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Company Overview of Brave Software Inc". Bloomberg. 4 April 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.
  2. "browser-laptop/LICENSE.txt at master". GitHub. 29 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2019. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
  3. Bondy, Brian (13 November 2019). "The road to Brave 1.0". Brave Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2019. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019. It took another few months to get initial funding, but in May 2015 we started this ambitious project.
  4. Ha, Anthony (20 January 2016). "With Brave Software, JavaScript's Creator Is Building A Browser for the Ad-Blocked Future". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  5. Lomas, Natasha (20 June 2018). "Blockchain browser Brave starts opt-in testing of on-device ad targeting". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  6. Shankland, Stephen (28 June 2018). "Brave advances browser privacy with Tor-powered tabs". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2018.
  7. Cimpanu, Catalin. "Brave browser moves to Chromium codebase, now supports Chrome extensions". ZDNet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 February 2019.
  8. "Brave browser goes 'full Chromium' by adopting Google UI". 16 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2019. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
  9. Tung, Liam. "Brave defies Google's moves to cripple ad-blocking with new 69x faster Rust engine". ZDNet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  10. Brave (13 November 2019). "Brave Launches Next-Generation Browser that Puts Users in Charge of Their Internet Experience with Unmatched Privacy and Rewards". Brave Browser. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2019. สืบค้นเมื่อ 15 November 2019.
  11. Bonifacic, Igor (13 November 2019), "Brave says 8.7 million people use its privacy-focused browser every month", Engadget, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2019, สืบค้นเมื่อ 16 November 2019
  12. Cimpanu, Catalin. "Brave becomes first browser to add native support for the IPFS protocol". ZDNet (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  13. Bambrough, Billy. "Millions Of Google Chrome Users Are Suddenly Making A Surprising Switch Because Of One Critical Feature". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  14. Brave (2021-02-02). "Brave Passes 25M MAUs and 8M DAUs". Brave Browser (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  15. Brave (2021-01-28). "Ecosia is now an Official Search Engine Option on Brave". Brave Browser (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  16. "Brave Wants to Destroy the Ad Business by Paying You to Watch Ads in Its Web Browser". Gizmodo. 24 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.
  17. "Business Search - Business Entities - Business Programs | California Secretary of State". businesssearch.sos.ca.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2021-02-20.
  18. Perez, Sarah (1 August 2016). "Brave, the ad-blocking browser from former Mozilla CEO, grabs $4.5 million". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2019.
  19. "The Brave browser launches ads that reward users for viewing". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.