ข้ามไปเนื้อหา

เนื้อปลาบด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื้อปลาบด (ญี่ปุ่น: すり身โรมาจิsurimi) เป็นวิธีการแปรรูปอาหารแบบหนึ่งโดยใช้เนื้อปลา

ภาพรวม

[แก้]

ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำส่วนประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ไส้กรอกปลา, คามาโบโกะ และ ลูกชิ้นปลา เป็นต้น

  • วัตถุดิบ ได้แก่ ปลาพอลล็อก, ปลาอิวาชิ, ปลาฮกเกะ และ กุ้งฝอย เป็นต้น[1][2]
  • มีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น เป็นการคิดค้นวิธีการปรุงเพื่อให้สามารถใช้ปลาซึ่งแต่ก่อนใช้เป็นอาหารได้ ในรูปแบบที่มนุษย์ยอมรับอย่างสูง[3]
  • การพัฒนาวิธีปรุงนี้มีส่วนให้การประมงของญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือมีการพัฒนาอย่างมาก[4] และปัจจุบัน อเมริกาเหนือได้เข้ามาแทนที่ด้วยการผลิตจำนวนมาก

การนำมาใช้

[แก้]

เนื้อปลาบดมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และได้รับการกล่าวถึงในวรรณคดีจากยุคเฮอังของญี่ปุ่นเมื่อ 900 ปีที่แล้วด้วย ต่อมาได้พัฒนาเป็นอาหารหลากหลาย เช่น คามาโบโกะ จิกุวะ และ ซัตสึมาอาเงะ (ทอดมันปลา)

  • ถูกใช้ในหลายประเทศ เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์หลายชนิด (คามาโบโกะ ปูอัด จิกุวะ ฯลฯ)
  • ในอาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีการใช้ผสมน้ำซุป (ซุปลูกชิ้นปลา) ฯลฯ
  • มีการทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ทะเล และยังมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในสลัดและแซนด์วิช
  • ในต่างประเทศนอกจากญี่ปุ่นก็มีการทำผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลาบดโดยใช้ชื่อว่า surimi ซึ่งมาจากภาษาญี่ปุ่น[4]

อ้างอิง

[แก้]
  • 岡田, 稔 (1987). "SURIMIとかまぼこ". 化学と生物. 25 (8). doi:10.1271/kagakutoseibutsu1962.25.535.
  • 山澤, 正勝 (1988). "技術用語解説". 日本食品工業学会誌. 35 (6). doi:10.3136/nskkk1962.35.6_456.
  • 野口, 敏 (1993). "冷凍すり身に関する最近の動向". 日本食品工業学会誌. 40 (9). doi:10.3136/nskkk1962.40.9_689.
  • 北上, 誠一 (1997). "冷凍すり身の昨日, 今日, 明日". 日本食品保蔵科学会誌. 23 (3). doi:10.5891/jafps.23.145.
  • 福田, 裕 (2013). "II-4. 利用・加工技術". 日本水産学会誌. 79 (1). doi:10.2331/suisan.79.70.
  1. 山澤 1988.
  2. 北上 1997.
  3. 福田 2013.
  4. 4.0 4.1 岡田 1987.