เนสลีชาห์ ซุลตาน
เนสลีชาห์ ซุลตาน | |
---|---|
เจ้าหญิงแห่งออตโตมัน เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ | |
ประสูติ | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน |
สิ้นพระชนม์ | 2 เมษายน พ.ศ. 2555 (91 ปี) อิสตันบูล ประเทศตุรกี |
พระสวามี | มุฮัมมัด อับดุล อัลมุนาอิม |
พระบุตร | เจ้าชายอับบาส ฮิลมี เจ้าหญิงอิกบาล |
ราชวงศ์ | ออตโตมัน |
พระบิดา | เชห์ซาเด เออเมร์ ฟารุก |
พระมารดา | ซาบีฮา ซุลตาน |
ศาสนา | อิสลาม |
ฟัตมา เนสลีชาห์ ซุลตาน (ตุรกีออตโตมัน: فاطمه نسل شاہ سلطان; 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 – 2 เมษายน พ.ศ. 2555) เป็นเจ้าหญิงออตโตมัน เป็นพระธิดาของเชห์ซาเด เออเมร์ ฟารุก กับซาบีฮา ซุลตาน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเป็นพระราชนัดดาของเคาะลีฟะฮ์อับดุลเมจิดที่ 2 กับเชห์ซูวาร์ ฮานึม พระมเหสีองค์แรก และเป็นพระราชนัดดาของสุลต่านเมห์เมดที่ 6 กับนาซีเคดา คาดึน พระมเหสีองค์แรก
หลังราชวงศ์ออตโตมันล่มสลาย เนสลีชาห์เสด็จลี้ภัยออกจากแผ่นดินแม่ขณะมีพระชันษาเพียงสามปี เจริญพระชันษาที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส
พระประวัติ
[แก้]เจ้าหญิงเนสลีชาห์เป็นพระธิดาพระองค์แรกจากทั้งหมดสามพระองค์ของเชห์ซาเด เออเมร์ ฟารุก (Șehzade Ömer Faruk) กับซาบีฮา ซุลตาน (Sabiha Sultan) พระชนกและพระชนนีต่างเป็นชนชั้นเจ้า พระชนกเป็นพระราชโอรสในเคาะลีฟะฮ์อับดุลเมจิดที่ 2 ส่วนพระชนนีเป็นพระราชธิดาในสุลต่านเมห์เมดที่ 6 หลังการล่มสลายของราชวงศ์ออตโตมันเนสลีชาห์เสด็จลี้ภัยออกจากแผ่นดินแม่ขณะมีพระชันษาเพียงสามปี เจริญพระชันษาที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส
เสกสมรส
[แก้]พ.ศ. 2483 เนสลีชาห์เสกสมรสกับมุฮัมมัด อับดุล อัลมุนาอิม พระราชโอรสในเคดิฟอับบาส ฮิลมีที่ 2 ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ อีกตำแหน่งหนึ่ง[1][2] แต่สองปีก่อน มุฮัมมัดเคยขอพระราชานุญาตและใช้พระราชทรัพย์จำนวน 50,000,000 ดอลลาร์สหรัฐจากพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์เพื่อสู่ขอเจ้าหญิงมือเซเยน (2452–2512) พระขนิษฐาของพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย[3] แต่ไม่สำเร็จ จึงเสกสมรสกับเจ้าหญิงเนสลีชาห์แทน
หลังเกิดการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2495 มุฮัมมัดพระภัสดาถูกเลือกเป็นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีอยู่สามคน ต่อมากลุ่มผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สามคนถูกยุบเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2495 มุฮัมมัดจึงกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองคืเพียงพระองค์เดียว[4] ส่วนเนสลีชาห์ในฐานะพระชายาของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการได้กลายเป็นพระราชินีโดยพฤตินัย ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเสด็จพระกอบพระกรณียกิจเกี่ยวกับงานการกุศลของพระสวามี และทรงร่วมเข้าแข่งขันกีฬาโปโลและเทนนิสระดับนานาชาติ[5]
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
[แก้]หลังการดำรงตำแหน่งในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของเจ้าชายมูฮัมหมัด ท้ายที่สุดอียิปต์ก็ทำการปฏิวัติยกเลิกระบอบสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 พระสวามีและพระองค์ถูกจับกุมด้วยข้อหาวางแผนต่อต้านนายพลกาเมล อับเดล นัสซอร์[6] ในเวลาต่อมาทั้งสองได้ถูกเนรเทศอีกครั้งซึ่งครั้งนี้เจ้าหญิงฟัตมาทรงพำนักในยุโรประยะหนึ่ง ก่อนที่จะเสด็จนิราศไปประทับในนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี[7] จนท้ายที่สุดเจ้าชายโมฮัมหมัดได้สิ้นพระชนม์ลงที่นั้นในปี ค.ศ. 1979
เจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ ทรงใช้ชีวิตบั้นปลายพระชนม์พำนักอยู่ในนครอิสตันบูลร่วมกับพระธิดาที่ไม่เสกสมรสคือ เจ้าหญิงอิกบาล[5] และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงองค์สุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมัน[8]
สิ้นพระชนม์
[แก้]เจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ เจ้าหญิงองค์สุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมัน สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2012 ด้วยพระอาการพระหทัยพิการ สิริพระชนมายุได้ 91 พรรษา[9][10] และมีพิธีฝังพระศพในวันอังคารที่ 3 เมษายนปีเดียวกัน ณ นครอิสตันบูล อดีตราชธานีของจักรวรรดิออตโตมัน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Montgomery-Massingberd 1980, p. 35
- ↑ Montgomery-Massingberd 1980, p. 247
- ↑ "TO WED KING ZOG'S SISTER; Prince Abdul Moneim Receives Egyptian Ruler's Permission". The New York Times. 12 July 1938.
- ↑ Rizk, Yunan Labib (27 January – 2 February 2005). "Royal help". Al-Ahram Weekly (727). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- ↑ 5.0 5.1 Raafat, Samir (March 2005). "Egypt's First Ladies". Egy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
- ↑ http://news.google.com/archivesearch?q=It+said+a+relative+of+former+King+Farouk%2C+Prince+Abdel+Moneim%2C+and+his+socialite+wife%2C+Nazli+Shaa%2C+had+been+arrested+in+connection+with+the+plot.&btnG=Search&um=1&ned=uk&hl=en&scoring=a
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
- ↑ http://www.ottomanfamily.com/index.php?page=4
- ↑ "Death of HIH The Princess Fatma Neslişah" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Possenhofen. 5 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Eldest member of Ottoman dynasty, Neslişah Sultan, dies" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Today's Zaman. 2 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-04. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Neslisah Sultan, Last Ottoman Dynasty Member, Dies at 91" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). The Inquisitr. 4 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Genealogy of Princess Fatma Neslishah as a member of the Ottoman Dynasty". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- "Genealogy of Princess Fatma Neslishah as a member of the Muhammad Ali Dynasty". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-02. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- (ฝรั่งเศส) interview with Neslişah Sultan on YouTube, about her family's exile
- (อังกฤษ) short biography