เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี

พิกัด: 16°04′26.8″N 99°51′26.9″E / 16.074111°N 99.857472°E / 16.074111; 99.857472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี
ทต.ขาณุวรลักษบุรีตั้งอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร
ทต.ขาณุวรลักษบุรี
ทต.ขาณุวรลักษบุรี
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี
พิกัด: 16°04′26.8″N 99°51′26.9″E / 16.074111°N 99.857472°E / 16.074111; 99.857472
ประเทศ ไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอขาณุวรลักษบุรี
จัดตั้ง • 8 พฤศจิกายน 2499 (สุขาภิบาลขาณุวรลักษบุรี)
 • 25 กุมภาพันธ์ 2542 (ทต.ขาณุวรลักษบุรี)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีธวัช ฤกษ์หร่าย
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด11.64 ตร.กม. (4.49 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[2]
 • ทั้งหมด8,045 คน
 • ความหนาแน่น691.15 คน/ตร.กม. (1,790.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05620401
ที่อยู่
สำนักงาน
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1084 ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร 62130
โทรศัพท์0 5587 0595
โทรสาร0 5587 0594
เว็บไซต์www.khanuworalaksaburi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการต่าง ๆ ของอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีประชากรในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 8,045 คน[2] มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลป่าพุทรา ตำบลแสนตอ และตำบลยางสูง ภายในเขตเทศบาลมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน เป็นจุดตัดระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1074 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1084 อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ 79 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 294 กิโลเมตร

เดิมทีเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรีมีฐานะเป็นสุขาภิบาลขาณุวรลักษบุรี โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เล่มที่ 73 ตอนที่ 99 ง ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499[3] ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลในปี พ.ศ. 2526[4] และได้เปลี่ยนฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก. ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[5]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรีตั้งอยู่ทางทิศออกของอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรประมาณ 68 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 294 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11.64 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,275 ไร่ โดยเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง ดังนี้[1]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางสูงและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทราและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ

สภาพภูมิประเทศ[แก้]

พื้นที่เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี มีแม่น้ำปิงไหลผ่านตรงกลาง โดยทั้งสองฝั่งมีลักษณะดังนี้[1]

  • พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ส่วนใหญ่ประชาชนจะประกอบอาชีพเกษตรกร เนื่องจากสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากแม่น้ำปิงไหลผ่าน ทำให้มีน้ำใช้เพียงพอแก่การเกษตรกรรม ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ ข้าว อ้อย มัน และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการที่สำคัญของอำเภอ อาทิ ที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี สถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี โรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี โรงเรียนขาณุวิทยา และหน่วยงานราชการอื่น ๆ
  • พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง เป็นพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมของเทศบาล ส่วนใหญ่ประชาชนจะประกอบอาชีพค้าขายผลผลิตทางการเกษตร โดยมีตลาดตาซ่วนเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ

สภาพภูมิอากาศ[แก้]

เนื่องจากพื้นที่เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรีมีสภาพอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้[1]

  • ฤดูร้อน เริ่มในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด
  • ฤดูฝน เริ่มในช่วงเดือนปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุก
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น

หมู่บ้านและประชากร[แก้]

พื้นที่เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรีมีประชากรทั้งหมด 8,045 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายทั้งหมด 3,880 คน และประชากรหญิงทั้งหมด 4,165 คน (เดือนธันวาคม 2564) ประกอบไปด้วย 11 หมู่บ้าน โดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าพุทราทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสูงทั้งหมด 1 หมู่บ้านและครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสนตอทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ดังนี้[2]

  • หมู่บ้านภายในเขตตำบลป่าพุทรา
  1. หมู่ที่ 1 บ้านหาดชะอมใต้
  2. หมู่ที่ 2 บ้านหาดชะอมเหนือ
  3. หมู่ที่ 3 บ้านป่าพุทรา
  4. หมู่ที่ 10 บ้านใหม่เนินทราย
  5. หมู่ที่ 12 บ้านพัฒนาชุมชน
  • หมู่บ้านภายในเขตตำบลยางสูง
  1. หมู่ที่ 1 บ้านบุ่ง
  • หมู่บ้านภายในเขตตำบลแสนตอ
  1. หมู่ที่ 1 บ้านหาดชะอม
  2. หมู่ที่ 2 บ้านแสนตอ
  3. หมู่ที่ 3 บ้านแสนตอ
  4. หมู่ที่ 4 บ้านเกาะสามสิบ
  5. หมู่ที่ 5 บ้านบนบ้าน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "สภาพทั่วไป : เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี". เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี. จังหวัดกำแพงเพชร.
  2. 2.0 2.1 2.2 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth. สืบค้น 26 มกราคม 2565.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขาณุวรลักษบุรี อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): 5–6. 8 พฤศจิกายน 2499.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลขาณุวรลักษบุรี อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (141 ง): 3064–3067. 30 สิงหาคม 2526.
  5. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]