เต่าหัวค้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เต่าจะละเม็ด)
เต่าหัวค้อน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 110–0Ma ครีเตเชียส - ปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
ชั้นย่อย: Anapsida
อันดับ: Testudines
วงศ์ใหญ่: Chelonioidea
วงศ์: Cheloniidae[1]
สกุล: Caretta
Rafinesque, 1814
สปีชีส์: C.  caretta
ชื่อทวินาม
Caretta caretta
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย
  • C. c. caretta
  • C. c. gigas
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีแดงคือที่ ๆ ยังพบอยู่ สีเหลืองคือ ที่ ๆ พบน้อยมากหรือไม่พบแล้ว)
ชื่อพ้อง
  • Testudo Caretta
    Linnaeus, 1758
  • Testudo Cephalo
    Schneider, 1783
  • Testudo nasicornis
    Lacépède, 1788
  • Testudo Caouana
    Lacépède, 1788
  • Chelone caretta
    Brongniart, 1805
  • Chelonia Caouanna
    Schweigger, 1812
  • Caretta nasuta
    Rafinesque, 1814
  • Chelonia cavanna
    Oken, 1816
  • Caretta atra
    Merrem, 1820
  • Caretta Cephalo
    Merrem, 1820
  • Caretta nasicornis
    Merrem, 1820
  • Chelonia caretta
    Bory de Saint-Vincent, 1828
  • Testudo Corianna
    Gray, 1831
  • Chelonia pelasgorum
    Valenciennes in Bory de Saint-Vincent, 1833
  • Chelonia cephalo
    Gray, 1829
  • Chelonia (Caretta) cephalo
    Lesson in Bélanger, 1834
  • Chelonia caouanna
    Duméril & Bibron, 1835
  • Chelonia (Thalassochelys) Caouana
    Fitzinger, 1836
  • Chelonia (Thalassochelys) atra
    Fitzinger, 1836
  • Thalassochelys caretta
    Bonaparte, 1838
  • Chelonia (Caouanna) cephalo
    Cocteau in Cocteau & Bibron in Ramon de la Sagra, 1838
  • Halichelys atra
    Fitzinger, 1843
  • Caounana Caretta
    Gray, 1844
  • Caouana elongata
    Gray, 1844
  • Thalassochelys Caouana
    Agassiz, 1857
  • Thalassochelys corticata
    Girard, 1858
  • Chelonia corticata
    Strauch, 1862
  • Thalassochelys elongata
    Strauch, 1862
  • Thalassochelys caouana
    Nardo, 1864
  • Eremonia elongata
    Gray, 1873
  • Caretta caretta
    Stejneger, 1873
  • Thalassochelys cephalo
    Barbour & Cole, 1906
  • Caretta caretta caretta
    Mertens & Muller, 1928
  • Caretta gigas
    Deraniyagala, 1933
  • Caretta caretta gigas
    Deraniyagala, 1939
  • Caretta caretta tarapacana
    Caldwell, 1962
  • Chelonia cahuano
    Tamayo, 1962
  • Caretta careta
    Tamayo, 1962

เต่าหัวค้อน หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ด (อังกฤษ: Loggerhead) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caretta caretta จัดเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Caretta[2]

ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าตนุ (Chelonia mydas) มาก ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน 5 แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้ายและเป็นสันแข็งเห็นชัดเจน กระดองมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลส้ม ขอบชายโครงมีสันแข็ง ขณะที่ยังเป็นลูกเต่ากระดองจะยกสูง ที่สำคัญเป็นจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่โตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขาซึ่งเป็นใบพายทั้งคู่หน้าและคู่หลังมีเล็บหนึ่งเล็บในแต่ละข้าง

ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดกระดองหลังยาวประมาณ 85 เซนติเมตร กระดองท้อง 60 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำมีเปลือกและหอย เป็นอาหารหลัก[3]

พบน้อยมากที่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบน้อยมาก และไม่พบรายงานว่ามีการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังพบได้บ้างที่เขตอบอุ่นทางตอนเหนือของออสเตรเลียและทะเลญี่ปุ่น หรืออินโดนีเซีย

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ที่น่านน้ำของจังหวัดสตูลได้มีชาวประมงวางอวนแล้วติดเต่าหัวค้อนขึ้นมาตัวหนึ่ง น้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม ซึ่งเต่าได้รับบาดเจ็บ ชาวบ้านจึงนำกลับมารักษาเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน จากนั้นจึงนำส่งต่อให้หน่วยงานภาครัฐของจังหวัดภูเก็ตดูแลต่ออีก 17 เดือน จนกระทั่งเต่าแข็งแรงขึ้น ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 จึงได้มีการปล่อยเต่าตัวนี้กลับคืนสู่ทะเล[4]

สถานะปัจจุบันของเต่าหัวค้อนในประเทศไทย ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เช่นเดียวกับเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Caretta caretta ที่วิกิสปีชีส์