ทิโมธี (เต่าบก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิโมธี
ทิโมธีใน ค.ศ. 1993: ป้ายแท็กเขียนไว้ว่า "ฉันชื่อทิโมธี ฉันแก่มาก – โปรดอย่าหยิบฉันขึ้นมา"
สปีชีส์เต่าบกกรีก (Testudo graeca)
เพศเมีย
ฟักไข่ประมาณ 1844
จักรวรรดิออตโตมัน[1]
ตาย (อายุ 160)[2]
ปราสาทพาวเดอร์แฮม เดวอน ประเทศอังกฤษ

ทิโมธี (อังกฤษ: Timothy; ป. ค.ศ. 1844 – 3 เมษายน ค.ศ. 2004) เป็นเต่าบกกรีกแถบเมดิเตอร์เรเนียนขนาด 5 กิโลกรัม (11 ปอนด์) คาดการณ์ว่ามีอายุตอนตายที่ประมาณ 160 ปี นั่นทำให้มันเป็นผู้อยู่อาศัยที่แก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในสหราชอาณาจักร[3] ทิโมธีเป็นเต่าบกเพศเมีย แม้จะมีชื่อเป็นเช่นนั้นก็ตาม เนื่องจากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยังไม่รู้เรื่องวิธีการระบุเพศเต่าบก ทิโมธีได้รับการตั้งชื่อตามเต่าบกที่กิลเบิร์ต ไวต์เป็นเจ้าของ[4]

เชื่อกันว่าทิโมธีเกิดที่ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนของจักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี)[1] และกัปตัน John Guy Courtenay-Everard จากราชนาวี พบมันตอนอายุ 10 ปีเดินทางไปพร้อมกับสลัดหลวงโปรตุเกสเมื่อ ค.ศ. 1854 เต่าบกตัวนี้ทำหน้าที่เป็นมาสคอตของกองทัพเรือจนถึง ค.ศ. 1892 โดยเป็นมาสคอตของเรือเอชเอ็มเอส ควีน ในช่วงการระดมยิงเซวัสโตปอลครั้งแรกในสงครามไครเมีย (ทิโมธีเป็นผู้รอดชีวิตตัวสุดท้ายในสงครามนี้)[2] จากนั้นจึงย้ายไปยังเอชเอ็มเอส พรินเซสส์ ชาร์ลอตต์ ตามมาด้วยเอชเอ็มเอส นานกิน[3]

หลังรับใช้ทางทะเลเสร็จ ทิโมธีจึงเกษียณด้วยการที่เอิร์ลแห่งเดวอนนำมันกลับไปที่ปราสาทพาวเดอร์แฮม บ้านของเขา ทิโมธีจึงอาศัยอยู่ในสาวกุหลาบของปราสาทตั้งแต่ ค.ศ. 1935 และถือครองโดย Camilla Gabrielle Courtenay (1913–2010) ลูกสาวของเอิร์ลที่ 16 แห่งเดวอน[2]

ใน ค.ศ. 1926 เจ้าของของทิโมธีตัดสินใจหาคู่ให้ แล้วพบภายหลังว่ามันเป็นเพศเมีย[3][5] แม้จะมีข้อมูลเช่นนี้ ความพยายามในการผสมพันธุ์กลับล้มเหลว

ทิโมธีถูกฝังไว้ที่ปราสาทพาวเดอร์แฮม[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • โจนาธาน (เต่าบก) สัตว์เลื้อยคลานมีชีวิตที่แก่ที่สุดเท่าที่มีมา ข้อมูลเมื่อ 2023 (อายุ 191–192 ปี)
  • หลิน วั่ง ช้างอินเดียที่ตายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 (85 ปี)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Bruce (2004), p. 2.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Timmy the tortoise dies aged 160". BBC News. 7 April 2004. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 "War Hero Tortoise Dies, Aged 160". Sky News. 7 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2014. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  4. Bruce (2004), pp. 17–24.
  5. "Facts & Figures". Powderham Castle. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]