เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ (ซาวด์แทร็ก)
เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ | ||||
---|---|---|---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย รวมศิลปิน | ||||
วางตลาด | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | |||
สตูดิโอ | แอร์สตูดิโอ, ลอนดอน อังกฤษ | |||
แนวเพลง | ||||
ความยาว | 76:00 | |||
ค่ายเพลง | ดรีมเวิกส์เรเคิดส์ | |||
โปรดิวเซอร์ | จิมมี แจมและเทร์รี ลูอิส, เบบีเฟส, ไมเคิล โอมาร์เตียน, ฮันส์ ซิมเมอร์ | |||
เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากเดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ | ||||
|
คะแนนคำวิจารณ์ | |
---|---|
ที่มา | ค่าประเมิน |
ออลมิวสิก | [1] |
ฟิล์มแทร็กส์ | [2] |
เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ (อังกฤษ: The Prince of Egypt) เป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์แอนิเมชันเดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์อย่างเป็นทางการ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 โดยมีทั้งเพลงและดนตรีประกอบและเพลงที่ไม่ได้ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ อัลบั้มได้รับอันดับสูงสุดที่อันดับ 1 ในการจัดอันดับ ท็อปคอนเทมโพรารีคริสเตียน (Top Contemporary Christian) ของนิตยสารบิลบอร์ด และอันดับที่ 25 ในการจัดอันดับบิลบอร์ด 200
นอกจากอัลบั้มนี้แล้ว ยังมีการออกอัลบั้มที่มีส่วนควบ คือฉบับสำหรับนักสะสม ฉบับคันทรี และฉบับสร้างแรงบันดาลใจ รุ่นต่าง ๆ เหล่านี้มีเพลงที่ไม่ได้นำเสนอในภาพยนตร์ แต่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของการอพยพในพระคัมภีร์ไบเบิล
ยังมีการตัดซิงเกิลฮิตจำนวนหนึ่งจากอัลบั้มนี้ จากเพลงลำดับแรกของอัลบั้มคือ เวนยูบีลีฟ (When You Believe) ซึ่งร้องประสานเสียงคู่โดยมารายห์ แครีและวิตนีย์ ฮิวสตัน, จากเพลงลำดับที่สิบหก ทรูเฮฟเวนอายส์ (Through Heaven's Eyes) ขับร้องโดยคู่ดูโอแนวอาร์แอนด์บี เค-ซีแอนด์โจโจ (K-Ci & JoJo) และเพลงสุดท้ายของอัลบั้ม ไอวิลเก็ตแดร์ (I Will Get There) ขับร้องแบบอะแคปเปลลาโดยวงอาร์แอนด์บีกลุ่มสี่ บอยซ์ทูเมน
บทเพลง
[แก้]ดีลิเวอร์อัส (Deliver Us) เป็นเพลงเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งแสดงความรุนแรงและความยากลำบากที่ทาสชาวฮีบรูต้องทน และความสิ้นหวังของมารดาของโมเสส[3] เพลงนี้สลับไปมาระหว่างเสียงทาสชายที่มีจังหวะกลองหนัก ๆ และเสียงผู้หญิงร้องเพลงกล่อมเด็กอย่างอ่อนโยนให้กับทารกโมเสส[4]
เพลงกล่อมเด็กของเพลง ดีลิเวอร์อัส ขับร้องโดยนักร้องชาวอิสราเอล โอฟรา ฮาซา และนักแสดงสาวจากดิสนีย์ เอเดน รีเกล (Eden Riegel) ในขณะที่ดนตรีประกอบประพันธ์โดยฮันส์ ซิมเมอร์[5] ซึ่งคริสโตเฟอร์ โคลแมนได้อธิบายว่า "เพลง "ดีลิเวอร์อัส" มีเสียงร้องอันทรงพลังที่คาดหวังไว้... แทร็กนี้จบลงด้วยความกะทันหันซึ่งคล้ายกับเพลงเปิดของเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เดอะไลออนคิง ที่ได้รับรางวัลออสการ์ซึ่งประพันธ์โดยซิมเมอร์[6] สตีเฟน ชวาร์ตซ์ อธิบายการใช้คำว่า เอโลฮิม (Elohim; אֱלֹהִים) ในเนื้อเพลง "ผมต้องการคำภาษาฮีบรูที่อ้างอิงถึงพระเจ้าซึ่งมีเสียงเหมือนจริงเพื่อช่วยกำหนดเวลาและสถานที่ ตัวเลือกแรกของผมคือ อาโดนาย (Adonai ; אֲדֹנָי) แต่ที่ปรึกษาด้านศาสนาในภาพยนตร์บอกผมว่าการใช้คำนั้นในบริบทนั้น ลักษณะจะเป็นการดูหมิ่นศาสนา ดังนั้นผมจึงเลือก "เอโลฮิม" แทน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามันค่อนข้างเป็นคำโบราณและอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกำหนดคำให้เข้ากับจังหวะดนตรี !"[7]
ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด (All I Ever Wanted) ขับร้องโดย อามิก ไบแรม (Amick Byram) ผู้ให้เสียงในบทโมเสส หลังจากที่โมเสสพบว่าเขาถูกรับอุปการะ ซึ่งส่งผลให้เขาตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวตนความเป็นชาวอียิปต์และมรดกประเพณีฮีบรูของเขา จากนั้นร้องทวนซ้ำโดยลินดา ดี เชนน์ (Linda Dee Shayne) ซึ่งให้เสียงเป็นราชินีแห่งอียิปต์ ผู้ซึ่งสร้างความมั่นใจให้โมเสสถึงตำแหน่งในครอบครัวของพวกเขา เพลงนี้เขียนโดยสตีเฟน ชวาร์ตซ์ (Stephen Schwartz) ซึ่งเดินทางไปเยี่ยมชมวิหารอียิปต์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ มีบางสิ่งเมื่อเดินผ่านเสาสีขาวสวยงามเหล่านั้นที่สะท้อนกับแสงจันทรเผยให้เห็นอักษรอียิปต์โบราณที่จุดประกายความคิดถึงทำนองและทำให้เกิดเพลง "ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด"[8] เว็บไซต์ฟิล์มแทร็ก วิจารณ์ว่า ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด ให้ความหวังและเบิกบาน คือความเป็นชวาร์ตซ์ในการจำลองแบบที่ใกล้เคียงที่สุดของบทเพลงแห่งความหวังในเพลงของฮีโร่ ที่อลัน เมนเกน (Alan Menken) ได้สร้างชื่อเสียงมาตลอดทศวรรษ ความแน่วแน่ในเพลงสั้น ๆ นี้แน่ชัด และการขับร้องซ้ำของราชินีก็ผสานเข้ากับท่วงทำนองของสายน้ำจาก ดีลิเวอร์อัส (Deliver Us) ในตอนท้ายได้อย่างงดงาม[2] อย่างไรก็ตามนิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ได้วิจารณ์ว่า "แม้จะฟังเพลงไอ-วอนต์ซ้ำ ๆ (I-want, ชื่ออย่างไม่เป็นทางการของเพลงออลไอเอเวอร์วอนเต็ด) ท่อนแรกของโมเสสก็ไม่น่าจดจำ แม้ว่าในอีกฉากหนึ่งราชวงศ์ที่ชะตาตกต่ำจะช่วยผิวปากทำนองเพลงในช่วงสั้น ๆ ก็ตาม"[9] หนังสือพิมพ์ แอลเอวีคลี (LA Weekly) รายงานว่าเป็น "บทเพลงที่ต่ำกว่ามาตรฐานเพลงหนึ่งของสตีเฟน ชวาร์ตซ์"[10]
"ทรูเฮเวนส์อายส์" ("Through Heaven's Eyes") ขับร้องประกอบภาพยนตร์โดย ไบรอัน สโตกส์ มิตเชลล์ (Brian Stokes Mitchell) ในขณะที่ซิงเกิลเพลงป๊อปขับร้องโดยดูโอแนวอาร์แอนด์บี เค-ซีแอนด์โจโจ (K-Ci & JoJo) สโตกส์ มิตเชลล์ให้เสียงร้องเพลงของตัวละครยิโตร (Jethro; יִתְרוֹ) พ่อของซิปโปราห์ (Tzipporah; צִפּוֹרָה) และพ่อตาในอนาคตของโมเสส ซึ่งแสดงโดยแดนนี โกลเวอร์ (Danny Glover) ดนตรีและเนื้อเพลงประพันธ์โดยสตีเฟน ชวาร์ตซ์ ซึ่งกล่าวว่า เพลงนี้เป็น "เพลงโปรด" ของเขาสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้: "...สตีเวน ฮิกเนอร์ (Steven Hickner) หนึ่งในผู้กำกับ มาพร้อมกับบทกวีชื่อ "เดอะเมเชอร์ออฟอะแมน" (The Measure of a Man) และผมใช้ปรัชญาในบทกวีเป็นฐานในการแต่งเนื้อเพลง..." เว็บไซต์ฟิล์มแทร็ก กล่าวว่าเพลงนี้เป็นเพลงโปรดของผู้ฟัง แต่เสียงของสโตกส์ มิตเชลล์ กลบทับลักษณะของดนตรีโฟล์กพื้นหลัง ฟิล์มแทร็กยังวิจารณ์ว่า "เวอร์ชันของเค-ซีแอนด์โจโจ เป็นสิ่งที่นักวิจารณ์ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ไม่สามารถให้คะแนนได้"[2] นิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้คำจำกัดความว่าเพลงนี้มีรูปแบบลำนำข้างกองไฟของเพลงฮาวา นากีลา[9]
ฟิล์มแทร็กให้หมายเหตุว่า: " เพลงเดอะเพลกส์ (The Plagues)...ย้อนแย้งลักษณะโคลงสั้น ๆ ของบทเพลงในตอนต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการขับร้องที่เกี้ยวกราดอย่างจงใจ..."[2]
รางวัลที่สำคัญ
[แก้]ในงานประกาศผลอะแคเดมีอะวอร์ดครั้งที่ 71 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเพลง “เวนยูบีลีฟ” และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์เพลงหรือตลกยอดเยี่ยม
รายชื่อเพลง
[แก้]เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยสตีเฟน ชวาร์ตซ์ ยกเว้นที่ระบุไว้ ดนตรีทั้งหมดประพันธ์โดยฮันส์ ซิมเมอร์
ลำดับ | ชื่อเพลง | ผู้ขับร้อง | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "เวนยูบีลีฟ (จากเดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์)" (อำนวยการผลิต โดยเบบีเฟส) | มารายห์ แครี และวิตนีย์ ฮิวสตัน | 5:04 |
2. | "ดีลิเวอร์อัส" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยซิมเมอร์) | โอฟรา ฮาซา และเอเดน รีเกล | 7:15 |
3. | "เดอะเรไพรแมนด์" | 4:05 | |
4. | "ฟอลโลวิงซิปโปราห์" | 1:00 | |
5. | "ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด (วิทควีนส์รีไพรซ์)" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยซิมเมอร์ และแฮรี เกรกสัน-วิลเลียมส์) | อมิก บายราม และลินดา ดี เชน | 2:51 |
6. | "กูดบายบราเทอร์" | โอฟรา ฮาซา | 5:33 |
7. | "ทรูเฮเวนส์อายส์" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยกาวิน กรีนาเวย์) | ไบรอัน สโตกส์ มิตเชลล์ | 3:41 |
8. | "เดอะเบิร์นนิงบุช" | 7:17 | |
9. | "เพลย์อิงวิทเดอะบิ๊กบอยส์" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยจอห์น โพเวลล์) | สตีฟ มาร์ติน และมาร์ติน ชอร์ต | 2:52 |
10. | "คราย" | 3:50 | |
11. | "แรลลี" | 0:42 | |
12. | "เดอะเพลกส์" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยกาวิน กรีนาเวย์) | เรล์ฟ ไฟนส์ และอมิก บายราม | 2:40 |
13. | "เดธออฟเดอะเฟิสต์บอร์น" | 1:07 | |
14. | "เวนยูบีลีฟ" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยซิมเมอร์) | มิเชลล์ ไฟฟ์เฟอร์ และแซลลี ดวอร์สกี | 4:55 |
15. | "เรดซี" | 5:14 | |
16. | "ทรูเฮเวนส์อายส์" | เค-ซีแอนด์โจโจ | 5:05 |
17. | "ริเวอร์ลัลละบี" | เอมี แกรนต์ | 3:57 |
18. | "ฮิวแมนิตี" | เจสซิกา แอนดรูว์ส, คลินต์ แบล็ก, เชอร์ลีย์ ซีซาร์, เจสซี แคมเบลล์, เบท นีลเซน แชปแมน, บอยซ์ทูเมน, เควิน แมกซ์ | 4:32 |
19. | "ไอวิลล์เก็ตแดร์" (ประพันธ์เพลง: ไดแอน วอร์เรน) | บอยซ์ทูเมน | 4:20 |
ความยาวทั้งหมด: | 76:00 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ผู้ขับร้อง | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "อิตทีสโอนลีบีกินนิง..." | 3:44 | |
2. | "ฟรีดอม" | ไวนอนนา | 4:41 |
3. | "เดอะริเวอร์" | ซีซ์ วินานส์ | 3:53 |
4. | "ฮิวแมนิตี" | เจสซิกา แอนดรูว์ส, คลินต์ แบล็ก, เชอร์ลีย์ ซีซาร์, เจสซี แคมเบลล์, เบท นีลเซน แชปแมน, บอยซ์ทูเมน, เควิน แมกซ์ | 4:33 |
5. | "ทรูเฮเวนส์อายส์" | ไบรอัน สโตกส์ มิตเชลล์ | 3:37 |
6. | "แชเรียตเรซ" | 6:27 | |
ความยาวทั้งหมด: | 26:55 |
การจัดอันดับ
[แก้]
อันดับรายสัปดาห์[แก้]
อันดับรายเดือน[แก้]
|
อันดับประจำปี[แก้]
|
การรับรองและยอดขาย
[แก้]ประเทศ | การรับรอง | จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย |
---|---|---|
Canada (Music Canada)[17] | Gold | 50,000^ |
United States (RIAA)[18] | Platinum | 1,000,000^ |
^ตัวเลขการจัดส่งขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ ที่ออลมิวสิก
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Filmtracks: The Prince of Egypt (Hans Zimmer)". filmtracks.com. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
- ↑ "The Critical Eye | Prince of Egypt". Purpleplanetmedia.com. 25 พฤศจิกายน 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
- ↑ "Advance Review of the PRINCE OF EGYPT score and song cd!!! – Ain't It Cool News: The best in movie, TV, DVD, and comic book news". Aintitcool.com. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
- ↑ Stephen Thomas Erlewine (17 พฤศจิกายน 1998). "The Prince of Egypt – Hans Zimmer | Songs, Reviews, Credits, Awards". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
- ↑ "The Prince of Egypt". Tracksounds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
- ↑ Stephen Schwartz (พฤษภาคม 2017). "Stephen Schwartz Comments on the Movie The Prince of Egypt - The Songs" (PDF). www.stephenschwartz.com. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2020.
- ↑ "Breathing Life Into The Prince of Egypt". animationartist.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
- ↑ 9.0 9.1 "The Prince of Egypt Review - Movie Reviews and News". EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
- ↑ "Holy Moses! - Film - Los Angeles - Los Angeles News and Events". LA Weekly. 4 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
- ↑ "Austriancharts.at – Soundtrack – The Prince of Egypt" (ภาษาเยอรมัน). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
- ↑ "Dutchcharts.nl – Soundtrack – The Prince of Egypt" (ภาษาดัตช์). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
- ↑ "Soundtrack Chart History (Billboard 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
- ↑ "Soundtrack Chart History (Christian Albums)". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
- ↑ "자료제공:(사)한국음반산업협회/이 자료는당협회와 상의없이 가공,편집을금합니다.: 1999.01월 - POP 음반 판매량" (ภาษาเกาหลี). Recording Industry Association of Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009. สืบค้นเมื่อ December 25, 2021.
- ↑ "Top Billboard 200 Albums – Year-End 1999". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
- ↑ "Canadian album certifications – Var – Prince of Egypt OST". Music Canada.
- ↑ "American album certifications – Soundtrack – The Prince of Egypt". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ April 26, 2022.