เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเซียร์เกย์ วาซีเลวิช รัคมานีนอฟ
เกิด1 เมษายน ค.ศ. 1873
เซมโยโนโว, จักรวรรดิรัสเซีย รัสเซีย
เสียชีวิต28 มีนาคม ค.ศ. 1943 (69 ปี)
เบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สหรัฐ
แนวเพลงคลาสสิก
อาชีพคีตกวี
นักเปียโน
วาทยากร
เครื่องดนตรีเปียโน
ช่วงปีค.ศ. 1892–1943

เซียร์เกย์ วาซีเลวิช รัคมานีนอฟ (รัสเซีย: Сергей Васильевич Рахманинов; 1 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 20 มีนาคม] 1873[a][b] – 28 มีนาคม ค.ศ. 1943) เป็นคีตกวี, นักเปียโน และ วาทยากร ชาวรัสเซีย เขาถูกจัดให้เป็นนักเปียโนที่มีชั้นเชิงและมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคของเขา และเป็นผู้นำดนตรีคลาสสิกแบบโรแมนติกในยุโรป บทเพลงของรัคมานีนอฟนั้นมีแรงขับมหาศาล และต้องอาศัยเทคนิคชั้นสูงในการบรรเลง โดยเฉพาะ Piano Concerto No.2, Op. 18

ประวัติ[แก้]

วัยเด็ก[แก้]

เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ ในวัย 10 ขวบ

เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ เกิดเมื่อ 1 เมษายน 1873 ในตำบลเซมโยโนโว (ปัจจุบันชื่อเซมโยนอฟ) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย[2] ตระกูลรัคมานีนอฟนั้นเป็นตระกูลชนชั้นสูงเก่า บิดาของเขาคือ วาซีลี รัคมานีนอฟ เป็นนักเปียโนและทหาร ส่วนมารดาของเขาคือ ลิวบอฟ บุตาโกวา ทั้งสองมีบุตรชายและบุตรสาวอย่างละ 3 คน[3] เมื่อเซียร์เกย์อายุได้สี่ขวบ มารดาของเขาได้เป็นคนสอนเปียโนพื้นฐานให้แก่เขา[4] ต่อมาในปี 1882 เมื่อเขาอายุได้ 9 ขวบ ทวดของเขา (ปู่ของมารดา) ได้ไปจ้างครูสอนเปียโนชื่อ แอนนา จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมาเพื่อฝึกสอนเซียร์เกย์ หลังจากฝึกสอนไปราว 2–3 ปี ครอบครัวรัคมานีนอฟต้องประสบกับปัญหาทางการเงิน จนต้องนำที่ดินและบ้านออกขายทอดตลาด[5][6] จากที่ดินและอาคารห้าแห่ง เหลืออยู่เพียงแห่งเดียว และทั้งครอบครัวก็ตัดสินใจย้ายไปอาศัยอยู่ในห้องเช่าที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก[7]

ส่วนแอนนานั้น ก็ได้กลับไปยังบ้านของเธอ และได้จัดการให้เซียร์เกย์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนดนตรีเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เซียร์เกย์ได้เริ่มเรียนที่นี่ในปี 1883 เมื่ออายุ 10 ขวบ ในปีเดียวกันนั้น น้องสาวของเขาเสียชีวิตจากโรคคอตีบ และบิดาของเขาก็กลายเป็นพวกว่างงานและออกจากบ้านไปยังมอสโก[3] คุณยายของเซียร์เกย์นั้น มีความตั้งใจอย่างมากที่จะส่งเสริมบรรดาหลานๆให้ได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เธอมักจะพาเซียร์เกย์ไปร่วมกิจกรรมของคริสตจักรออร์โธดอกซ์อยู่เสมอๆ อาทิ การภาวนาหรือการลั่นระฆังโบสถ์ของเมือง ซึ่งการที่ศาสนพิธีส่วนใหญ่มีบทเพลงประกอบ ทำให้เซียร์เกย์ ได้ซึมซับอิทธิพลทางดนตรีเหล่านี้ อีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีที่สำคัญคือการที่พี่สาวของเขา เยเลนา มีส่วนร่วมในโรงละครบอลชอย เธอพึ่งเข้ามาได้ไม่นานและกำลังอยู่ระหว่างรับการฝึกสอน เธอก็เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 18 ปีจากโรคโลหิตจาง เพื่อที่จะทำใจจากการสูญเสียสมาชิกครอบครัว คุณยายจึงพาเซียร์เกย์ไปพักผ่อนที่ไร่ที่เงียบสงบในแถบแม่น้ำวอลคอฟ ซึงทำให้เซียร์เกย์ชอบการพายเรือ[3] ซึ่งการที่เขาถูกตามใจโดยคุณยายของเขา ทำให้เซียร์เกย์กลายเป็นเด็กขี้เกียจและไม่ผ่านระดับชั้นการศึกษาทั่วไป[8]

สื่อ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในขณะที่หอสมุดรัฐสภาสหรัฐบันทึกวันเกิดรัคมานีนอฟเป็นวันที่ 1 เมษายน[1] วันเกิดบนป้ายสุสานสลักเป็น 2 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 21 มีนาคม] 1873 และตัวเขาเองก็ฉลองวันเกิดในวันที่ 2 เมษายน
  2. รัสเซียใช้ระบบปฏิทินแบบเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และข้อมูลที่ใ้ในบทความบางครั้งรายงานเป็นแบบเก่า วันที่ในบทความนำมาจากข้อมูลแบบคำต่อคำและเป็นแบบเดียวกันกับข้อมูลที่นำมา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Name Authority File for Rachmaninoff, Sergei, 1873–1943". U.S. Library of Congress. 21 November 1980. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
  2. Randel, Don M. (1999). The Harvard Concise Dictionary of Music and Musicians. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press (Belknap). ISBN 0-674-00978-9.
  3. 3.0 3.1 3.2 Harrison, Max (2006). Rachmaninoff: Life, Works, Recordings. London: Continuum. ISBN 0-8264-9312-2.
  4. Shelokhonov, Steve (2007). "Biography for Sergei Rachmaninoff". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
  5. Accardi, Julie Ciamporcero (2008). "Rach Bio". Rachmaninoff. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
  6. Greene, David Mason (1985). Greene's Biographical Encyclopedia of Composers. Reproducing Piano Roll Foundation. p. 1004. ISBN 978-0-385-14278-6.
  7. von Riesemann, Oscar (1934). Rachmaninoff's Recollections. New York: Macmillan. ISBN 0-8369-5232-4. OCLC 38439894.
  8. Rimsky-Korsakov, Nikolai (1989). My Musical Life. tr. J. A. Joffe. London: Faber. pp. 94–5. ISBN 0-571-14245-1.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

สกอร์เสรี[แก้]