เซวู
หน้าตา
ทวารบาลและหมู่วิหารเซวู (มัญชุศรีคฤห์) | |
---|---|
หมู่วิหารจันดีเซวู | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถาปัตยกรรม | จันดีพุทธ |
เมือง | อำเภอกลาเติน จังหวัดชวากลาง |
ประเทศ | ประเทศอินโดนีเซีย |
พิกัด | 7°44′37″S 110°29′37″E / 7.7435°S 110.4935°E |
แล้วเสร็จ | ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 |
ลูกค้า | ไศเลนทร์ หรือ มาตารัม |
เซวู (ชวา: ꦱꦺꦮꦸ, อักษรโรมัน: Sèwu) เป็นหมู่จันดีพุทธมหายานอายุราวคริสต์ศตวรรษที่แปด ตั้งอยู่ราว 800 เมตรทางเหนือของปรัมบานันในจังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย จันดีเซวูเป็นหมู่วิหารพุทธที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในอินโดนีเซีย รองลงมาจากบุโรพุทโธ หมู่วิหารประกอบด้วยวิหารย่อยรวม 249 อาคาร อย่างไรก็ตามชื่อของวิหารในภาษาชวาแปลว่า 'หนึ่งพันจันดี' ซึ่งมีที่มาจากตำนานพื้นถิ่นโลโรโจงรัง นักโบราณคดีเชื่อว่าชื่อเดิมของหมู่จันดีนี้คือ มัญชุศรีคฤห์ (อักษรโรมัน: Manjusrigrha)[1][2] อันแปลว่าที่ประทับ (คฤห์) ของพระมัญชุศรี
จารึกเกอลูรัก (อายุราว ค.ศ. 782) และ จารึกมัญชุศรีคฤห์ (อายุราว ค.ศ. 792)[3]: 89 ที่ค้นพบในปี 1960 ระบุว่าชื่อเดิมของหมู่จันดีน่าจะเป็น "มัญชุศรีคฤห์"[2] ซึ่งอ้างถึงพระมัญชุศรี พระโพธิสัตว์ในนิกายมหายาน สัญลักษณ์ของ ปรัชญา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gunawan Kartapranata; Septa Inigopatria; Emille Junior (2015-04-20), "Candi Sewu Mandala Suci Manjusrigrha", Harian Kompas via Youtube, สืบค้นเมื่อ 2018-09-08
- ↑ 2.0 2.1 Joachim Schliesinger (2016). Origin of Man in Southeast Asia 5: Part 2; Hindu Temples in the Malay Peninsula and Archipelago. Booksmango. p. 7. ISBN 9781633237308.
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.