เชวาปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชวาปี
เชวาปีแบบบอสเนีย เสิร์ฟกับกัยมัก, หอมใหญ่สับ และแผ่นแป้งซอมูน
มื้อจานหลัก
แหล่งกำเนิดเซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ภูมิภาคบอลข่าน
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ (เนื้อแกะ, เนื้อลูกวัว, เนื้อวัว, เนื้อหมู), เกลือ

เชวาปี (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: ћевапи / ćevapi, ออกเสียง: [tɕeʋǎːpi]) หรือ เชวัปชิชี (ћевапчићи / ćevapčići, ออกเสียง: [tɕeʋǎptʃitɕi]) เป็นอาหารจานเนื้อสัตว์บดพบได้ทั่วไปในภูมิภาคบอลข่าน และถือเป็นอาหารประจำชาติของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและเซอร์เบีย[1] รวมถึงยังพบได้ทั่วไปในประเทศโครเอเชีย,[2][3][4] มอนเตเนโกร, คอซอวอ, มาซิโดเนียเหนือ, สโลวีเนีย, โรมาเนีย, แอลเบเนีย และออสเตรีย

โดยปกติจะเสิร์ฟเชวาปีจำนวนห้าถึงสิบชิ้นด้วยกันในจานหรือบนแผ่นขนมปังแบน (เลปิญา หรือ ซอมูน) และมักเสิร์ฟเคียงหอมใหญ่สับ, ครีมเปรี้ยว, กัยมัก (ครีมนม), อัยวาร์ (ซอส) และเกลือ

ในสมัยที่จักรวรรดิออตโตมันปกครองบอลข่าน พวก คัยดูก ("คนนอกกฎหมาย, คนเถื่อน") ทำ "เชวาปีแบบคัยดูก" (hajdučki ćevap) โดยนำเนื้อและมันหมูรมควันไปเสียบไม้และย่างเหนือไฟ[5] สูตรสำหรับ "เชวาปีแบบเล็สกอวัตส์" (Leskovački ćevap) ซึ่งเป็นอาหารจานพิเศษของท้องถิ่นแห่งหนึ่งในเซอร์เบีย มีพื้นฐานมาจากปลิเย็สกาวิตซา (เนื้อบดปั้นก้อน)[6]

ย่านเล็สกอวัตส์ในภาคใต้ของเซอร์เบียมีประวัติศาสตร์ร้านปิ้งย่างมาอย่างยาวนาน[7] เชวาปีจากเล็สกอวัตส์มาถึงเบลเกรดเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1860 ในร้าน "รายิช" (Rajić) ในตลาดหลวง (ปัจจุบันคือจัตุรัสนักศึกษา) ก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วเบลเกรดและทั่วเซอร์เบียในที่สุด[8][9] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะเครื่องเคียงกับเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม[9]

ก่อนถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 เชวาปีได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของยูโกสลาเวียซึ่งรวมถึงพื้นที่เซอร์เบียตะวันออกและภูมิภาคมาซิโดเนีย[8] ในปี 1932 เชวาปีกลายมาเป็นอาหารพิเศษของท้องถิ่นในเซอร์เบียใต้, สกอเปีย และเปช[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ćevapčići". Encyclopædia Britannica. 2021. สืบค้นเมื่อ December 27, 2021.
  2. Encyclopædia Britannica (2002). The New Encyclopædia Britannica. Vol. 1. Encyclopædia Britannica. ISBN 978-0-85229-787-2.
  3. Ember, Melvin (2001). Countries and Their Cultures: Saint Kitts and Nevis to Zimbabwe. p. 68. ISBN 9780028649467.
  4. "Cevapcici". SBS Australia. 3 May 2014. สืบค้นเมื่อ June 8, 2019.
  5. Yugoslavia. D. McKay. 1962. ... Turkish occupation the outlaws produced hajduCki cevap (the haiduk was the maquis of the period) which was easy to make and tasty. It consists of pieces of meat, potatoes and smoked lard stuck on a skewer and roasted over a roaring fire.
  6. Laurence Mitchell (2013). Serbia. Bradt Travel Guides. p. 83. ISBN 978-1-84162-463-1. For the main course, the most popular meat dishes are pljeskavica (meat patties, usually a mixture of pork, beef and lamb, sprinkled with spices, then grilled and served with onion)
  7. Sergije Dimitrijević (1983). Istorija Leskovca i okoline. Narodni muzej. Гастрономски специјалитет Лесковца били су 'ћевапчићи и чувене лесковачке кобасице печене на роштиљу.4 Лесковац је одувек имао чувене ћевабџије. У периоду који описујемо најпознатије лесковачке ћевабџије биле су ...
  8. 8.0 8.1 Darko Spasić, Branislav Nušić. "Прилог историјату ћевапчића" (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Srpsko nasleđe.
  9. 9.0 9.1 Branislav Đ Nušić; Aleksandra Vraneš (1996). Beogradska čaršija. Ars Libri. pp. 22–30.
  10. Milivoja M. Savić (1932). Naša industrija, zanati, trgovina i poljoprivreda: njine osnovice, stanje, odnosi, važnost, putevi, prošlost i budućnost. Izd. Ministarstva trgovine i industrije. p. 244.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]